ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามามีอิทธิพลในทุกอุตสาหกรรมการผลิต ที่นับวันได้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเชิงทวีคูณ หรือ Exponential Growth จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัวกันอย่างหนัก เพื่อพัฒนายกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ให้ก้าวกระโดดไปข้างหน้า และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค รวมทั้งในเวทีโลก
งาน “Exponential Manufacturing Thailand 2019” การประชุมสุดยอดสู่การพลิกโฉมธุรกิจภาคอุตสาหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยได้รับร่วมมือจาก Singularity University ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีระดับโลกจาก Silicon Valley ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ผ่าวิกฤตระดับโลก โดยงานในครั้งนี้ นับเป็นวาระแห่งชาติครั้งแรกที่จะสามารถนำพาธุรกิจต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาและเติบโตแบบก้าวกระโดด
ภายในงานตลอดทั้ง 2 วัน จะมุ่งเน้นไปในส่วนขององค์ความรู้ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่กำลังมีบทบาทและเข้ามาเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมของเราแบบก้าวกระโดด ฟังประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้นำด้านนวัตกรรมแถวหน้าจาก Singularity University ซิลิคอน วัลเลย์
คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามา disruptive อยู่ในขณะนี้ ที่นับวันมีแต่ความก้าวกระโดด และเข้ามามีอิทธิพลในทุกอุตสาหกรรมการผลิต ส่งผลให้บทบาทของภาคอุตสาหกรรมและการประกอบการของภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัวกันอย่างหนักเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้เท่าทันกับเทคโนโลยี ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถและยกระดับการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีหลายอุตสาหกรรมได้นำระบบอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้น
ในฐานะที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นศูนย์รวมของอุตสาหกรรมไทย เพื่อเชื่อมโยงงานด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และต่างประเทศ โดยมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นระดับ SMEs จึงตระหนักดีถึงความจำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องรู้เท่าทันนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ การที่สภาอุตสาหกรรมฯ มาเป็นเจ้าภาพจัดงาน “Exponential Manufacturing Thailand 2019” ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 15-16 พฤษภาคมนี้ เพื่อตอกย้ำนโยบาย Industry Transformation ของสภาอุตสาหกรรมฯ ที่มีความชัดเจนในการให้ความสำคัญกับการพัฒนาและพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งวิทยากรกว่า 15 ท่านที่ถูกเชิญมานั้นล้วนแล้วแต่มีความเชี่ยวชาญระดับโลกที่ครอบคลุมทุกมิติ อาทิ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ปัญญาประดิษฐ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องเปิดรับ เปิดกว้าง และเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้อุตสาหกรรมมองเห็นทิศทางที่จะต้องก้าวไปข้างหน้า และพบโลกทัศน์ใหม่ ๆ ในการที่จะยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกลสู่โลกอนาคต
เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อมั่นว่าการจัดงานครั้งนี้จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯ เกิดการปรับตัวและนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมของตนเองได้ และทั้งนี้ทั้งนั้นจะนำมาซึ่งการผนึกกำลังร่วมกันสร้างอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวกระโดดไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน สมดังเจตนารมณ์ของสภาอุตสาหกรรมฯ และผู้ร่วมสนับสนุนทุกท่าน
