5 ตัวช่วยจาก KBank ช่วยคนขายออนไลน์พบลูกค้า พร้อมบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบ | Techsauce

5 ตัวช่วยจาก KBank ช่วยคนขายออนไลน์พบลูกค้า พร้อมบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบ

การขายออนไลน์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน สถิติทางตัวเลขก็บ่งบอกถึงทิศทางในอนาคตซึ่งธุรกิจขายออนไลน์ยังสามารถเติบโตขยายตัวได้อีกค่อนข้างมาก ตามข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) คาดว่าตลาดการขายออนไลน์ในรูปแบบ B2C ในปี 2561 จะเติบโตขึ้น 17% จากปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการซื้อขายจะอยู่ที่ 949,122 ล้านบาท ซึ่งสำหรับประเทศไทยยังถือว่าเพิ่งอยู่ในจุดเริ่มต้นในการเติบโตเท่านั้นเอง ดังนั้นตลาดการขายออนไลน์จึงเต็มไปด้วยโอกาสอันหอมหวานที่ดึงดูดทั้งผู้ขายรายเล็ก ตั้งแต่นักศึกษา พนักงานออฟฟิศที่ขายออนไลน์เป็นอาชีพเสริม ไปจนถึงรูปแบบของ SME ขนาดเล็ก และเจ้าของทุนใหญ่โดยเฉพาะทุนต่างชาติซึ่งเข้ามาในรูปแบบแพลตฟอร์มขายออนไลน์ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดไปเป็นจำนวนไม่น้อย ธุรกิจขายออนไลน์จึงมีทั้งโอกาสที่เปิดกว้างและคู่แข่งจำนวนมหาศาลในขณะเดียวกัน

สำหรับคนขายออนไลน์และคนอยากขายออนไลน์รายเล็กในปัจจุบันนั้นต้องบอกว่านับวันยิ่งไม่ง่าย อัตราความเร่งในการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีทำให้การแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้นมากขึ้นทุกวัน แต่โดยภาพรวมแล้วคนขายออนไลน์ยังขาดปัจจัยหลายอย่างที่จะช่วยให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจ หรือจะให้ธุรกิจดำเนินไปรอดตลอดรอดฝั่งไปจนถึงการเติบโตอย่างมั่นคง ทั้งในด้านของความรู้ความเข้าใจ และโอกาสในการเข้าถึงเครื่องมือที่จำเป็นที่จะมาช่วยธุรกิจในยุคดิจิทัล บทความนี้จะขอเล่าถึง 5 สิ่งหลักๆ ที่คนขายออนไลน์และคนอยากขายออนไลน์ควรให้ความใส่ใจ เพื่อที่จะให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในยุคดิจิทัล

  1. เงินทุนเพื่อเริ่มต้นหรือเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ หลายๆ คนมีไอเดีย เข้าใจตลาด และมีความตั้งใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจขายออนไลน์ ปัญหาด่านแรกที่แน่นอนว่าต้องเจอคือเรื่องของเงินทุนที่ต้องใช้เพื่อให้ไอเดียสามารถแปรรูปเป็นธุรกิจจริงๆ ได้ หรือหลายธุรกิจที่ดำเนินการมาสักพักก็อาจจะติดปัญหาเรื่องความคล่องตัวของธุรกิจ ทำให้การหล่อเลี้ยงธุรกิจให้ดำเนินไปจนถึงจุดที่สามารถทำกำไรได้เป็นไปได้อย่างยากลำบาก รวมถึงการที่จะลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในอนาคตก็ต้องติดเงื่อนไขของเงินทุนอันจำกัดเช่นกัน ดังนั้นคนขายออนไลน์ควรวางแผนให้ดีว่าจะหาทุนจากไหน ซึ่งที่มาของเงินทุนก็มีหลากหลายช่องทาง หลากหลายเงื่อนไข แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการคิดโมเดลธุรกิจอย่างชัดเจน รู้ว่าลูกค้าคือใคร เข้าใจลูกค้า และมีสิ่งที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หากมีโมเดลธุรกิจที่น่าเชื่อถือว่ามีความสามารถในการทำกำไร ก็น่าจะหาแหล่งเงินทุนได้ไม่ยากนัก
  2. ที่ปรึกษา เครือข่าย และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ การมีสังคมคุณภาพที่สามารถแชร์ความรู้ คำปรึกษา เครื่องมือ ไปจนถึงการร่วมมือกันทางธุรกิจจะสามารถทำให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตไปได้ไกลขึ้นมาก ซึ่งการสร้างเครือข่ายแบบนี้เป็นรูปแบบที่ธุรกิจขนาดใหญ่ต่างใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการขยายธุรกิจ พลังของเครือข่ายนั้นมหาศาล แต่เรากลับไม่พบการสร้างเครือข่ายแบบเดียวกันในธุรกิจขนาดเล็กมากนัก ความเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีทุนและทรัพยากรจำกัด ทำให้บางครั้งเราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างจำกัดด้วยเช่นกัน ซึ่งหากมีพาร์ทเนอร์ที่สามารถช่วยทำในเรื่องที่เราไม่ถนัดก็เท่ากับว่าเราจะมีทางเลือกให้ลูกค้าได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มขึ้นเลย นอกจากนั้นเครือข่ายพาร์ทเนอร์ยังเป็นโอกาสที่ทำให้ได้แชร์ความรู้ หรือเครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อต่อยอดกันและกัน ไปจนถึงโอกาสในการเข้าถึงที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในระดับสูงก็จะช่วยยกระดับมุมมองและวิธีคิดของเราให้กว้างไกลกว่าเดิมได้มาก
  3. การบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ เมื่อธุรกิจเริ่มมีรายได้เข้ามา สิ่งสำคัญคือเราจะบริหารจัดการธุรกิจให้เป็นระบบได้อย่างไร ระบบการจัดการที่ยุ่งเหยิงย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพของธุรกิจไปจนถึงความสามารถในการเติบโต ยกตัวอย่างธุรกิจขายออนไลน์ก็ควรมีระบบจัดการการขาย บริหารสต๊อกสินค้า ระบบขนส่งสินค้า ไปจนถึงระบบบัญชี หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าปัจจุบันนี้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจกันอย่างมาก ที่สำคัญคือไม่เฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่หรือองค์กรเท่านั้นที่มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ มีผู้ให้บริการหลายเจ้ามากๆ ที่เสนอผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจให้กับธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีมากที่ธุรกิจขนาดเล็กจะได้จัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และเป็นการเรียนรู้ที่จะปรับตัวกับเทคโนโลยีซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับโลกอนาคตไปในตัว
  4. ช่องทางในการหาลูกค้าที่เหมาะสม ตามตัวเลขทางสถิติของ ETDA พบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียสูงสุดถึง 40% ผ่านช่องทาง e-marketplace 35% ทั้งโซเชียลมีเดียและ e-marketplace ต่างก็มีแพลทฟอร์มที่หลากหลาย ซึ่งก็ต้องกลับมาคิดอีกทีว่าสินค้าและบริการของเราเหมาะสมกับช่องทางแบบไหน หลายๆ เจ้าขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการหาช่องทางและมักเปิดช่องทางการขายเยอะไปหมดจนตอบแชทลูกค้าไม่ทัน หรือสูญเงินเปล่าประโยชน์ไปกับการลงทุนในช่องทางที่ไม่เหมาะกับธุรกิจของตัวเอง
  5. ระบบการจ่ายเงินที่สะดวก รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ ระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กแต่ส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อทุกธุรกิจไม่น้อย บางเจ้ามีตัวเลขยอดขายสูงแต่กลับเก็บเงินไม่ได้ หรือหลายครั้งการที่ขาดระบบชำระเงินที่สะดวกและง่ายก็เป็นอุปสรรคต่อการปิดการขาย เช่นช่องทางที่ใช้ติดต่อกับลูกค้ากับช่องทางในการชำระเงินแยกออกจากกัน เป็นขั้นตอนการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นซึ่งทำให้ลดโอกาสในการปิดยอดขาย ในยุคที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมคุ้นเคยกับความสะดวกสบายขั้นสุด คนขายออนไลน์ทุกคนก็ควรทำให้การซื้อขายสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยเช่นกัน

