Microsoft เผยสถิติด้าน AI คาดแอปฯ กว่า 50% ในตลาด จะนำ AI มาผนวกเพื่อใช้งานภายในสิ้นปี 2561 นี้ และมองว่าโลกก้าวมาถึงยุคแห่ง ‘Intelligent Cloud’ และ ‘Intelligent Edge’ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมเผยสามปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อน AI ให้แพร่หลาย
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยคุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (Microsoft Thailand) เผยแนวโน้มความเคลื่อนไหวของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ในงาน Azure Summit 2018 "AI is NOW" ว่าถือเป็นการยืนยันถึงมุมมองของไมโครซอฟท์ ที่มองว่าโลกของเราก้าวมาถึงยุคแห่ง ‘Intelligent Cloud’ และ ‘Intelligent Edge’ จะเห็นได้ชัดเจนถึงการถ่ายทอดความสามารถของเทคโนโลยีอันชาญฉลาดจาก Cloud มาสู่ Device ต่างๆ ที่ผู้ใช้ทุกระดับสามารถใช้งานร่วมกันได้ในชีวิตประจำวัน
โดนได้นำข้อมูลจากรายงานวิจัยของ Microsoft และ IDC ที่ทำร่วมกันในปีนี้ ซึ่งได้คาดการณ์ไว้ว่า
ซึ่งทางนายธนวัฒน์ เผยว่า "แนวโน้มความเคลื่อนไหวเหล่านี้ถือเป็นการยืนยันถึงมุมมองของไมโครซอฟท์ที่ว่าโลกของเราก้าวมาถึงยุคแห่ง ‘Intelligent Cloud’ และ ‘Intelligent Edge’ จะเห็นได้ชัดเจนถึงการถ่ายทอดความสามารถของเทคโนโลยีอันชาญฉลาดจาก Cloud มาสู่ Device ต่างๆ ที่ผู้ใช้ทุกระดับสามารถใช้งานร่วมกันได้ในชีวิตประจำวัน"
ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้มุ่งพัