"พวกผมไปดูงานของ Amazon Web Services และงานด้าน Cloud ต่างๆ ผมรู้เลยว่านี่เป็นยุคของ Cloud ...แล้ว System Integrator อย่างผมจะปรับตัวอย่างไร"
บทสัมภาษณ์นี้จะมาคุยกันเรื่องการปรับตัวของบริษัทสายเทคโนโลยี ที่ต้องมีการปรับตัวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์เทคโนโลยียุคใหม่ ที่มีผลกระทบต่อบริการเดิมที่บริษัททำอยู่
System Integrator หรือเรียกย่อๆ ว่า SI หมายถึงบริษัทผู้ทำหน้าที่ส่งมอบโซลูชันส์ตามที่ลูกค้าองค์กรต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ บริการด้านระบบเครือข่าย บริการซ่อมบำรุง เรียกได้ว่าเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทางด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กรต่างๆ
ผู้เขียนมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณธนกร ชาลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) ของ MFEC Public Company Limited ซึ่งเป็นบริษัท System Integrator รายใหญ่ของไทย
คุณธนกร ชาลี COO ของ MFEC
"พอได้เข้ามาศึกษา Cloud ผมก็เห็นเลยว่ามีผลกระทบต่อ System Integrator แน่นอน ผมกางรูป OSI Model ออกดูอีกครั้งแล้วพบว่า Cloud กำลังจะมาแทนที่ Layers ต่างๆ มากถึง 6 Layers ตั้งแต่ Layer 1 ไปจนถึง Layer 6 เลย"
สำหรับคุณผู้อ่าน: OSI Model เป็นชื่อของโมเดลที่เป็นภาพแสดงถึงประเภทของการให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศโดยแบ่งเป็นลำดับขั้นค่ะ คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นคำที่กว้างใหญ่มาก แต่ OSI กำลังฉายภาพให้เห็นว่ามันแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท หรือ 7 Layers ใหญ่ๆ ดังภาพ
ภาพจาก networksmania.com
บทความนี้อาจจะยังไม่ขอลงรายละเอียดถึง OSI Model แต่เรื่องที่น่ารู้ก็คือ IT Infrastructure ในระดับขั้นต่างๆ แต่ก่อนนี้ลูกค้าต้องพึ่งพิง System Integrator ให้เข้ามาช่วยวางระบบในองค์กร แต่เดี๋ยวนี้แทบทุกอย่างมีให้บริการบน Cloud หมดแล้ว สังเกตดีๆ ว่าเป็น "บริการ" หมายความว่า ลูกค้าไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ IT ต่างๆ มาใช้เอง แต่อุปกรณ์เหล่านั้นมีผู้ให้บริการลงทุนซื้อ/ติดตั้ง และนำมาให้ลูกค้าใช้ในรูปแบบบริการ ไม่ว่าจะเป็น Server, Storage, Network, ระบบ Security ต่างๆ รวมไปถึง Database และกระบวนการทาง IT ต่างๆ เช่น ระบบรัน Batch Processing, Content Delivery Network, Developer Tools ไปจนถึง Data Analytic และแม้กระทั่งระบบ Artificial Intelligence ก็ยังมีให้บริการบน Cloud
คุณธนกรเสริมต่อว่า “เรียกได้ว่า ในยุคต่อไปไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่กับระบบ IT อีกแล้ว ทุกอย่างมีให้บริการบน Cloud โดยจ่ายเพียงเล็กน้อยไปตามระยะเวลาและปริมาณการใช้งาน มีเหลือสิ่งเดียวที่ยังเปิดช่องให้บริษัท IT ยังทำได้คือ Application Software เพราะ Application เป็นเรื่องของจินตนาการทางธุรกิจที่มีไม่จำกัด และถ้าไม่ใช่ Application พื้นฐานที่คนหมู่มากใช้เหมือนๆ กันได้ (เช่น E-mail, ERP, Accounting software) ก็ยังต้องอาศัยนักพัฒนาโปรแกรมในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาอยู่ดี
ดังจะเห็นได้ว่า ธุรกิจ Software Startup ในปัจจุบันทุกคนจะมุ่งไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์โดยไม่มีใครยุ่งยากและลงทุน เยอะๆ ไปกับระบบพื้นฐานเช่น Server/Database อีกต่อไป แทบทุกรายจะใช้ระบบ Cloud เป็นพื้นฐาน และมุ่งไปที่เรื่องของการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างเดียว"
เมื่อเป็นเช่นนี้ System Integrator อย่างทาง MFEC มีการปรับตัวอย่างไรบ้าง คุณธนกรได้เล่าให้ผู้เขียนฟังถึงการปรับตัวต่างๆ ดังนี้
แม้จะสูญเสียโอกาสในการนำเสนอโซลูชันส์ของตนเองหรือพาร์ทเนอร์ เพราะมี Cloud เข้ามาเป็นโซลูชันส์ใหม่ แต่อย่างไรก็ตามองค์กรในประเทศไทยก็ยังขาดแคลนความรู้ความเชี่ยวชาญ Cloud Platform อยู่ ดังนั้นจึงยังมีพื้นที่โอกาสอีกมากสำหรับ MFEC ในการนำเสนอความเชี่ยวชาญในด้าน Cloud ให้แก่ลูกค้า
สำหรับลูกค้าที่มีระบบเดิมอยู่
จากที่ปกติ System Integrator จะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างให้กับลูกค้า มาวันนี้บริษัทจะมุ่งพัฒนาโปรดักส์ต่างๆ ของตัวเองด้วย โดยคำว่า Venture Builder ที่ผู้เขียนเขียนขึ้น หมายถึง บริษัทที่มุ่งสร้าง New Venture หรือธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมา ด้วยทรัพยากรภายในบริษัทเดิมของตนเอง
คุณธนกรได้เล่าว่า "เมื่อไม่กี่สัปดาห์นี้เอง เราได้จัดงาน Hackathon ขึ้นภายในบริษัท โจทย์คือพัฒนาโซลูชันส์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับแผนก HR จนได้ออกมาเป็นโปรแกรม Facebook Chatbot ที่จะช่วยฝ่าย HR ให้เขาตอบคำถามคนที่สนใจสมัครงานได้อย่างสะดวก
และก่อนหน้านี้เรามีจัดกิจกรรมซึ่งเรียกว่า Box Breaking เป็นกิจกรรมการประกวดไอเดียธุรกิจ ผลงานที่ได้จากครั้งนั้นคือ Crowd Testing เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ Developers สามารถทดสอบแอปพลิเคชันได้บนหลากหลายอุปกรณ์รวมถึงอุปกรณ์ที่หาได้ยากตามท้องตลาด โดยอาศัยให้ประชาชนหรือใครก็ตามสามารถลงทะเบียน Device ที่ตนมีและสมัครเข้ามาเป็น Tester (ผู้ทดสอบโปรแกรม) ได้ กิจกรรมนี้จัดไปเมื่อปีที่แล้ว แล้วเราก็ให้งบประมาณแก่ผู้
MFEC ยังได้เปิดบริษัทลูกขึ้น ชื่อว่า Playtorium Solutions ซึ่งเปิดขึ้นมาเพื่อรองรับการพัฒนา New Venture และทีม Crowd Testing ก็ได้ย้ายมาอยู่ในส่วนนี้และได้ทำโปรดักส์ต่ออย่างเต็มตัว
ปีนี้คาดว่าจะเปิดเพิ่มอีก 6-7 บริษัท
ออฟฟิศ Playtorium ที่เพิ่งเปิดใหม่
ก่อนหน้านี้ที่ได้เล่าถึงการเพิ่มโซลูชันส์ด้าน Cloud เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น Roadmap ของ MFEC ในตอนนี้คือการมอบโซลูชันส์ทางด้าน Big Data ให้กับลูกค้าองค์กร โดยมีแล็บที่ชื่อว่า Data Cafe ที่เซ็น MOU ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งมี Data เป็น Asset ที่แฝงอยู่อย่างไม่รู้ตัว และไม่รู้จะใช้ประโยชน์อย่างไร ถึงรู้...ก็ไม่มีบุคลลากรทางด้าน Data Analytics"
"เราใช้ Data Cafe เป็นถัง Big Data กลางที่รวบรวมข้อมูลจากหลาย Industry แล้วให้ Data Scientist เล่นกับข้อมูลและหามูลค่าเพิ่
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Techsauce ได้รายงานข่าวการจัดตั้ง Corporate VC (กองทุนเพื่อการลงทุน) ของ MFEC ซึ่งจะลงทุนทั้งกับ Venture หรือ Startup ภายนอก รวมถึงกับ Startup ภายในองค์กรด้วย
ผู้เขียนวิเคราะห์แนวทางการปรั
MFEC วิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคต และใช้ความได้เปรียบของการเป็นบริษัทใหญ่ใน Local ปรับตัวใหม่อย่างสร้างสรรค์
คุณธนกร สรุปทิ้งท้ายเรื่องการปรับตัวของ MFEC ไว้ว่า บริษัทเทคโนโลยีไม่จำเป็นต้องเอาชนะด้วยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่นี่เป็นยุคของการที่ต้องเอาชนะด้วย Business Model
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด