หลังจากได้เห็น โดรน (Drone หรือ UAV) ที่ใช้เทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งทำงานบนเครือข่าย 5G ที่ชื่อ Horrus (ฮอรัส) บินสำรวจและแสดงผลแบบเรียลไทม์ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ก็ต้องชื่นชมความสามารถของวิศวกร นักพัฒนาชาวไทย และการผนึกกำลังสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ของ 3 ภาคส่วน ได้แก่ ARV (AI & ROBOTICS VENTURES) บริษัทในเครือของ ปตท.สผ. ผู้พัฒนา Horrus, AIS โอเปอเรเตอร์รายแรกที่ขยายโครงข่าย 5G ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย และ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) วังจันทร์วัลเลย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง พื้นที่สำคัญของประเทศไทยที่รองรับการวิจัยพัฒนา ทดลอง/ทดสอบนวัตกรรมสู่การขยายผลในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
เพื่อให้เข้าใจตรงกัน อยากให้ผู้อ่านมอง โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ (UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ว่าเป็นฮาร์ดแวร์ที่ควบคุมการทำงานได้ด้วยซอฟต์แวร์ ซึ่งทำงานได้อย่างชาญฉลาดเพราะผนวกเทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์เข้าไป กลายเป็นหุ่นยนต์ติดปีกอัจฉริยะที่ออกสำรวจ เก็บข้อมูล ติดตาม วิเคราะห์ ประมวลผล และแสดงข้อมูลบนแพลตฟอร์มได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ
ส่วนการพัฒนาและความสามารถของโดรนอัจฉริยะตัวนี้ นี่คือข้อมูลเบื้องต้น 7 ข้อ ที่ควรรู้ก่อน มีดังนี้
สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในด้านโครงข่ายอัจฉริยะ ทาง AIS ออกแบบและลงทุนติดตั้งสถาปัตยกรรมโครงข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่น 2600 MHz ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และ EEC ซึ่งรวมถึง EECi หรือวังจันทร์วัลเลย์ และหลังจากนำ 5G กับแพลตฟอร์มมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในวังจันทร์วัลเลย์แล้ว ก็มีการนำ 5G มาใช้งานผ่านเทคโนโลยี ‘Autonomous Network’ ซึ่งเป็นระบบดูแลเครือข่ายอัตโนมัติ ช่วยในการปรับแต่งความสามารถของเน็ตเวิร์กให้เหมาะสมกับการใช้งานร่วมกับโดรนได้ เป็นผลให้โดรนสามารถบินได้อย่างอัตโนมัติตามเวลากับเส้นทางการบินที่กำหนด พร้อมรับ-ส่งภาพ เสียง หรือวิดีโอ กลับมายังศูนย์ควบคุมในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ได้แบบเรียลไทม์
5G SA ยังสามารถนำมาทำ ‘Network Slicing’ กับแอปพลิเคชันที่ต้องการคุณสมบัติทางเครือข่ายต่างกันได้ จึงช่วยเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล ลดความหน่วงในการสั่งการควบคุมโดรน อีกทั้งยังรองรับการควบคุมระยะไกลที่เสถียรกว่าและครอบคลุมระยะทางการใช้งานได้มากกว่าการใช้สัญญาณวิทยุและ Wifi
5G ยังสามารถให้บริการแบบ ‘Private Network’ คือ บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 5G ที่มีให้ใช้แบบส่วนตัวหรือจำกัดขอบเขตการใช้งานเฉพาะพื้นที่ เช่น การใช้ 5G Private Network ในเขตโรงงานเท่านั้น ซึ่งช่วยยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อีกทางหนึ่ง
AIS ยังพัฒนา 5G ให้ใช้งาน ‘MEC (Multi-access EDGE Computing)’ หรือ ระบบประมวลผลที่อยู่ใกล้กับเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้งาน 5G สามารถเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์ได้หลากหลายทางและรวดเร็ว ทั้งยังมี 'PARAGON Platform' อีกหนึ่งบริการที่เข้ามารองรับการบริหารจัดการและพัฒนาโซลูชันที่ต้องการความหน่วงต่ำ พร้อมกับมาร์เก็ตเพลสที่รวมแอปพลิเคชันมาให้เลือกใช้ไว้ในที่เดียว
ด้วยศักยภาพของ 5G ที่นำมาย่อยให้เข้าใจง่ายในบทความนี้ ทำให้เห็นว่าผนึกกำลังในการพัฒนา โซลูชันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม อย่างต่อเนื่องของ AIS กับกลุ่ม ปตท. ในรูปแบบของ Strategic Partner ทำให้เกิดโดรนตัวเก่งที่มี AI ทำงานบนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G หรือเรียกว่า 5G AI Autonomous Drone System เป็นครั้งแรกของประเทศ
จุดยืนร่วมกันของ AIS ในฐานะองค์กรเทคโนโลยีโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co และ ARV ในฐานะบริษัทลูกที่ ปตท.สผ. หมายมั่นปั้นมือในการพัฒนา Deep Tech เพื่อสร้างธุรกิจและแหล่งรายได้ใหม่ คือ ต้องการให้บริการเชิงพาณิชย์แก่องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมที่สนใจหรือต้องการทำ Digital Transformation โดยทางบริษัท ARV จะเป็นผู้ผลิตโดรนและพัฒนาโซลูชันอัจฉริยะร่วมกับ AIS เพื่อจำหน่ายหรือให้เช่าใช้งานภายในพื้นที่ EECi ก่อน เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่รองรับการใช้งานในระดับอุตสาหกรรมแล้ว พร้อมทั้งการผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ ทั้งนี้ หากต้องการนำไปใช้งานในพื้นที่อื่นๆ ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องดำเนินการในเรื่องการขออนุญาตตามกฎระเบียบต่างๆ ในปัจจุบัน
และจากการไปเยือน ศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. หรือ PTIC (PTTEP Technology and Innovation Center) ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ทีมเทคซอสเห็นศักยภาพของ Horrus ที่สั่งการให้ขึ้นบินและลงจอดได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทั้งยังควบคุมการใช้งานผ่านแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาให้ใช้งานสะดวกผ่านทางอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน นอกเหนือจากนี้ การได้พูดคุยกับทีมวิศวกรทำให้รู้ว่า ในกรณีที่มีการใช้โดรนบินเหนือน่านฟ้าในพื้นที่ EECi มากกว่า 1 ตัว ผู้ใช้งานก็สามารถควบคุมการจราจรและจัดเส้นทางการบินไม่ให้ชนกันได้ผ่านแพลตฟอร์มอัจฉริยะหรือโซลูชันที่คัสตอมมาเพื่อใช้กับงานบางอย่างโดยตรง
การพัฒนาโดรน Horrus จึงเป็นหนึ่งใน Use Case ที่ประสบความสำเร็จ และนับว่า เป็นการพลิกโฉมการทำงานของโดรนที่จะเข้ามามีบทบาทต่อภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ต้องตอกย้ำอีกครั้งว่า เป็นการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ซึ่งมีความพร้อมสำหรับการใช้งานและมีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 5G โดยมีวังจันทร์วัลเลย์เป็น 5G Testbed หรือ พื้นที่สำหรับทดสอบทดลองที่เปิดกว้างให้องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยในการพัฒนาโซลูชันแห่งอนาคตสู่การใช้งานจริง
ในขณะที่องค์กรและอุตสาหกรรมต่างๆ เทคโนโลยีดิจิทัลดิสรัปต์ อีกมิติที่ต้องกล่าวถึงคือ การใช้ 5G กับเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และ IIoT (Industrial Internet of Things) โดย 5G เข้ามาทำให้อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เชื่อมต่อและทำงานร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งในด้าน IIoT คือการใช้เครือข่าย 5G เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อและผสานการทำงานของเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม กับระบบ IT ทำให้การรับและส่งข้อมูลทำได้เร็วแม้จะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลกัน เมื่อบริหารจัดการสะดวก ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีข้อมูลในการตัดสินใจหรือใช้แก้ปัญหาได้ดีและเร็วขึ้นอีกด้วย
ดังนั้น โซลูชันที่ช่วยพัฒนาโรงงานให้เป็น โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ได้ เช่น โดรน ก็จะกระตุ้นตลาดให้มีความต้องการใช้งานโดรนเพิ่มขึ้นได้หลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่ การตรวจสอบความผิดปกติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่โรงงาน การตรวจหายานพาหนะหรือบุคคลภายนอก การลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงหรือมีข้อจำกัด ฯลฯ
แต่หากผู้อ่านยังไม่เห็นภาพ นี่คือตัวอย่างธุรกิจที่มีการพัฒนาโดรนขึ้นมาแก้ pain point ซึ่งมีการใช้งานจริงในปัจจุบัน อาทิ
การใช้โดรนสำรวจและตรวจสอบความผิดปกติใน โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ของเอสซีจี - เมื่อไรที่โดรนพบว่าแผงโซลาร์ชิ้นใดมีอุณหภูมิสูงผิดปกติก็จะส่งสัญญาณเตือนอัตโนมัติด้วยระบบ Smart Grid
การพัฒนาและใช้งานโดรนที่มีรูปแบบและฟังก์ชันต่างกันไปในธุรกิจของกลุ่ม ปตท. เช่น ใช้ตรวจสอบการทำงานในพื้นที่โรงงาน หรือในพื้นที่สำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ยกตัวอย่าง Horrus โดรนที่ใช้บินสำรวจพื้นที่, Laika โดรนที่ใช้ในการค้นหาและให้ความช่วยเหลือ
การใช้โดรนสำรวจความสมบูรณ์และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ของ เด็กซ์ซอน เทคโนโลยี ผู้ให้บริการตรวจสอบทางวิศวกรรมและสร้างนวัตกรรมสำหรับตรวจสอบโครงสร้างและสิ่งก่อสร้างต่างๆ
ทั้งหมดนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ AIS กับกลุ่ม ปตท. จะใช้จุดแข็งเรื่อง ‘ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City’ ของพื้นที่เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ ในการร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมโดรนแห่งอนาคต ปูทางสู่การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ซึ่งสอดคล้องกับการสร้าง New S-Curve หรือ อุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป้าหมายใหญ่ของการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งนี้
บทความนี้เป็น Advertorial ผู้สนใจเกี่ยวกับโดรน Horrus สามารถดูข้อมูลได้ที่ ARV Facebook: https://www.facebook.com/arv.th หรือ Horrus Landing Page: https://arv.co.th/horrus
นอกจากนี้ หากต้องการติดตามข้อมูลการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันบน 5G สามารถดูได้ที่ https://business.ais.co.th/5g หรือหากสนใจในโครงการวังจันทร์วัลเลย์ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.wangchanvalley.com
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด