รู้จัก Grab ตุ๊กๆ ในอินโดฯ ดึงวิถีเก่าสู่บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการท่องเที่ยว | Techsauce

รู้จัก Grab ตุ๊กๆ ในอินโดฯ ดึงวิถีเก่าสู่บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการท่องเที่ยว

ถึงแม้หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ GrabCar และ GrabBike ที่ใช้เดินทางกันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่ง Grab ก็ได้ทำหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยรถโดยสารในแบบอื่นๆ เพื่อรักษาวิถีดั้งเดิมเอาไว้ อย่างเช่น ในอินโดนีเซียที่ Grab ได้พยายามผลักดันให้การบริการนั้นมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานกลุ่มนักท่องเที่ยวและเข้าถึงบริบทของสังคม 

ชมเมือง ดูวิถีชีวิต และเพิ่มประสบการณ์การเดินทางกับสามล้อฉบับดั้งเดิมหรือ Bajay ที่มีความคล้ายคลึงกับตุ๊กๆ ของบ้านเรานี่เอง ปัจจุบัน Grab Bajay มีจำนวนกว่า 11,000 คันทั่วจาการ์ตา ที่พร้อมจะให้บริการกับนักเดินทางทุกคน 

Bajay เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1975 Garb ได้มองเห็นโอกาสในการช่วยสนับสนุนผู้ขับขี่ Bajay ในจาการ์ตา พร้อมสนับสนุนวิถีเดินทางแบบเก่าให้คงอยู่ นำมาซึ่งการเกิด Grab Bajay บนแพลตฟอร์ม โดยโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Grab กับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งอินโดนีเซีย 

Grab Bajay คือช่องทางการเดินทางที่ปลอดภัยและสะดวก โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้สองคนต่อหนึ่งคัน และมีพื้นที่สำหรับการวางกระเป๋าเดินทาง อีกทั้งผู้ขับ Grab Bajay ยังผ่านการทดสอบ KIR แบบทดสอบการขับรถ และใบอนุญาตอื่นๆ อีกมากมาย 

นอกเหนือจากนี้ เรายังได้เห็นความสะดวกสบายด้านการเดินทางของ Grab ในอินโดนีเซียอีกมากมาย ซึ่งอยู่ในโครงการ “Wonderful Indonesia” 

Grab ประเภท 3 ล้อ อาทิ GrabBetor ในเมืองเมดัน และ GrabAndong ในเมืองยอร์ค จาการ์ตาร์ 

Grab รถม้า GrabBento ในเมือง โกรอนทาโล 

บริการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน Grab ไม่ว่าจะเป็น ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าที่พัก และค่าโดยสารจากสนามบิน

บริการ GrabCar ในสนามบิน 14 แห่ง โดย Grab เปิดบริการรับส่งผู้โดยสารจากสนามบิน พร้อมมีพื้นที่เฉพาะสำหรับการจอดของ GrabCar 

สนามบิน 14 แห่งมีดังนี้ 

  • Soekarno-Hatta International Airport, Tangerang
  • Halim Perdana Kusuma International Airport, Jakarta
  • Husein Sastranegara International Airport, Bandung
  • Adi Soemarmo International Airport, Solo
  • Sultan Aji Muhammad Sulaiman Sepinggan International Airport, Balikpapan
  • Sultan Hasanuddin International Airport, Makassar
  • Sultan Mahmud Badaruddin II International Airport, Palembang
  • Kertajati International Airport, Majalengka
  • Kualanamu International Airport, Medan
  • Silangit Tapanuli International Airport, Utara
  • Raden Inten II International Airport, Bandar Lampung
  • Minangkabau International Airport, Padang
  • Sultan Syarif Kasim II International Airport, Pekanbaru
  • Silampari Airport, Lubuklinggau

Grab Bajay และบริการอื่นๆ จาก Grab ที่พัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวในอินโดนีเซีย นับว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ถือเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ร่วมกันผลักดันประโยชน์ให้กับสังคม และสร้างรายได้ให้กับผู้คนได้จำนวนมากโดยไม่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิมๆ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้อีกมากเพราะการใช้งานที่สะดวกและมีความปลอดภัยได้มาตราฐาน นี่คือตัวอย่างของการผสานเทคโนโลยีเข้าสู่วิถีชุมชนเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

RELATED ARTICLE

Responsive image

CHANGAN เผยโฉม EV รุ่น Deepal L07 และ S07 พร้อมเปิดจองในไทยแล้ว

เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่! Changan Automobile ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำจากจีน จัดงานแถลงข่าว 'Touch the Future' – the 2023 Changan Southeast Asia press conference พร้อมส่ง EV สองรุ่นแรกบุกตลา...

Responsive image

การค้นพบ AI ที่ฉลาดจนน่ากลัว ? เบื้องลึกไล่ Sam Altman ที่ OpenAI ไม่ยอมบอก

Sam Altman ได้กลับมานั่งเก้าอี้ CEO อีกครั้ง พร้อมเดินหน้าสะสางปัญหาโครงสร้างบริษัทต่อ แต่คำตอบหนึ่งที่สังคมยังไม่ได้รับ ยังไม่กระจ่างแจ้งชัดเจนก็คือ เหตุผลจริงๆ ที่ Sam Altman ถูก...

Responsive image

ทำ Startup ยังไงให้รุ่ง ? ถอดรหัสความสำเร็จของสตาร์ทอัพเกาหลี จากบริษัทจัดเก็บนามบัตร สู่แอปฯระดับโลก

ถอดบทเรียนการเริ่มต้นธุรกิจ Startup กับคุณชเวแจโฮ ซีอีโอบริษัท Drama& company บริษัทที่มีมูลค่าการลงทุนไปถึงระดับ Series D ที่เริ่มต้นจากบริษัททำนามบัตร ไปสู่ Remember แอปพลิเคชันค...