ถอดบทเรียน Kerry Express ความสำเร็จที่ไม่ได้มาเพราะโชค | Techsauce

ถอดบทเรียน Kerry Express ความสำเร็จที่ไม่ได้มาเพราะโชค

ถอดบทเรียน Kerry Express ความสำเร็จที่ไม่ได้มาเพราะโชค

คุณเชื่อหรือไม่ว่า หากไม่มี Kerry Express ธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทยอาจไม่ก้าวกระโดดถึงเพียงนี้ ลองคิดดูว่าหากเราไม่มีผู้ให้บริการ Internet ที่ดี ธุรกิจต่างๆ ในโลกออนไลน์ ก็อาจจะไม่เติบโตอย่างรวดเร็วเพียงนี้ เช่นเดียวกับธุรกิจ Logistics ที่เป็นกุญแจสำคัญในการช่วยเสริมทัพให้ E-Commerce แข็งแกร่ง 


Kerry Express คือใคร?

Kerry Express เป็นบริษัทผู้ให้บริการด้าน Logistics ที่เริ่มต้นขับเคลื่อนและพัฒนาโดยคนไทย ด้วยความเชื่อที่ว่า คนไทยทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการที่ดี ในราคาที่เข้าถึงได้ 


ทำไมถึงกล่าวว่าคนไทยทุกคน?

ย้อนกลับไปในช่วงที่ logistics ไม่รุ่งเรืองเหมือนทุกวันนี้ จุดบริการส่งสินค้า มักกระจุกอยู่ในตัวเมือง ห้างสรรพสินค้า ตามจุดหลักสำคัญ ร้านค้าเล็กๆ อาจเข้าถึงได้ยาก ซึ่ง Kerry Express เห็น Pain Point ของการส่งของในธุรกิจรายเล็กๆ ยกตัวอย่าง แม่ค้าที่ทำธุรกิจขายน้ำพริก ในต่างจังหวัด การส่งสินค้าจะต้องรอให้มีรายการสั่งซื้อมากพอ เพื่อบรรจุสินค้าเต็มคันรถ และขับรถเข้าเมืองมาส่งของ จุดเล็กๆนี้ ทำให้ Kerry ฉุกคิดว่า ในเมื่อแม่ค้าสามารถทำสินค้าได้ดี ธุรกิจนี้ควรมีโอกาสในการขายได้มากกว่านี้ ซึ่งยังได้เจอกับพ่อค้า แม่ค้าในลักษณะนี้อีกมาก

นั่นเป็นหนึ่งในแรงผลักดันสำคัญที่ Kerry Express เดินหน้าขับเคลื่อน Logistics ในประเทศไทยให้แข็งแกร่ง มาย้อนดูกันว่า Kerry สร้าง Ecosystem ของ Logistics ที่แข็งแกร่งจนถึงทุกวันนี้ได้อย่างไร

Kerry Express เริ่มให้บริการใน 2006 ด้วยรูปแบบโมเดลธุรกิจแบบ Business-to-Business (B2B) โดยขนส่งสินค้าภายในกรุงเทพฯ ด้วยคอนเซ็ปต์ถึงมือผู้รับในวันถัดไป (next day) จากนั้นได้พัฒนาธุรกิจสู่รูปแบบ B2C และ C2C ในลำดับถัดมา

การก้าวสู่ E-Commerce ที่ไม่ได้รอให้ตลาดพร้อม แต่เป็นผู้สร้าง

2013 เป็นปีแห่งก้าวย่างสำคัญ เมื่อโลก E-Commerce เริ่มถูกขับเคลื่อนด้วยผู้ขายรายย่อยมากขึ้น รวมถึงกลุ่ม SMEs ที่ไม่มีหน้าร้าน แต่ในเวลานั้นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในรูปแบบ Consumer-to-Consumer (C2C) ยังไม่พร้อมนัก ด้วยความตั้งใจของบริษัทที่ต้องการเพิ่มโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการที่ดีได้ จึงขยายธุรกิจสู่โมเดลแบบ C2C และในปีนี้เองได้มีหน้าร้าน (Branch) เกิดขึ้นสาขาแรกที่อโศกเพื่อรองรับโมเดลดังกล่าว รวบรวมพัสดุในระแวกนั้น  เพื่อนำส่งในวันถัดไป (Next day) ถือมาตรฐานใหม่ด้านบริการของวงการ Logistics ในเวลานั้น นอกจากนี้ยังเป็นรายแรกที่รองรับ Cash-on-Delivery (COD) หรือบริการเก็บเงินปลายทางกับผู้บริโภคทั่วไปอีกด้วย


วิสัยทัศน์การไม่หยุดพัฒนาสิ่งใหม่

ตลอดการดำเนินกิจการ Kerry Express มองหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับลูกค้าเสมอ โดยในปี 2015 ได้ให้บริการขนส่งสินค้าภายในกรุงเทพ และถึงที่หมายในวันเดียวกัน (Sameday) 

ต่อมาในปี  2016 Kerry Express มองว่า การที่ courier ขนส่งสินค้าต้องจัดการเรื่องเงินสดเยอะๆ ระหว่างวันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก ต้องมีการจัดการบริหารที่ดีกว่านี้ ประกอบกับเห็นทิศทางการมาของ Cashless Society จากจีน ทำให้เห็นชัดว่าในอนาคตประเทศไทยก็ต้องการสู่จุดนี้เช่นกัน จึงได้เริ่มพัฒนา E-Payment ร่วมกับ LINE และได้ให้บริการการชำระเงินผ่าน QR Code ในเวลาถัดมา

การคิดอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ

Kerry Express ให้ความสำคัญกับคนตัวเล็ก ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเข้าไปช่วยหาข้อมูลเชิงลึกกับผู้ขายโดยตรงในภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ packaging ให้เหมาะสมกับการขนส่ง อาทิเช่น ผลไม้ ที่แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ก็ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์คุณลักษณะของผลไม้ที่แตกต่างกัน โดยยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า (Value Added) อีกด้วย


ความสำเร็จที่ไม่ได้มาเพราะโชค

ในปี 2019 Kerry  Express สามารถให้บริการขนส่งสินค้า (โดยเฉลี่ย) 1 ล้านพัสดุต่อวัน มีสาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยเพื่อรองรับบริการจากลูกค้าในที่ต่างๆ กว่า 15,000 แห่ง


ความสำเร็จนี้ เห็นได้จากการมีวิสัยทัศน์แห่งการพัฒนาไม่หยุดยั้ง ได้แก่

  1. การริเริ่มมีสาขาหน้าร้าน ทำให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย มีความเชื่อถือในแบรนด์

  2. การพัฒนาแอปพลิเคชัน และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้บริการการขนส่งที่สะดวก ง่าย และดี

  3. เป็นรายแรกที่รองรับ Cash-on-Delivery (COD) 

  4. การเข้าไปช่วยผลักดัน E-Commerce ด้าน Logistics ทำให้ Ecosystem สมบูรณ์

  5. การส่งเสริม Cashless Society

โดยในปีนี้ Kerry Express ได้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering: IPO)


สรุป

หากมองย้อนกลับไป Kerry Express ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับอานิสงค์จากการที่ E-commerce เติบโต แต่คือผู้ผลักดัน E-commerce (โดยเฉพาะ C2C) โดยสร้าง Logistics platform กระตุ้นตลาด สร้าง demand ใหม่ เดิมคนไม่อยากขาย ก็มาขาย คนอยากขายก็ได้ขาย เพิ่มโอกาสการซื้อขายมากขึ้นอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ยังเป็นผู้ที่เป็น First Mover ในทุกๆเรื่อง พร้อมยังยึดมั่นในความเชื่อที่ว่า “คนไทยทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการที่ดีได้ ในราคาที่เข้าถึงได้”


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank x Orbix Technology x StraitsX สาธิตการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยบล็อกเชนที่ SG FinTech Festival 2024

ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับ Orbix Technology และ StraitsX เปิดตัวนวัตกรรมชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย e-Money on Blockchain ในงาน Singapore FinTech Festival 2024 ชูศักยภาพฟินเทคไทยบนเวทีโลก...

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...