ส่องแนวคิด iTechpreneurship: สร้างความวุ่นวาย เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย | Techsauce

ส่องแนวคิด iTechpreneurship: สร้างความวุ่นวาย เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย

Kamran Elahian จาก Global Innovation Catalyst (GIC) เสนอแนวคิดว่าโลกยุคใหม่จะต้องสร้างความวุ่นวายที่สร้างสรรรค์เพื่อหลีกหนีจากความวุ่นวายที่ไม่สร้างสรรค์ ความวุ่นวายดีๆ ที่ Kamran ต้องการสร้าง คือ "อาชีพเชิงสร้างสรรค์" (Innovation Jobs) จำนวน 10 ล้านอาชีพให้เกิดขึ้นได้ใน 10 ปี หรือการเป็น iTechpreneurship

ประเด็นสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน คือ เรื่องของความวุ่นวาย (Chaos) สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น การตกลงของราค่าน้ำมันและก๊าซ ส่งผลให้รายได้ของแต่ละประเทศที่ผลิตน้ำมันลดลงไปอย่างจำนวนมาก หรือการเกิดการก่อการร้ายในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลาม โดยจำนวนผู้ก่อการร้ายจากอิสลามมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในเดือนกรกฎาคม 2016 เกิดการพุ่งสูงถึง 140 ครั้ง

ความวุ่นวายต่างๆ มากมาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ "พิระมิดของนวัตกรรมเทคโนโลยี" เกิดการกลับตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปัจจุบัน

จากเดิมที่นวัตกรรมด้านไอทีต้องทำแบบด้วยตนเองหรือ Manual จนออกมาเป็น Content ใน Algorithm ที่สามารถนำไปใช้ได้เลย แต่ตอนนี้ทุกอย่างกลับตาลปัตรเมื่อเทคโนโลยีสามารถผลิตทุกอย่างออกมาเองได้แล้ว

Kamran Elahian จาก Global Innovation Catalyst (GIC) เสนอแนวคิดว่าโลกยุคใหม่จะต้องสร้างความวุ่นวายที่ดีหรือสร้างสรรรค์เพื่อหลีกหนีจากความวุ่นวายที่แย่หรือไม่สร้างสรรค์ ความวุ่นวายดีๆ ที่ Kamran ต้องการสร้าง คือ "อาชีพเชิงสร้างสรรค์" (Innovation Jobs) จำนวน 10 ล้านอาชีพให้เกิดขึ้นได้ใน 10 ปี หรือการเป็น iTechpreneurship โดยเริ่มจาก

  • สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน 50 ล้านคนก่อน
  • จากนั้นก็จะทำให้เกิดการพัฒนาแนวคิดหรือ Concept กับ 1 ล้านคน
  • ต่อมาก็พัฒนาแนวคิดด้านธุรกิจให้เกิดขึ้นกับสตาร์ทอัพ 500,000 รายที่เตรียมได้รับการสนับสนุน
  • เมื่อสร้างสตาร์ทอัพได้ ก็สร้างการเติบโตและการขยายตัวให้กับ 250,000 บริษัทที่ได้รับการสนับสนุนแล้ว
  • สุดท้ายก็ทำการสร้างมูลค่าให้กับบริษัทต่างๆ (Value Creation) และเก็บเกี่ยวผลดังกล่าว โดย 100,000 บริษัท ก็จะสร้างตำแหน่งงานได้มากถึง 100 ตำแหน่ง

iTechpreneurship ในมุมมองของ Kamran ระบุว่าเป็นการประกอบอาชีพแบบสร้างสรรค์ ด้วยพลังแห่งอินเทอร์เน็ตทำให้ทุกคนกลายเป็นผู้ประกอบการโดยง่าย แต่ต้องเพิ่มการสนับสนุนได้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเงินทุน, ด้านการสร้างความตระหนักรู้ (Social Impact) และด้านการสร้างสังคมของ iTechpreneurship ด้วยกันเอง

สร้าง Ecosystem เพื่อทำให้เกิด 10 ล้านอาชีพให้เกิดขึ้นได้ใน 10 ปี

นอกจากนี้ยังเสนอวิธีการสร้าง Ecosystem ที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม 5 ขั้นตอน เพื่อทำให้เกิด "10 ล้านอาชีพได้ใน 10 ปี" ได้แก่

  1. Mentor & Resource Networks การสนับสนุนการให้คำแนะนำแต่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมไปถึงสตาร์ทอัพ
  2. Innovation Capital มีแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
  3. Policy & Cultural Support มีนโยบายและวัฒนธรรมที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  4. Broadband and Digital Platforms การมีระบบอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็ว พร้อมใช้งาน รวมไปถึงการมีแพลตฟอร์มแบบดิจิทัลแบบเต็มตัว
  5. Education & Professional Development การให้ความรู้ ให้การศึกษา เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมการพัฒนาแบบมืออาชีพ

นอกจากนี้ยังต้องมีระบบตลาดที่เหมาะสม การพัฒนากองทุนสำหรับประชาชน และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี (Tech Infrastructure) เพื่อดันให้มี Ecosystem ที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้จริง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...