เรียนรู้การพัฒนา product จากพระราชดำริกังหันชัยพัฒนา | Techsauce

เรียนรู้การพัฒนา product จากพระราชดำริกังหันชัยพัฒนา

กังหันชัยพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่เลื่องชื่อของพระราชดำริส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโครงการที่ชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ยังเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ ด้วยรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียมอีกด้วย ซึ่งเราสามารถเอาหลักการพระราชดำริของพระองค์มาใช้ในการพัฒนา Product ได้เช่นกัน

การเล็งเห็นถึงปัญหา (find pain point)

ปัญหาน้ำเน่าเสียใจในเมืองอาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียวกับน้ำในคลองแสนแสบที่คนคิดทำใจแล้วเรียกมันว่าคลองน้ำสีดำแต่พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าน้ำในแม่น้ำลำคลองเราไม่ใช่แค่น้ำสีดำ แต่เป็นน้ำเน่าต้องแก้ไข

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ในมุมธุรกิจนอกจากการปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเราหยุดคิด แล้วสังเกตเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตเราและคนรอบข้าง แล้วหา Pain Point ให้เจอ เพราะบางทีปัญหาไม่มี ถ้าเราไม่เริ่มมองหา ถ้ามองในทางธุรกิจการเล็งเห็นถึง Pain Point นั่นก็เหมือนกับการเล็งเห็นถึงโอกาสในธุรกิจ

chaipattana-mechanic

วิธีการง่ายๆ แต่ให้ผลประโยชน์สูงสุด (lean process)

เมื่อทรงเล็งเห็นถึงปัญหาน้ำเน่าเสียใจกรุง ทุกคนต่างร่วมกันหาทางออก ทางแก้ปัญหาน้ำเน่าคือการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำ มีการนำเข้ากังหันจากต่างประเทศหลายรุ่น ทั้งรุ่นที่มีมอเตอร์แรงๆ เพื่อที่จะตีน้ำให้เร็ว ออกซิเจนจะได้เข้าสู่น้ำเยอะขึ้น การนำเข้ามอเตอร์ไฟฟ้ารุ่นดีมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่พระองค์กลับทรงมีแนวพระราชดำริที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเราต้องการให้น้ำกระจายเพื่อออกซิเจนจะได้มากขึ้น แทนที่เราจะเพิ่มความเร็วการตีน้ำ พระองค์ทรงประดิษฐ์กังหันชัยพัฒนาเพื่อเปลี่ยนที่วิดน้ำที่สัมผัสกับน้ำแทน พระองค์ทรงใช้ซองวิดน้ำที่เป็นรูพรุน เพื่อให้น้ำกระจายมากขึ้น ผลออกมาว่า

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : เมื่อเรามองในมุมธุรกิจ หลายคนอาจจะเห็นปัญหาเช่นเดียวกับเรา แต่เราจะแก้ปัญหาหาทางแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้อย่างไร ทั้งตรงจุด ทั้งใช้ต้นทุนที่น้อยกว่า ซึ่งนี่ถือว่าเป็นพระอัฉริยภาพของในหลวงของเราจริงๆ

ทำมันต่อไป (keep doing it)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : นอกจากจะมองเห็นปัญหา แก้ไขปัญหา การมองไปข้างหน้า มองหาโอกาส และ pain point ต่อๆ ไปก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ปัญหาอาจจะไม่ได้มีแค่ปัญหาเดียว ทางแก้ก็อาจจะไม่ได้มีแค่ทางออกเดียว เช่นเดียวกับธุรกิจถึงแม้เราจะแก้ปัญหาครั้งนี้ไม่ได้ กลับมาทบทวนว่าเรามองปัญหาทะลุปรุโปร่งหรือยัง ทางแก้ของเราแก้ถูกจุดหรือยัง ทำมันต่อไป แล้วเราจะได้คำตอบเอง

————————————————————————————————————- Editorial Note: บทความนี้คือบทความพิเศษที่เราเรียกว่า Guest Post จาก  Anna Tuntiwaraporn ดูแลด้าน Content Marketing แห่ง Frank.co.th ผู้ให้บริการด้านประกันรถยนต์ออนไลน์ในประเทศไทย (ภายใต้การรับประกันภัยโดย บริษัทกรุงเทพประกันภัย) บทความนี้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เขียน ซึ่งมี techsauce เป็น ผู้เผยแพร่เดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ หากต้องการนำบทความไปใช้กรุณาให้เกียรติด้วยการอ้างอิงชื่อผู้เขียนและลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...