KBank ตั้งกลยุทธ์สนับสนุนคนขายออนไลน์ให้เติบโตในยุคดิจิทัล

เนื่องจาก KBank มองเห็นว่ามีจำนวนฐานลูกค้าที่เป็นคนขายออนไลน์อยู่ค่อนข้างมาก และแนวโน้มของตลาด e-Commerce เองก็กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่คนขายออนไลน์จำนวนมากยังประสบปัญหาในการทำธุรกิจ และขาดปัจจัยหลายๆ อย่างที่จะช่วยในการแข่งขันให้สามารถอยู่รอดและเติบโตในยุคดิจิทัล ทาง KBank จึงตั้งกลยุทธ์ “เปลี่ยนให้รู้ใจ ONLINE SELLER” เพื่อเข้ามาช่วยดูแลและสนับสนุนลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีกลยุทธ์ที่สนับสนุนหลายๆ ปัจจัยที่จำเป็นต่อการเติบโตของคนขายออนไลน์ ดังต่อไปนี้

  1. บริการสินเชื่อเอสเอ็มอี เพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจผ่านแอปฯ K PLUS ไม่ต้องมีหลักประกัน ไม่ต้องยื่นเอกสาร สามารถรับสินเชื่อวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาทภายใน 1 นาที รวมถึงสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระยะสั้น

  2. K DIGIBIZ เว็บไซต์ digibiz.kasikornbank.com (เปิดให้บริการตั้งแต่เดือน พ.ย.เป็นต้นไป) แหล่งรวมตัวช่วยการจัดการธุรกิจ เครื่องมือการจัดการการขายไม่ว่าจะเป็นการเก็บ แพ็ค ส่ง ไปจนถึงการจัดการบัญชี พร้อมเป็นแหล่งรวมsolutions ต่างๆที่เหมาะสมกับความต้องการของคนทำธุรกิจออนไลน์

  3. K ONLINESHOP SPACE หรือ KOS ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ฝั่งอิเซตัน แหล่งให้ความรู้และให้คำปรึกษาสำหรับกลุ่มคนทำธุรกิจออนไลน์ โดยจะเป็นพื้นที่ที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่าย และมีการจัดสัมนาความรู้ด้านธุรกิจออนไลน์ ไฮไลต์สำคัญคือเปิดโอกาสให้คนขายออนไลน์และคนอยากขายออนไลน์ทุกคนมีโอกาสได้พบที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ Tech Startup ของ KBank ซึ่งเบื้องต้นมีมากกว่า 20 ราย เช่น LINE@, Grab, Zort, POSvision, JUBILI, ITOPPLUS, Sellsuki, Flow Account เป็นต้น ซึ่งนอกจากความรู้และประสบการณ์ที่พาร์ทเนอร์จะแชร์ให้กับผู้สนใจแล้วยังมีในส่วนของเครื่องมือที่จะช่วยให้คนทำธุรกิจออนไลน์สามารถบริหารจัดการธุรกิจได้ดีขึ้น
  4. K PLUS Market ช่องทาง e-Marketplace Platform บนแอปฯ K PLUS ซึ่งมีฐานลูกค้ากว่า 9.4 ล้านราย
  5. K PLUS SHOP แอปพลิเคชั่นที่จะมาช่วยให้การรับเงินง่าย และมีฟีเจอร์ที่ช่วยด้านบริหารจัดการ เช่น การชำระเงินผ่าน QR Code การเปรียบเทียบราคาค่าขนส่ง ติดตามสถานะการขนส่ง รายงานยอดขาย ในส่วนของการขายออนไลน์ก็จบง่ายด้วย “บิลแมวเขียว” ที่สามารถส่งบิลเรียกเก็บเงินผ่านโซเชียลมีเดีย และบริการ Pay with K+ ที่จะช่วยให้การปิดการขายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมอย่าง Facebook เป็นไปได้ง่ายขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้ทุกธุรกิจหนีไม่พ้นการปรับตัว ที่สำคัญคือความเร็วในการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีอัตราเร่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยศักยภาพของเทคโนโลยี ดังนั้นสำหรับผู้ที่สนใจอยู่ในธุรกิจแห่งอนาคตอย่างการขายออนไลน์เองต้องตระหนักถึงโอกาสและคู่แข่ง ต้องยอมรับความจริงที่ว่าการปรับตัวโดยไม่ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีอาจจะทำให้เสียเปรียบในเรื่องความเร็วและประสิทธิภาพไม่น้อย สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นคือการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยยกระดับการทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเพราะมีผู้ให้บริการที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนว่าจะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นการใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ รวมถึงการใช้พลังของการสร้างเครือข่าย หาพาร์ทเนอร์ และความเข้าใจในธุรกิจ ความต้องการของลูกค้าก็คือหัวใจหลักที่ยังต้องยึดถือไว้ไม่ว่าสิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดก็ตาม

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...