สำหรับการจัดงานตลอดทั้ง 2 วัน จะมีผู้เข้าร่วมงานซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และนักธุรกิจระดับโลกกว่า 1,000 คน โดยสาระสำคัญจะมุ่งเน้นองค์ความรู้ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่กำลังมีบทบาทและเข้ามาเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมแบบก้าวกระโดด พร้อมฟังประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้นำด้านนวัตกรรมระดับแถวหน้าโดย Singularity University จาก Silicon Valley นับว่าเป็นความพิเศษและความสุดยอดของการจัดงาน “Exponential Manufacturing Thailand 2019” ในครั้งนี้อย่างแท้จริง
เช่นเดียวกับ คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และในฐานะรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่มองเห็นความสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดของวงการอุตสาหกรรมไทย ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงระดับโลก ซึ่งนอกจากให้การสนับสนุนแล้ว ในครั้งนี้ยังได้ให้ความเห็นถึงการปรับตัวของหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญอย่างพลังงานอีกด้วย
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมในปัจจุบันไล่กันมาเป็นลูกคลื่น หากเราไม่เตรียมตัว อาจโดนกระทบล้มโดยไม่รู้ตัว หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ อย่างอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้รับผลกระทบมากว่าทศวรรษ เพียงแต่ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เพิ่งมาเห็นเป็นเรื่องเป็นราวในช่วงปีสองปีนี้ เราอาจจะเห็นธุรกิจด้านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ชัดเจนมากขึ้น อุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบต่อมาเป็นระยะอยู่แล้ว ต่อไปที่เราจะเริ่มเห็นจะเป็นอุตสาหกรรมค้าปลีก และการเงิน
อุตสาหกรรมที่บางจากทำอยู่คือ อุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งเราเห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มของ ‘Electrification’ ทุกอย่างจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น หรือธุรกิจ ‘Decarbonization’ การลดลงของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ก็เป็นเทรนด์ที่ค่อนข้างชัดเจน ต่อยอดต่อไป
ปีที่ผ่านมาได้มีกระแสความใส่ใจเรื่องขยะพลาสติกมากขึ้น สุดท้ายจะกลายเป็นโมเมนตัมที่มากขึ้น ส่งผล กระทบต่อธุรกิจของทุกคน เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารระดับสูงทุกคน ที่จะตื่นตัว Agile เตรียมพร้อม คาดการณ์ว่ามีอะไรบ้างที่จะเข้ามากระทบ และจะเตรียมคนในองค์กรให้เข้าใจสถานการณ์ในบริบทที่จะเกิดขึ้นอย่างไร
ประชากรโลกเติบโตอย่างก้าวกระโดด เมื่อ 30 ปีที่แล้วมีเพียง 3,500 ล้านคน ปัจจุบัน 7,500 ล้านคน และจะก้าวขึ้นไปเป็น 9,000 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ใน 2,500 ล้านคนนั้น กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนยากจน ต่ำกว่าระดับเส้นแบ่งความยากจน หรือ Poverty line มีรายได้ต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐต่อวัน ปัจจุบันกว่า 7,500 ล้านคน มีคนที่อยู่ต่ำกว่าระดับ Poverty line เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นทุกอย่างเติบโตไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งนี่จะทำให้การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เติบโตอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน ก่อให้เกิดผลกระทบที่เราเจอกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน หรือ Climate change, ขยะที่มากขึ้น ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีก็เริ่มจะหมดไป
แนวโน้มเทรนด์ด้านพลังงานที่ชัดเจนคือ เราจะใช้พลังงานที่มีอย่างไร มันไม่มีวันหมดไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้แล้วหมดไป ในขณะที่พลังงานหลายๆ อย่าง สามารถที่จะหมุนเวียนได้ คล้ายๆ อากาศที่เราหายใจ นั่นคือแสงแดด ทุกวันนี้เราสามารถนำแสงแดดมาปั่นไฟได้ การเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ที่เรานำแสงแดดมาปั่นไฟนั้นยังไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของความสามารถที่มันมีอยู่ด้วยซ้ำ โลกใบนี้น่าจะนำแสงแดดมาปั่นไฟได้มากกว่านี้ถึงร้อยเท่าหรือพันเท่า หรือการใช้ลมในการปั่นไฟ หรือที่เรียกว่าพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ
ต่อยอดไปจนถึงเรื่องพลาสติก ทุกวันนี้เรามีการพูดว่า ทำไมถึงไม่ใช้ผลิตภัณฑ์จากพืช เศษไม้ ผลไม้ต่างๆ มาแปลงสภาพเป็นพลาสติก น่าจะเป็นสิ่งที่ยั่งยืนกว่าการนำน้ำมันมาทำเสื้อผ้า หรือโต๊ะทำงาน แก้ว ชาม ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าโลกเราจะเริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่กิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะที่มีความยั่งยืนมากขึ้น
Digital in energy เป็นเรื่องที่ทุกคนกำลังเฝ้าระวัง สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นเร็ว และเกิดขึ้นก่อนในธุรกิจพลังงานนั่นคือธุรกิจไฟฟ้า ปัจจุบันได้มาถึงจุดที่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตยพลังงาน’ การที่ทุกคนมีอิสระเสรีในการเลือกทำอะไรกับไฟฟ้า ทั้งการผลิตไฟ ใช้ไฟ ขายไฟ ซึ่งการที่จะต่อไปได้นั้น จะต้องมีระบบสายส่งที่เป็นถนนหลายทิศทาง
ปัจจุบันเป็นระบบสายส่งรุ่นโบราณ ที่ดูแล้วเหมือนรางรถไฟที่วิ่งไปทางใดทางหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่เราสามารถใช้ความสามารถของเทคโนโลยีทั้ง AI หรือ Smart Grid ต่าง ๆ เข้ามาบริหารจัดการเพื่อไม่ให้มีพลังไฟฟ้าส่วนเกิน เหลือ ขาด ในช่วงกลางวันหรือกลางคืน จัดการ peak load ต่าง ๆ สิ่งหล่านี้จะเข้ามาช่วยได้พอสมควร
ในแง่ของธุรกิจนั้น แน่นอนว่าในกระบวนการผลิต ขุดเจาะ การที่เรามี Big Data, Data Lake เข้ามาช่วยวิเคราะห์การขุดเจาะน้ำมันได้อย่างแม่นยำมากขึ้น แม้กระนั้นก็ตาม ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่ารถในอนาคต อาจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เกิด Autonomous driving มีระบบ sharing มากกว่า ownership ซึ่งสุดท้ายแล้วจะกระทบกับการบริโภคน้ำมันที่น้อยลง อีกทั้งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในแง่ของคน ที่รู้ว่าจะวิ่งรถเส้นทางไหนที่จะไม่ติดมากกว่า เพราะฉะนั้นมันมีองค์ประกอบเยอะมาก อยู่ที่เราว่าจะย่อยมันลงมาได้อย่างไร จะนำสิ่งเหล่านี้มาวางกลยุทธ์บริษัทต่อไปอย่างไร
บางจากเองได้มีการตั้งศูนย์นวัตกรรม BIIC (Bangchak Initiative and Innovation Center) เป็นหน่วยงานรวมคนที่เข้าใจสถานการณ์โลกเป็นอย่างดี ได้มาย่อย แบ่งปัน strategize ต่อคนในองค์กร แน่นอนว่าทั้งองค์กรจะต้องมีความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ย่อมมีความต่างกันในแต่ละ pace ของระดับการพัฒนาในแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องเข้าใจเรื่องเดียวกันเท่า ๆ กัน บางคนอาจจะเข้าใจเรื่องการผลิต ซึ่งก็เป็นเรื่องของการเราต้อง catch up ส่วนเรื่องการตลาด เราต้องเข้าใจเรื่องผู้บริโภค เราจะเอาเทคโนโลยี IT, Big Data ทั้งหลายมาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค แล้วนำมาทำ Personalized marketing ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นทุกคนต้องรู้ว่าจะต้องเน้นการทำงานแบบ Agile ปรับตัว ทำความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป
อุตสาหกรรมในอนาคตทั้งหมดนั้น จริง ๆ แล้วไม่ใช่อุตสาหกรรมที่คนใดคนหนึ่งจะเก่งและสามารถทำตัวคนเดียวได้ การทำงานร่วมกัน แต่ละคนได้มาแบ่งปันด้านที่ตัวเองมีความแข็งแกร่ง เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเทรนด์ในอนาคตจะเป็นเทรนด์ของการทำงานร่วมกัน แต่ละคนใช้จุดแข็ง ช่วยกัน เพื่อที่จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้
งาน Exponential Manufacturing Thailand 2019 ในครั้งนี้ จะจัดขึ้นในวันที่ 15-16 พฤษภาคม ณ โรงแรม InterContinental กรุงเทพฯ
โดยในเบื้องต้นรายชื่อผู้เข้าร่วมงานประชุมมีดังนี้
งานในครั้งนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากหลากองค์กรชั้นนํา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์, บางจาก, เครือเจริญโภคภัณฑ์, พลังงานบริสุทธิ์, อินโดรามา เวน เจอร์ส, ทรู คอร์ปอเรชั่น, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, ซิสโก้, สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้, ไออาร์พีซี, ปตท, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สิงห์ คอร์เปอเรชั่น และซินเน็ค (ประเทศไทย)
โดยผู้ที่สนใจติดตามรายละเอียดงานและการจำหน่ายบัตรได้ที่ http://www.singularityuthailandsummit.org
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด