บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก | Techsauce

บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก

ผู้นำธุรกิจจะพาองค์กรอยู่รอดและเติบโตในยุค AI อย่างไร ? ที่งาน Techsauce Global Summit 2024 คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมสนทนากับ คุณปริชญ์ รังสิมานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและพาร์ทเนอร์บริษัท Looloo Technology เกี่ยวกับวิธีที่ผู้นำธุรกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทย จะส่งเสริมการใช้งาน AI และยกระดับศักยภาพองค์กร รวมถึงทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคดิจิทัล 

บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก 

เมื่อถามว่าการพัฒนาของ AI ส่งผลต่อบทบาทผู้นำธุรกิจอย่างไร คุณศุภจีชี้ว่ามันมีทั้งความท้าทายและโอกาส ในด้านประโยชน์ AI ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลมหาศาลแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน และนั่นทำให้เราสามารถตัดสินใจ ได้อย่างรอบรู้และทันท่วงทีมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้นำก็ต้องใช้ข้อมูลนั้นอย่างชาญฉลาดและมีความรับผิดชอบ

อีกด้านหนึ่งคือ Human Touch หรือความเป็นมิตร อบอุ่น สิ่งที่ผู้คนต่างโหยหาในยุคเทคโนโลยี คุณศุภจีมองว่าในฐานะผู้นำแล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราต้องทำคือการสร้างความเห็นอกเห็นใจและการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ เช่น ความเข้าใจของเราที่มีต่อทีม ผู้บริหารและพนักงาน เพื่อทำให้แน่ใจว่าเราจะไม่ใช่ข้อมูลที่ได้จาก AI หรือเทคโนโลยีใดๆ มาบงการองค์กร

ผู้นำองค์กรในยุคนี้ยังต้องรับบทนำพาองค์กรรับมือกับความไม่แน่นอน และการเปลี่ยนแปลง นั่นทำให้ความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจเป็นทักษะที่พวกเขาควรมี คุณศุภจีกล่าว

ด้านจริยธรรมก็สำคัญเช่นกัน ในยุคที่ AI สามารถให้ข้อมูลมหาศาลกับเรา การแปลงข้อมูลที่ได้มาเป็นความรู้ และใช้ความรู้นั้นสร้างภูมิปัญญาให้กับองค์กร ผู้นำต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรมรวมถึงความถูกต้องของข้อมูลที่เรานำมาใช้ 

มนุษย์จะโดนแย่งงาน ? 

การพัฒนาของ AI อยู่คู่กับความกังวลเรื่องการแทนที่มนุษย์มาเสมอ โดยเฉพาะการแย่งงาน คุณศุภจีชี้ว่าสำหรับเธอแล้ว ต้องเริ่มจากทำให้แน่ใจว่าทุกคนในองค์กรมีความชัดเจน รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สำคัญ นอกจากความชัดเจนและมาตรฐานแล้วความยืดหยุ่นก็สำคัญเช่นกัน

นอกจากนั้นเราต้องสร้างเสริมพลังให้พนักงานของเราเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ที่เจอได้ เพราะถึงเราจะมีมาตรฐานและกระบวนการที่ดี แต่ไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ จะทำให้สิ่งต่างๆ ยิ่งยากขึ้นไปอีก

การสร้าง Sense of Ownership ให้พนักงานก็สำคัญเช่นกัน เพราะแทนที่เราจะคิดกลยุทธ์คนเดียว คงดีกว่าถ้าให้ทีมงานมีส่วนร่วมด้วย และพร้อมสนับสนุนทิศทางที่บริษัทกำลังมุ่งไป นอกจากนั้น การให้ความสำคัญ กับสิ่งที่พนักงานทำก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าพวกเขาทำได้ดี เราก็ใช้เป็นแบบอย่างได้

เริ่มใช้ AI แบบ ‘Think Big Start Small’

คุณศุภจีมองว่าก่อนองค์กรจะเริ่มใช้ AI หรือสร้างโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ AI ต้องเข้าใจตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาที่เราเจอคืออะไร ? โอกาสของเราคืออะไร ? เป็นต้น ต้องชัดเจนว่าเราต้องการทำอะไรกับสถานการณ์ตรงหน้า ก่อนที่จะดึง AI เข้ามา

เมื่อเข้าใจแล้วก็ต้องมีแผนการที่ดีด้วย เราต้องคิดให้รอบคอบ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทำความเข้าใจว่าองค์กรของเรามีความสามารถแค่ไหน ทีมงานมีทักษะและความสามารถแค่ไหน จากนั้นเราก็ต้องทำความเข้าใจเทรนด์ของอุตสาหกรรม และมองว่าเทคโนโลยีอะไรจะตอบโจทย์ความต้องการหรือปัญหาที่เราต้องแก้ไข

สำหรับคุณศุภจีแล้ว AI เป็นสิ่งใหม่และมีโอกาสดีๆ มากมาย แต่ในความใหม่นี้ก็นำความเสี่ยงมาด้วยเช่นกัน บางทีลูกค้า ผู้บริโภคของเรา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา ซึ่งเรามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก อาจไม่เข้าใจสิ่งที่เราจะทำ เพราะฉะนั้นต้องทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจในเป้าหมายและวิธีการตรงกัน

คุณศุภจีจึงแนะนำองค์กรที่ต้องการใช้ AI ว่า ต้องมีความชัดเจน มองตัวเรา มองไปข้างนอก และมีแผนการที่ชัดเจน และ ‘คิดให้ใหญ่ แต่เริ่มโปรเจกต์เล็กๆ ก่อน’ เราอาจเริ่มจากการทำ Sandbox ลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่ใช่ลูกค้าทั้งหมด เพราะเช่นกันลูกค้าหลายคนอาจไม่ได้เข้าใจในแนวทางใหม่นี้ และเมื่อทดสอบว่าดีแล้ว จึงค่อยขยายฐานการทดสอบกับลูกค้ากลุ่มใหญ่ขึ้น 

เริ่มต้นจากสิ่งที่คุณควบคุมได้ ทั้งจากความเสี่ยง ความเข้าใจ การรับรู้ และเริ่มจากกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการทดสอบ เริ่มต้นด้วยโครงการนำร่อง แล้วจึงค่อยนำไปใช้

ทักษะอะไรต้องมีในยุค AI 

จากผลสำรวจของ Microsoft ที่ทำในปี 2023 พบว่าผู้บริหาร 82% มองว่าพนักงานต้องมีทักษะใหม่ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับ AI โดยทักษะที่มาอันดับหนึ่งนั่นก็คือ Analytical Judement (30%) หรือ การตัดสินใจเชิงวิเคราะห์ รองลงมาคือความยืดหยุ่น (29%) และความฉลาดทางอารมณ์ (27%) 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...