รีวิว Magento และ Commerce Cloud เลือกซอฟท์แวร์สำหรับอีคอมเมิร์ซอย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ? | Techsauce

รีวิว Magento และ Commerce Cloud เลือกซอฟท์แวร์สำหรับอีคอมเมิร์ซอย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ?

การใช้เว็บไซต์ของแบรนด์เป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงเป็นวิธีที่กำลังได้รับความสนใจจากแบรนด์สินค้าจำนวนมาก  เพราะว่าอะไรน่ะหรือ? ก็เพราะวิธีนี้ จะเป็นวิธีที่ช่วยให้ตัวแบรนด์สามารถสื่อสารได้ถึงเอกลักษณ์ของตัวแบรนด์ได้ชัดขึ้น สามารถสร้างประสบการณ์เฉพาะให้กับลูกค้า  และสามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อนำมาพัฒนากิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นบนอีคอมเมิร์ซของแบรนด์ได้

แต่การสร้างเว็บไซต์นั้นไม่ได้มีราคาถูกๆ แถมยังมีซอฟท์แวร์อีกมากมายให้เลือกใช้ในท้องตลาด แล้วแบรนด์ที่กำลังเริ่มปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์ จะสามารถตัดสินใจไม่ให้พลาดได้ยังไงกันล่ะ เพราะการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับแบรนด์นั้นจะทำให้แบรนด์สามารถเติบโตไปได้อีกไกล แต่หากตัดสินใจผิดแล้ว ก็จะต้องสิ้นเปลืองทั้งแรงงาน แรงเงิน และเวลาในการรักษาระบบที่ไม่เหมาะสมนั้นไว้

คุณ Mandy Arbilo ซึ่งเป็น Senior Project Manager ที่ aCommerce บริษัทที่ให้บริการด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เล่าให้ eIQ ว่าสิ่งใดกันที่แบรนด์ควรคำนึงถึง เวลาที่ตัดสินใจว่าจะเลือกใช้แพลทฟอร์มใดสำหรับเว็บไซต์อีคอมมิร์ซของแบรนด์ โดยเปรียบเทียบระหว่างแพลทฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั้งอย่าง Magento และ Commerce Cloud (เดิมชื่อว่า Demandware)

Magento_logo 2016sf_CommerceCloud_logo_RGB

ecommerce platform comparison

ทั้ง 2 แพลทฟอร์มสามารถช่วยให้แบรนด์สินค้าตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และผู้ค้าปลีกรายต่างๆสามารถขายสินค้าของพวกเขาบนออนไลน์ได้ แตว่าแพลทฟอร์มไหนกันล่ะ ที่เหมาะกับบริษัทของคุณ?

Magento

ความเหมาะสม : ธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (มีมูลค่าสินค้าร่วมตั้งแต่ 0-20 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ไปจนถึงแบรนด์สินค้าระดับโลก อย่าง Nike และแบรนด์แฟชั่น สัญชาติไทยอย่าง CPS ก็ใช้แพลทฟอร์ม Magento เช่นกัน

  • Magento Community เป็นเวอร์ชั่นที่เปิดให้โหลดไปใช้กันฟรี แต่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมหากต้องโหลด extensions มาเสริมลูกเล่นให้กับเว็บไซต์ (อธิบายเพิ่มเติมในภายหลัง)
  • Magento Enterprise ราคาเริ่มต้นที่ 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี (รวมค่าฟังก์ชั่น abandon cart และการช่วยเหลือ)
  • อ่านการเปรียบเทียบระหว่าง Magento ทั้ง 2 ประเภทแบบละเอียดได้ ที่นี่

งบประมาณโดยประมาณ : 20,000 - 25,000 ดอลล่าร์สหรัฐขึ้น (ขึ้นอยู่กับฟีเจอร์เพิ่มเติมอื่นๆที่ต้องการ)

เวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์อย่างสมบูรณ์ : 2 - 4  เดือน

อะไรคือจุดเด่นของ Magento?

ซอฟท์แวร์ของ Magento ทั้งในรูปแบบของ Community และ Enterprise นั้น เป็นตัวเลือกที่มีราคาสมเหตุสมผลสำหรับแบรนด์ที่ต้องการจะทดสอบช่องทางออนไลน์ของแบรนด์ ก่อนที่จะลงทุนมากกว่านี้เพื่อสร้างเว็บไซต์ที่ที่มีลูกเล่นหลากหลายขึ้น

สำหรับแบรนด์ที่มีขนาดเล็ก Magento Community น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก และถือได้ว่าเป็นซอฟท์แวร์ที่เข้าใจง่ายและมีราคาเป็นมิตรที่สุดในตอนนี้ ในทางทฤษฎีแล้ว ระบบ Magento สามารถรองรับสินค้าได้หลายล้านรายการ แต่ว่าตัวซอฟท์แวร์เองนั้นไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อรองรับข้อมูลจำนวนมากขนาดนั้น ยิ่งเว็บไซต์ซับซ้อนมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะต้องการการดูแลรักษาและทรัพยากรที่มากขึ้น เพื่อให้ระบบMagento สามารถคงระดับมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้

หลักๆแล้ว ทั้งMagento Community และ Magento Enterprise ค่อนค้างจะคล้ายกัน ต่างกันตรงที่ตัวหลังจะต้องจ่ายค่ารายปีปีละ 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐ และจุดต่างที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือ Magento Community ไม่มีระบบรักษาระดับสูงสำหรับป้องกันช่องทางในการชำระเงิน อย่างที่ Magento Enterprise มี

แต่ extensions ต่างหากที่จะทำให้เกิดข้อแตกต่างที่ชัดเจนว่าเว็บไซต์ของคุณจะทำอะไรบ้าง ไม่ว่ามันจะเป็น Magento เวอร์ชั่นใดก็ตาม

และนี่คือสิ่งที่โครงสร้างหลักของ Magento

cus-ord-prod-proc

การสลับส่วนต่างๆของเทคโนโลยีหักของ Magento ฟังก์ชั่นพื้นฐานของเว็บไซต์นั้น สามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าระหว่างการใช้งานให้ดีขึ้นได้

ตัวอย่าง

หากแบรนด์สินค้าต้องการที่จะเก็บข้อมูลของลูกค้าผ่านการลงทะเบียนบนเว็บไซต์ของแบรนด์ ข้อมูลปกติที่จะเก็บก็คงเป็น ชื่อ-นามสกุล อีเมล และที่อยู่ การเพิ่ม extension ไปยังโครงสร้างหลักของ Magento จะช่วยให้แบรนด์สามารถจำแนกลูกค้าออกเป็นกลุ่มเฉพาะและสร้างแคมเปญทางการตลาดรายบุคคล อย่าง การมอบส่วนลดวันเกิด และ การทำRe-targeting บน Facebook ได้

cowshed

คอลัมน์ “Shop By” ทางด้านซ้าย เป็นสิ่งที่เกิดจากการปรับแต่งโครงสร้างหลักของ Magento เพื่อให้แบรนด์สามารถเพิ่มฟิลเตอร์เพื่อให้ลูกค้าสามารค้นหาสินค้าได้อย่างเจาะจงมากขึ้นได้

ฟังก์ชั่นและฟีเจอร์หลักๆของ Magento

  • Magento Marketplace: แหล่งรวม extension กว่า 7500ตัว ที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถเสริมประสิทธิภาพของเว็บไซต์ได้ เช่น การเพิ่มส่วนบล็อค เครื่องมือที่จะช่วยจัดการเซลสินค้าในระยะเวลาสั้นๆ(Flash Sale)  ฟีเจอร์ในการขยายภาพสินค้า และฟีเจอร์อื่นๆอีกมากมาย โดยฟีเจอร์เหล่านี้สนนราคาที่ตั้ง 0 - 200 ดอลล่าร์สหรัฐ
  • การเชื่อมต่อ API : แบรนด์สามารถเชื่อมต่อระบบอื่นๆเข้ากับ Magento ได้ เช่น ระบบจัดการข้อมูล (CMS) หรือระบบจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM)  หรือแม้กระทั่งแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์มือถือ
  • ธีม(Themes) : ระบบ Magento มีธีมมากมายให้แบรนด์เลือกใช้เพื่อปรับแต่งการจัดวางและดีไซน์ของเว็บไซต์ โดยที่จะไม่กระทบต่อโค้ดหลักของของระบบซึ่งอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้
  • ระบบการจัดการส่วนกลาง : แบรนด์สามารถจัดการหน้าเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ได้ผ่านระบบหลังบ้านเดียว นั่นหมายความว่าบริษัทหนึ่งสามารถมี 3 เว็บไซต์ และ จัดการข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลและหมวดหมู่ของสินค้าผ่านแพลทฟอร์มเดียวกัน
  • ระบบราคา : Magento มีฟังก์ชั่นในการตั้งราคาสินค้าและโปรโมชั่นทางการตลาดที่หลากหลาย เช่น โปรโมชั่นซื้อสินค้า 1 ชิ้น รับส่วนลด 50% บวกฟรีค่าจัดส่ง

top magento extensions

An example of some available extensions to be purchased or download for free on ตัวอย่างของ extension ที่สามารถซื้อหรือดาวน์โหลดได้ฟรีบน Magento Marketplace

แล้ว extension คืออะไรกันล่ะ?

Extension ก็คล้ายกับการแอพพลิเคชั่นที่คุณโหลดผ่าน Itunes Store นั่นแหละ เวลาที่คุณซื้อ iPhone มา ก็จะมีแอพพลิเคชั่นพื้นฐานอย่าง Notes, Contacts หรือ Camera ที่ติดมากับเครื่องอยู่แล้ว ซึ่งผู้ใช้งานก็มักจะต้องการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติม เพื่อให้ iPhone สามาารถทำหน้าที่ได้หลากหลายมากขึ้น เช่น เป็นเครื่องตรวจคุณภาพในการนอน ซึ่งตัวอย่างของบริษัทที่ใช้ extension เพิ่มเติมก็อย่างเช่น

nike magento extension

Nike ใช้ extension ที่สามารถทำให้ดูรูปสินค้าหลายๆรูปพร้อมกันได้ พร้อมกับเพิ่มปุ่มที่สามารถทำให้แชร์สินค้าบนโซเชี่ยลมีเดียต่างๆได้ ซึ่งทำให้การใช้งานเว็บไซต์ง่ายขึ้นและช่วยเพิ่มอัตราที่สินค้าจะขายได้ให้กับแบรนด์

pickup in store magento extionsion

“Pick-up in store” extension สำหรับ Magento ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกที่จะไปรับสินค้าที่สั่งที่หน้าร้าน แทนที่จะให้ส่งมาที่บ้านได้

pickup-in-store example use

ตัวอย่างของการใช้ “Pick-up in store” extension บนเว็บไซต์

สำหรับ extension  แนะนำที่แบรนด์สามารถนำมาใช้ได้ก็อย่าง Shipworks ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยติดตามสถานะของคำสั่งซื้อที่บริษัทขนส่งอย่าง DHL และ FedEx ใช้ และ  Yotpo ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นการรีวิวสินค้า

Commerce Cloud

ความเหมาะสม : แบรนด์สินค้าขนาดใหญ่ ที่ต้องการจะขยายการบริการของเว็บไซต์ไปยังต่างประเทศ อย่าง Adidas และมีมูลค่าสินค้ารวมตั้งแต่ 10 - 500 ล้านดอลล่าร์สรัฐ

งบประมาณโดยประมาณ : 250,000 – 600,000 ดอลล่าร์สรัฐต่อปี

เวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์อย่างสมบูรณ์ :6 - 8 เดือน

อะไรคือจุดเด่นของ Commerce Cloud?

จุดเด่นของ Commerce Cloud คือความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ซอฟท์แวร์ตัวนี้ไม่สามารถปรับแต่งตามความต้องการได้มากนัก แบรนด์สินค้าที่เลือกใช้ Commerce Cloud นั้นถือเป็นการลงทุนในแผนอีคอมเมิร์ซระยะยาว และควรมีแผนสำหรับช่องทางออนไลน์ของแบรนด์เป็น 10 ปี ส่วนหนึ่งก็เพราะราคาของซอฟ์แวร์ตัวนี้ และเพราะระบบคลาวน์ที่ทำให้แบรนด์สามารถขยายขนาดธุรกิจได้โดยปราศจากข้อจำกัดทางด้านความจุในการเก็บข้อมูล

ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Clarins ที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของแบรนด์ระดับโลกที่เปิดตัวเว็บไซต์ในประเทศจีนและญี่ปุ่นโดยเลือกใช้ Commerce Cloud

Clarins

และนี่คือโครงสร้างหลักของ Commerce Cloud

commerce cloud structure

Commerce Cloud เป็นระบบที่มาพร้อมกับการดูแลของบริษัทที่ให้บริการแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งหมายความว่าภาระในการบำรุงและรักษาเซิร์ฟเวอร์จะถูกจัดการโดยบริษัท Commerce Cloud ไม่ใช่แบรนด์ แต่ก็เท่ากับว่าแบรนด์ผู้ใช้งานนั้น ไม่สามารถปรับแต่งโครงสร้างหลักของซอฟท์แวร์ได้เหมือน Magento

Screen Shot 2560-03-30 at 11.10.13 AM

เว็บไซต์ของ Adidas ใช้ระบบ Commerce Cloud  มีฟังก์ชั่นป๊อปอัพที่กระตุ้นให้ลูกค้าลงทะเบียนอีเมลเพื่อรับข่าวสารจากทางแบรนด์

ฟังก์ชั่นและฟีเจอร์หลักๆของ Commerce Cloud

  • Commerce Cloud Marketplace : แหล่งรวม extension ของ Commerce Cloud ( คล้ายกับ Magento Marketplace)
  • การเชื่อมต่อ API : ระบบการเชื่อมต่ออย่างรัดกลุมที่ทำให้แบรนด์สามารถขายสินค้าผ่านหลายเว็บไซต์โดยจัดการผ่านหลังบ้านเพียงที่เดียว
  • ระบบการจัดการส่วนกลาง : ระบบที่สามารถเชื่อมต่อช่องทางต่างๆ จากมือถือสู่เว็บไซต์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการเว็บไซต์ คำสั่งซื้อ และการจัดส่ง ซึ่งฟังก์ชั่นนี้ก็มีให้ใช้บน Magento Enterprise เช่นกัน ต่างกันตรงที่ Commerce Cloud จะจัดการการพัฒนาและการเชื่อมต่อให้ทั้งหมด
  • ตัวเลือกที่หลากหลายสำหรับการซื้อสินค้า : ซอฟท์แวร์ของ Commerce Cloud สามารถใช้ฟังก์ชั่นการรับสินค้าที่หน้าร้าน การส่งสินค้าออกจากหน้าร้านและอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้รวมไปแล้วในราคารายปี ต่างกับ Magento ที่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มสำหรับ extension บางตัว
  • ระบบการเชื่อมต่อกับคลาวด์ : Commerce Cloud สามารถเชื่อต่อกับหน้าร้านออฟไลน์ของบริษัทได้ โดยพนักงานหน้าร้านสามารถแสดงสต็อกสินค้าของร้านให้ลูกค้าเห็นผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์ และฟังก์ชั่นการคาดการณ์ที่ทันสมัยจะช่วยให้แบรนด์มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนลูกค้า รวมถึงข้อมูลปลีกย่อยที่ช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างแคมเปญทางการตลาดที่เจาะจงเป็นรายบุคคลมากๆได้

เหตุผลที่จะชี้ว่าแบรนด์ควรตัดสินใจใช้ Magento หรือ Commerce Cloud นั่นสามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็น 3 ข้อหลัก คือ

1.งบประมาณ

2.แผนในการขยายธุรกิจ

3.ตำแหน่งในตลาดของแบรนด์

สำหรับแบรนด์ที่ต้องการที่จะทดลองตลาดในวงแคบ และมีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนและควบคุม  Magento เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า สำหรับซอฟท์แวร์อีคอมเมิร์ซสำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มต้น

แต่ถ้าหากแบรนด์นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีเป้าหมายในการขยายตลาด และมีชนิดสินค้าที่หลากหลายแล้ว แบรนด์นั้นควรจะเลือกใช้ Commerce Cloud เนื่องจากเป็นระบบที่ต้องการการบำรุงรักษาต่ำ จึงทำให้บริษัทสามารถพุ่งเป้าไปที่การขยายไปสู่ตลาดที่หลากหลายได้อย่างเต็มที่

จะเป็นสิ่งที่ไม่น่าแปลกใจเลย หากเรื่องการเลือกซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมจะมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากต่อแผนการบนออนไลน์ของแบรนด์ หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการการพัฒนาเว็บไซต์ของ aCommerce คลิกที่นี่

 

eIQ-short-Logo-final

บทความนี้เขียนขึ้นโดยทีม ecommerceIQ.asia

ecommerceIQ is a research initiative formed out of aCommerce, one of Southeast Asia’s leading ecommerce solutions providers whose clients include L’Oreal, Hewlett-Packard, Samsung, Nestle, Lazada, MatahariMall, LINE and other global brands and retailers. We are dedicated to providing objective insights and data to help businesses investigating or already operating in the region address the most critical challenges and identify the best opportunities when growing online. While ecommerce is relatively fresh in Southeast Asia, we have the advantage of working closely with the actual operators, not external consultants, that empower our work with data driven and expert learnings, consolidated from the top brands and suppliers across the region. ecommerceIQ produces sector and customized reports, clinics and conferences, a weekly Ecommerce in Southeast Asia brief and a news portal. Skip the learning curve with us.

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...

Responsive image

นวัตกรรมใหม่ จะสร้างโอกาส หรือเข้ามา Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ? ส่องความเห็นจาก CEO ชั้นนำในยุคนวัตกรรม

อนาคตกำลังมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย และกำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่คำถามสำคัญคือ นวัตกรรมอะไรบ้างที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้? ใครคือผ...