รายงานสงคราม Ecommerce ไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ไตรมาสที่ 3 ปี 2021 | Techsauce

รายงานสงคราม Ecommerce ไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ไตรมาสที่ 3 ปี 2021

อาจกล่าวได้ว่ายิ่งไวรัส COVID-19 แพร่ระบาดนานเท่าไหร่ ธุรกิจออนไลน์ก็ดูจะก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วขึ้นเท่านั้น ก่อให้เกิดยุค New Normal โดยเฉพาะในไทยที่แม้ห้างสรรพสินค้าจะเปิดให้บริการตามปกติแล้ว แต่ผู้คนก็เน้นไปเพื่อรับประทานอาหาร หาความบันเทิง หรือนัดพบปะกันเท่านั้น ซึ่งยังผูกติดการช้อปปิ้งสินค้าทั่วไป, สุขภาพ และความงาม, เสื้อผ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์กับร้านค้าออนไลน์ดั่งเช่นช่วงปิดเมืองยาวนานที่ผ่านมา  

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2021 นี้ iPrice Group บริษัทวิจัยการตลาด และเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ ได้อัพเดตข้อมูลงานวิจัย The Map of E-commerce หรือสงครามอีคอมเมิร์ซ ที่รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์, อันดับการใช้งานแอพพลิเคชั่น และจำนวนผู้ติดตามทางโซเชียล ช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน ปี 2021 จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้ง 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และไทย ซึ่งหยิบยกตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย และเวียดนามมาวิเคราะห์ โดยมีไฮไลท์ที่สำคัญ ดังนี้

‘Shopee’ ยืนหนึ่ง ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ชาวมาเลเซีย เวียดนาม และไทย เข้าชมเว็บไซต์สูงสุด Graphical user interface

Description automatically generated

ไม่ใช่แค่ไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ที่ Shopee กลายมาเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซขวัญใจชาวไทย และตลาดเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย และเวียดนาม) สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย Shopee ก้าวขึ้นมาครองบัลลังก์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ในขณะที่ตลาดเวียดนามคว้าชัยไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และตลาดมาเลเซียไตรมาสที่ 2 ปี 2019

มากไปกว่านั้น หากทำการเปรียบเทียบร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภททั่วไปทั้งหมดในงานวิจัย Map of E-commerce ของไทย มาเลเซีย และเวียดนาม จะพบว่าส่วนแบ่งการตลาดของ Shopee ในตลาดมาเลเซียมีสูงถึง 71% ในขณะที่ตลาดไทย และเวียดนามมีเปอร์เซ็นส่วนแบ่งการตลาดเท่ากันที่ 57%

 ไฮไลท์ที่น่าสนใจคือ ร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปในเวียดนามดูจะมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพราะนอกจากสามอันดับแรกที่ iPrice Group หยิบยกขึ้นมาข้างต้นนี้แล้ว ร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภททั่วไปอื่น ๆ ยังได้ส่วนแบ่งการตลาดอีกกว่า 14% ในขณะที่ตลาดไทยมีเพียง 6%

การศึกษาข้อมูล
iPrice Group ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ทั้ง ประเทศจาก SimilarWeb โดยใช้การจัดอันดับร้านค้าอีคอมเมิร์ซจากงานวิจัย Map of E-commerce (สงครามอีคอมเมิร์ซ) ในแต่ละประเทศได้แก่ มาเลเซียไทย และเวียดนาม ช่วงไตรมาสที่ ปี 2021 (กรกฎาคม - กันยายน) โดยเน้นร้านค้าประเภททั่วไปเท่านั้น และวิเคราะห์ส่วนแบ่งการตลาดจากผลรวมผู้เข้าชมเว็บไซต์ของร้านค้าประเภททั่วไป  

นักช้อปไทยมีส่วนร่วม (Engagement) ต่อโพสบน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ น้อย’ ที่สุด

ปัจจุบันโลกโซเชียลกลายมาเป็นสื่อสำคัญทางโลกออนไลน์ไปแล้ว โดยยอดผู้ติดตามก็สามารถบ่งบอกคะแนนความนิยมของร้านค้าอีคอมเมิร์ซแทนจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เช่นกัน แต่ความสนใจ หรือความมีส่วนร่วม (Engagement) ต่อโพสต่าง ๆ ของร้านค้าก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน 

ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจำนวนการมีส่วนร่วมต่อโพสบน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซชั้นนำ 3 อันดับแรกของตลาดอีคอมเมิร์ซในมาเลเซีย เวียดนาม และไทย พบว่า นักช้อปชาวไทยมีส่วนร่วมต่อโพสของร้านค้าอีเมิร์ซน้อยที่สุด เพียง 20% เท่านั้น แม้จำนวนผู้ติดตามจะมีไม่ต่างจากตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย และเวียดนาม) แต่คาดส่วนใหญ่กดติดตามเพื่อรอการอัพเดตโปรโมชั่น และแคมเปญน่าสนใจต่าง ๆ เท่านั้น  

อย่างไรก็ตาม  ประเทศที่นักช้อปมีส่วนร่วมต่อโพสบน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปสูงสุดคือ มาเลเซีย คาดเป็นเพราะบัญชี Facebook ของ Shopee, Lazada และ PG Mall ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้ยอดการมีส่วนร่วมอาจรวมไปถึงนักช้อปชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศด้วยต่างจากไทย และตลาดเวียดนาม (36%) ที่ข้อมูลบนเพจเป็นภาษาท้องถิ่น

การศึกษาข้อมูล 
 iPrice Group ได้รวบรวมข้อมูลการมีส่วนร่วมต่อโพสบนแพลตฟอร์ม Facebook โดยใช้คำค้นหาเป็นชื่อร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 3 อันดับแรก (ร้านค้าทั่วไป) ของแต่ละประเทศได้แก่ มาเลเซีย, ไทย และเวียดนาม ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากการที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมต่อโพส เช่น
แสดงความคิดเห็น’, ‘ถูกใจ’, ‘ว้าว’ , ‘รักเลย’, ‘ฮ่าฮ่า’, ‘เศร้า’ และ ‘โกรธ’ บน Facebook ตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา (15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 – 2021)  

ชาวไทย ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุดใน SEA (ไม่รวมสิงคโปร์)

Chart, bar chart

Description automatically generatedเป็นอนิสงค์อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อีกนั่นเอง ที่ทำให้เกิดวิถีชีวิตแบบ ‘New Normal’ ขึ้น สอดคล้องกับรายงานของ Google, Temasek และ Bain & Company ว่าด้วยการเพิ่มขึ้นของจำนวนการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ มาเลเซีย, เวียดนาม, ไทย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ หากนำตัวเลขผู้ใช้งานมาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า คนไทยมีการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุดในภูมิภาคถึง 89.99% แบ่งเป็นก่อนการแพร่ระบาด 73.7% ช่วงแพร่ระบาดจนถึงครึ่งปีแรกปี 2021 อีก 16.2% และผู้ที่ไม่ได้ใช้งานมีเพียง 10.1% เท่านั้น โดยการเปรียบเทียบนี้จะไม่รวมประเทศสิงคโปร์เพราะจำนวนประชากรที่มีจำกัด ทำให้การใช้ชีวิตควบคู่ไปกับธุรกิจดิจิทัลดูเป็นเรื่องปกติ แม้แต่แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคอย่าง Shopee และ Lazada ยังมีต้นกำเนิดจากประเทศนี้ 

สำหรับเหตุผลที่ผู้บริโภคหันมาใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลกันอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เพราะเชื่อว่า ‘ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น/สะดวกสบายมากขึ้น’ หากขุดลึกไปถึงการใช้งานแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่เน้นการช้อปสินค้าทั่วไป(65%), สินค้าเพื่อสุขภาพ และความงาม (62%), เสื้อผ้า (60%) และอิเล็กทรอนิกส์ (53%) 

 นอกเหนือจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็จะเป็นแพลตฟอร์มขนส่งอาหาร (64%), วิดีโอ (57%) และดนตรี (51%) โดยแพลตฟอร์มดนตรีผู้คนใช้งานเพราะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มากกว่าการเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น/สะดวกสบายขึ้น 

ที่มา: Google-commissioned Kantar SEA e-Conomy Research 2021. 

หมายเหตุ: 'ผู้ใช้งานก่อนการแพร่ระบาดหมายถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลก่อนมี.ค. 2563 'ผู้ใช้งานรายใหม่ปี 2563' เริ่ม ชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นครั้งแรกระหว่างมี.ค.-ธ.ค. 2563 'ผู้ใช้งานรายใหม่ครึ่งปีแรกของปี 2564' เริ่มชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อย หนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างน้อย รายการตั้งแต่ม.ค. 2564 เป็นต้นไป

ปี 2021 ฟิลิปปินส์ คือประเทศที่มีมูลค่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นสูงสุดใน SEA 

Chart, bar chart

Description automatically generated

นับได้ว่าช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นเวลาทองของธุรกิจดิจิทัลเลยก็ว่าได้ จากข้อมูลของ Google, Temasek และ Bain & Company พบว่า ฟิลิปปินส์คือประเทศที่มีมูลค่าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นสูงสุดใน SEA เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างปี 2020 – 2021 โดยเติบโตสูงถึง 132% รองลงมาคือไทย และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 68% ตามมาด้วยเวียดนาม 53%, อินโดนีเซีย 52% ปิดท้ายด้วยสิงคโปร์ 45%

ในรายงานยังมีการคาดการณ์มูลค่าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปี 2025 โดยประเทศที่คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ เจ้าประจำอย่างอินโดนีเซีย คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยจำนวนประชากรที่มากกว่าประเทศอื่น ๆ ใน SEA หลายเท่าตัว ถัดมาคือตลาดอีคอมเมิร์ซในเวียดนาม คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดเพราะเวียดนามเป็นประเทศที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั้งเจ้าถิ่น และต่างแดนแข่งขันกันดุเดือดที่สุด ตามมาด้วยไทยที่คาดมูลค่าจะแตะที่ 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

การศึกษาข้อมูล

iPrice Group ได้นำเสนอข้อมูลรายงานจากบริษัท Bain ในรายงาน e-Conomy SEA 2021 ของ Google, Temasek และ Bain & Company

 เก็บข้อมูล เขียน และวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...