กชกร วรอาคม ภูมิสถาปัตยกรรมสู่การออกแบบพื้นที่เมืองเพื่อตอบสนอง ‘The New Normal’ | Techsauce

กชกร วรอาคม ภูมิสถาปัตยกรรมสู่การออกแบบพื้นที่เมืองเพื่อตอบสนอง ‘The New Normal’

เมื่อมาตรการ lockdown ถูกคลี่คลายไป ประชาชนก็เริ่มทยอยออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านกันมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่หลายคนในเมืองหลวงต้องการกันมากหลังจากไม่ได้ออกจากบ้านมานานแรมเดือน คงจะหนีไม่พ้นการออกกำลังกาย และการเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจในสวนสาธารณะรวมอยู่ด้วย การกำหนดวิธีหรือออกแบบการใช้พื้นที่ร่วมกันในเมือง ที่สาธารณะ จึงกลายเป็นคำถามว่าควรจะเป็นอย่างไรต่อจากนี้

ภูมิสถาปนิกหญิงชาวไทย ผู้ที่มีบทบาทต่อ Climate Change ในเวทีโลก

บุคคลที่มีความเข้าใจในประเด็นเรื่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าต้องมีชื่อของกชกร วรอาคม รวมอยู่ด้วย 

กชกร วรอาคม คือภูมิสถาปนิกหญิงชาวไทย ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท Landprocess รวมถึงยังมีบทบาทการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย นักพูด และที่พิเศษไปกว่านั้น กชกรยังเป็นภูมิสถาปนิกหญิงคนไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ติดอันดับ 1 ใน 15 Women Leading the Fight Against Climate Change หรือผู้นำหญิงในด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจากนิตยสาร TIME

เจ้าของผลงานออกแบบสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ ที่ช่วยต่อสู้กับอุทกภัยในพื้นที่เมืองหลวง

ผลงานขึ้นชื่อนั้นก็คือการออกแบบ ‘อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ’ พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งนับว่าเป็นสวนสาธารณะกลางกรุงแห่งใหม่ในรอบ 30 ปี สวนในอุทยาน 100 ปีจุฬาฯไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงภายใต้การออกแบบนั้นซ่อนไปด้วยกลไกในการรับมือกับปริมาณน้ำฝน เพื่อป้องกันน้ำท่วมหรืออุทกภัยรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่เสี่ยงต่อการจมน้ำมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยกชกรและทีมตั้งใจออกแบบสวนแห่งนี้มากๆ ผสานไปด้วยความฝันไวในเด็กที่อยากจะปลูกต้นไม้กลางเมืองคอนกรีต และอยากจะทำให้บ้านเกิดของตัวเอง นั่นคือ ‘กรุงเทพ’ เป็นที่ที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ‘อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ’ ยังได้รับการจัดอันดับจาก Landizer ให้เป็นหนึ่งในสิบโครงการภูมิสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติที่ทรงอิทธิพลในรอบทศวรรษอีกด้วย

ความสำเร็จไม่ได้จบลงในครั้งเดียว

กชกรและทีมได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ จนเกิดการส่งต่อผลงานสวนสาธารณะขนาดใหญ่มากมายทั้งเชิงพื้นที่และเชิงพัฒนาวิถีความเป็นเมือง ตัวอย่างความสำเร็จนั้นประกอบด้วย ‘อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี’ หรือ ‘สวนป๋วย’ ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งสวนป๋วยเป็นสวนผักปลอดสารพิษลอยฟ้า ที่มีการออกแบบใช้ระบบน้ำหมุนเวียนในการปลูกพืช และที่สำคัญ สวนป๋วยยังมีฐานะเป็นฟาร์มบนหลังคาขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ยังมีโครงการความสำเร็จครั้งใหม่ของ Landprocess ที่พร้อมเปิดให้ประชาชนมาใช้บริการในปลายเดือนมิถุนายนนี้ นั่นก็คือ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา โดยพ่วงตำแหน่งเป็น ‘สวนลอยข้ามแม่น้ำแห่งแรกของโลก’ ตอบรับกับวิถีชีวิตการใช้สวนสาธารณะของคนเมือง ที่ต้องการพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยเยียวยาจิตใจในแต่ละวัน

เบื้องหลังทุกความสำเร็จต้องอาศัย 'เวลา' และ 'ความตั้งใจ'

กชกรยังได้กล่าวไว้บนเวที Tedwomen2018 ว่าเธอทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยคำว่า ตั้งใจ คำที่ประกอบด้วย ‘ตั้ง’ ที่หมายความว่ายืนได้อย่างมั่นคง และ ‘ใจ’ ที่หมายถึงการใส่หัวใจลงไปในสิ่งที่เธอทำ โดยมี ‘เวลา’ เป็นเครื่องพิสูจน์ผลลัพธ์และความหมายของงานที่เธอทำด้วยความตั้งใจ

Landscape ที่มีผลกับชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

การออกแบบพื้นที่เมืองไม่เพียงสำคัญแค่ในแง่ของพื้นที่ส่วนตัวสำหรับบุคคลใดบุลคลหนึ่งเท่านั้น 

แต่เป็นการเน้นเรื่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้เป็นพื้นที่ทางสังคมในการใช้ร่วมกันของประชากรเมือง นับว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง และความท้าทายนี้เองที่กำลังกลายเป็น ‘ความปกติใหม่’ ในโลกหลังโควิด


พบกับคุณกชกร วรอาคม ได้ที่งาน Techsauce Virtual Summit 2020 วันที่ 19-20 มิถุนายน

บทบาทในการสร้างพื้นที่เมืองสู่ทางออกของปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยับมาเป็นการออกแบบพื้นที่แห่งโลกอนาคต การใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมจะเป็นอย่างไรในโลกหลังโควิด มาร่วมหาคำตอบไปกับคุณกชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกผู้มากบทบาทและประสบการณ์ในงาน Techsauce Virtual Summit 2020 วันที่ 19 -20 มิถุนายนนี้ ติดตามรายละเอียดงานและซื้อบัตรได้ที่ https://virtualsummit.techsauce.co

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...