ในยุคที่เทคโนโลยีชีวภาพกำลังขยับขอบเขตความเป็นไปได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไบร์รอยท์ (University of Bayreuth) ในเยอรมนี ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน นั่นคือ ดัดแปลงพันธุกรรมแมงมุมตัวแรกของโลกที่สามารถถักใยแมงมุมเรืองแสงสีแดงได้จริง โดยใช้เครื่องมือชื่อดังแห่งวงการพันธุวิศวกรรมอย่าง CRISPR-Cas9
นี่ไม่ใช่เพียงแค่แมงมุมมีเรืองแสง แต่คือจุดเริ่มต้นของการ “อัปเกรดใยแมงมุม” ให้กลายเป็นโรงงานผลิตวัสดุแห่งอนาคต
ปกติแล้ว CRISPR-Cas9 ซึ่งเป็นเครื่องมือตัดต่อพันธุกรรมอัจฉริยะถูกนำไปใช้กับพืช สัตว์ และแบคทีเรียมาหลายปี แต่ไม่เคยมีใครกล้าทำกับแมงมุม เนื่องจากแมงมุมเป็นสัตว์ที่ชอบกินพวกเดียวกัน แถมยังมีจีโนมที่ซับซ้อนมาก
โดยแมงมุมที่นำมาใช้ในการทดลองครั้งนี้คือ แมงมุมบ้านพันธุ์ Parasteatoda tepidariorum ซึ่งถือเป็นแมงมุมบ้านทั่วไป ซึ่งนักวิจัยกลุ่มนี้ไม่ได้มองว่าการทดลองกับแมงมุมจะเป็นอุปสรรค์ พวกเขาจึงได้พัฒนาเทคนิคใหม่การดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นมา ดังนี้
ลูกแมงมุมที่เกิดมาสามารถถักใยไหมที่มีโปรตีนเรืองแสงสีแดงได้จริง ซึ่งหมายความว่าการดัดแปลงพันธุกรรมประสบความสำเร็จโดยไม่กระทบต่อกระบวนการถักใยตามธรรมชาติเลย
ศาสตราจารย์ Thomas Scheibel หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า “นี่คือครั้งแรกของโลกที่มีการนำลำดับยีนใหม่เข้าสู่โปรตีนของใยแมงมุมด้วย CRISPR ได้สำเร็จ”
โดยปกติ คุณสมบัติของใยแมงมุมธรรมดาก็ถือว่าไม่ดีมากๆ อยู่แล้ว ทั้งเหนียวแน่น ยืดหยุ่นสูง เบาเหลือเชื่อ แถมยังย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และที่สำคัญคือแข็งแรงกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับเหล็กในน้ำหนักเท่ากัน แต่ตอนนี้ นักวิจัยได้ยกระดับมันขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการฝังยีนที่ทำให้ใยไหมเรืองแสงเป็นสีแดงได้
สิ่งเหล่านี้อาจทำให้วันหนึ่งเราได้เห็น เสื้อผ้าไฮเทคที่สามารถเรืองแสงอัตโนมัติ, ชุดกันกระสุนที่บางเบาแต่เหนียวแน่น และทั้งหมดผลิตมาได้จากใยแมงมุมธรรมดาที่พบได้ตามบ้าน
แต่การทดลองไม่ได้หยุดแค่เรื่องความเจ๋งของใยเท่านั้น ทีมวิจัยยังเดินหน้าทดสอบอีกเทคนิคที่เรียกว่า CRISPR-KO หรือการ "ปิดการทำงานของยีน" ซึ่งในกรณีนี้คือยีนชื่อ so ที่สงสัยกันมานานว่าเกี่ยวข้องกับการสร้างดวงตาในแมงมุม
ซึ่งจากการทดลอง แมงมุมที่ยีน so ถูกปิดไป เกิดมาไม่มีดวงตาเลยแม้แต่ดวงเดียว ซึ่งแปลว่าเราคอนเฟิร์มได้แล้วว่ายีนนี้คือกุญแจสำคัญของการสร้างระบบการมองเห็นในแมงมุม งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ Angewandte Chemie International Edition
อ้างอิง: newatlas, uni-bayreuth
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด