AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp ยกระดับเวทีปั้น Startup เยาวชนรุ่นใหม่ | Techsauce

AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp ยกระดับเวทีปั้น Startup เยาวชนรุ่นใหม่

กระแส Tech startup ในคนรุ่นใหม่ยังคงมาแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากที่มีซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-up เข้ามาจุดประกายและความฝันให้หลายๆ คนอยากเป็นเหมือนนัมโดซานและซอดัลมี ที่เริ่มต้นธุรกิจของตัวเองและเติบโตผ่านโครงการบ่มเพาะ จนกลายเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ช่วงนี้เราได้เห็นเวทีแข่งขันของ startup เกิดขึ้นมากมายหลากหลายระดับ ซึ่งหนึ่งในโครงการที่มุ่งสนับสนุนกลุ่มเยาวชนตั้งแต่อายุ 15-20 ปี อย่างโครงการ AFTERKLASS ของธนาคารกสิกรไทย ก็พัฒนากระบวนการคัดเลือก บ่มเพาะ และการแข่งขันอย่างเข้มขันขึ้นเรื่อยๆ โดยในปีนี้ ทาง AFTERKLASS ได้จัดแคมป์ AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp ให้น้องๆ รุ่นใหม่ได้เรียนรู้พื้นฐานการทำธุรกิจ และคิดค้นไอเดียนวัตกรรมที่จะต่อยอดเป็นธุรกิจ Startup ได้จริง และแข่งขัน pitching ต่อคณะกรรมการอย่างเข้มข้น ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน

คุณรวี อ่างทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย และผู้บริหาร  AFTERKLASS กล่าวถึง ความสำคัญของการวางรากฐานและแนวคิดการทำงานแบบ Startup ในเยาวชน คนรุ่นใหม่ผ่านโครงการนี้ว่า “ เราต้องการให้น้องๆ ที่มาเข้าร่วมได้มีความรู้ในการทำธุรกิจในทุกๆ มุม  ตั้งแต่การคิดไอเดียผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม เรื่องการเงิน ไอที และการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่เอาไปใช้ในชีวิตจริงได้ โดยเฉพาะความรู้ทางการเงิน ที่เราไปทำการศึกษามาพบว่า ปัจจุบันเด็กมัธยมก็เริ่มมีหนี้สินกันแล้ว จากต้นทุนในการใช้ชีวิตประจำวันและความฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่น่ากังวล เราจึงอยากให้การสนับสนุนความรู้ในการบริหารจัดการการเงินตั้งแต่ในวัยนี้ และสามารถดูแลตัวเองให้เป็นเยาวชนที่มีศักยภาพในอนาคตได้

ถ้าเราดูสถิติของเด็กที่จบใหม่ในปัจจุบัน จะเห็นว่าส่วนมากจะมีความฝันที่อยากทำธุรกิจของตัวเองมากกว่าการสมัครเข้าทำงานในบริษัท รวมถึงเทรนด์ของการทำธุรกิจตอนนี้คือ Startup ซึ่งธนาคารเองก็มีโครงการเพื่อช่วยให้เกิด Startup ที่ได้ไปต่อมากมาย เพราะเรามองว่า Startup จะสามารถช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ทำให้คนมีรายได้สูง”  

โดย AFTERKLASS มีการจัดกิจกรรมแข่งขันขึ้นทุกปี แต่ความพิเศษในปีนี้ คือ ความเข้มข้นของเนื้อหาและความเป็นมืออาชีพที่เพิ่มขึ้นของทั้งผู้อบรม และผู้เข้าแข่ง โดยได้แบ่งช่วง กิจกรรมออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ  

HACKATHON

ในช่วงแรกของโครงการ หลังจากที่เปิดรับสมัครและคัดเลือกจนกระทั่งได้น้องๆ เยาวชนผู้เข้ารอบ 36 คน ก็เข้าสู่กิจกรรม Hackathon เพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์และไอเดีย รวมถึงแผนธุรกิจสินค้าและบริการที่จะตอบโจทย์กลุ่ม Young Gen หรือคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ผ่านการแบ่งกลุ่มออกเป็น 9 ทีม โดยทุกทีมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจจากผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์จาก K SME พร้อมทั้งแนวคิดเรื่องการพัฒนา UI/UX Design และ Customer Journey การทำการตลาด การสร้างรายได้เชิงธุรกิจ ผ่านกระบวนการ Hackathon ตลอดระยะเวลา 3 วัน ก่อนที่จะเปิดโอกาสให้ทุกทีมนำเสนอแผนธุรกิจต่อคณะกรรมการจากธนาคารกสิกรไทย และตัวแทนนักลงทุนอย่าง Beacon Venture และ KBTG เพื่อคัดทีมที่ได้ไปต่อในช่วง Incubation Round จำนวน 5 ทีม  

INCUBATION

5 ทีมที่ผ่านเข้ารอบได้เข้าสู่ช่วงของการบ่มเพาะ หรือ Incubation ระยะเวลากว่า 2 เดือน ด้วยเงินสนับสนุนทีมละ 5,000 บาท เพื่อนำไปพัฒนาแผนธุรกิจในระหว่างการแข่งขัน และเป็นเงินทุนในการทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

ในช่วงระยะของการบ่มเพาะ น้องๆ เยาวชนได้รับการติวเข้มจากคณะผู้เชี่ยวชาญจากทั้งธนาคารกสิกรไทย KBTG และ Beacon Venture เพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจในการพัฒนาและออกแบบบริการให้ใช้ได้จริง ทั้งการวาง Business Model การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ UX/UI Design การทำ MVP และการออกแบบ Revenue Plan ให้ธุรกิจเป็นไปได้จริง รวมถึงเรียนรู้เทคนิคการ Pitch บนเวทีต่อหน้าคณะกรรมการ  เรียกว่าได้ทำทุกอย่างและเจอประสบการณ์เช่นเดียวกับที่ Startup จริงๆ ต้องเจอกันเลยทีเดียว

คุณวรกฤษ เหล่าวิทวัส Senior Innovation Product Manager จาก KBTG กล่าวว่า ในครั้งนี้ KBTG ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยการส่งทีมมาช่วยโค้ชชิ่งน้องๆ ตั้งแต่เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการทำ Prototype โดยมองว่าหากมีไอเดียที่เข้าตา ก็อาจนำไปพัฒนาต่อในอนาคต และทำให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นได้ด้วย

“สิ่งที่องค์กรใหญ่กำลังมองหาจากเด็กรุ่นใหม่ หลักๆ มี 3 เรื่อง อย่างแรก คือ คนที่มีทัศนคติพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และมองหาโอกาสใหม่ๆ โดยสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว สามารถพัฒนาทั้งทักษะ Hard Skill ในแขนงใหม่ ที่เป็นความรู้เรื่องในเรื่องยากๆ อย่าง DeepTech เช่น Blockchain หรือ Smart contract หรือแม้แต่ทักษะพื้นฐานฝั่งเทค เช่น การพัฒนาโปรแกรม และ Cyber security ก็เป็นที่ต้องการของตลาด นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของทักษะ Soft Skill และความสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นให้มีความเป็นมนุษย์ และสามารถออกสู่ตลาดได้จริง”   

DEMO DAY

หลังจากที่ผ่านการบ่มเพาะกว่า 2 เดือนแล้ว ทั้ง 5 ทีมได้ขึ้น Pitch ต่อหน้าคณะกรรมการ ด้วยไอเดียของบริการ และ prototype ที่ได้ทดลองทำมา โดยบรรยากาศในวัน Demo Day ก็อัดแน่นไปด้วยความเข้มข้นและจริงจังไม่ต่างจากเวที Startup Pitching กับ VC ของจริงเลย ทุกทีมได้โอกาสทีมละ 9 นาที โดยน้องๆ ต่างต้องทำการบ้านมาอย่างดี เพื่อให้สามารถตอบคำถามของคณะกรรมการได้อย่างรอบด้าน

ทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และรับเงินรางวัลกว่า 50,000 บาท คือ ทีม Parkdee แอปพลิเคชันช่วยแมตช์ชิ่งคนที่มีพื้นที่ว่างสำหรับให้เช่าที่จอดรถ และคนที่ต้องการหาที่จอดรถในตัวเมือง 

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม AraiD แอปพลิเคชัน match ความต้องการและจองร้านอาหารสำหรับกลุ่มเพื่อน รับเงินรางวัล 20,000 บาท  

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม Soi-Aspect แอปพลิเคชันเกมบริหารรายรับรายจ่าย รับเงินรางวัลไป 10,000 บาท และ 

ทีมอันดับที่ได้รางวัลชมเชย คือ ทีม Startosphere แอปพลิเคชันแนะนำการเรียนเพื่อเส้นทางอาชีพในอนาคต และ ทีม Matchy แพลตฟอร์ม networking สำหรับ Startup รับเงินรางวัลไปทีมละ 5,000 บาท

Parkdee

จากปัญหาที่แต่ละคนต้องเจอในการวนหาที่จอดรถในตัวเมือง ทำให้น้องๆ ในทีม Parkdee ต้องการสร้างโซลูชั่นที่ช่วยให้คนขับรถสามารถหาที่จอดได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านฟีเจอร์ค้นหาและสั่งการด้วยเสียง พร้อมบริการ matching ระหว่างผู้ที่มีพื้นที่ว่างในบ้านสำหรับให้เช่าที่จอดรถในระยะสั้นกับผู้ที่กำลังมองหาที่จอดรถ เป็นการช่วยสร้างรายได้และเพิ่มความสะดวกแก่ทั้งสองฝ่าย 

โดยทีม Parkdee  ได้ทำการทดลองตลาด และพิสูจน์ความต้องการของผลิตภัณฑ์ ด้วยการสร้างเพจ Facebook เกี่ยวกับบริการของ Parkdee และยิง Ad รับสมัครผู้ที่ต้องการให้พื้นที่และผู้ที่มองหาที่จอดรถ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก 

ทีม Parkdee กล่าวถึงความรู้สึกและสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp ว่า “ โครงการนี้ถือเป็นกิจกรรมที่เปิดโลกใบใหม่ให้กับเด็กมัธยม ช่วยให้เรามีประสบการณ์ในการทำงานจริง ทดลองสร้างธุรกิจจริงๆ และได้ความรู้เพิ่มขึ้นมหาศาล นอกจากนี้ยังได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ และเรียนรู้การทำงานเป็นทีม โดยในอนาคตหากมีโอกาสก็อยากพัฒนาธุรกิจ Parkdee ให้เกิดขึ้นจริง ”


เรียกได้ว่าเวที AFTERKLASS เป็นอีกหนึ่งเวทีความหวังที่จะช่วยปั้น Startup รุ่นใหม่ ออกสู่ตลาดได้มากขึ้นจริงในอนาคต โดยเป้าหมายหลังจากนี้ของธนาคารกสิกรไทยและ AFTERKLASS ในปี 2564 คือการยกระดับการจัดแคมป์ธุรกิจและการประกวดให้เข้มข้นกว่าเดิม ซึ่งจะมาในรูปแบบทัวร์นาเมนท์ ไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อชิงรางวัลใหญ่ และเฟ้นหาทีมที่จะพัฒนาสู่บริการที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะเริ่มเปิดรับสมัครน้องๆ เข้าร่วมโครงการในเดือนสิงหาคมนี้ สำหรับใครที่สนใจสามารถรอติดตามได้ที่เพจ Techsauce เราจะมาแจ้งข่าวให้ทราบกันอีกครั้ง

นอกจากเวทีแข่งขันแล้ว ทาง AFTERKLASS ยังมีแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ให้ความรู้ในด้านต่างๆ 3 ด้าน ได้แก่ Biz Master สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจการทำธุรกิจ การบริหารเงินทุน Smart Society สำหรับน้องที่สนใจทักษะเกี่ยวกับการเรียน และ Play Yard สำหรับน้องที่สนใจและชื่นชอบการทำกิจกรรม รวมถึงเนื้อหาเชิงไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำเวิร์กชอปให้ความรู้เพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ ตลอดทั้งปี รวมทั้งการจัดแคมป์อบรมทักษะด้านธุรกิจประจำปีอย่างต่อเนื่อง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกในเว็บไซต์กว่า 33,000 คน และมีสมาชิกผ่าน Social Media Platform อื่นๆ อีกกว่า 50,000 คน

สำหรับผู้ที่สนใจในโครงการของ AFTERKLASS สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.afterklass.com

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...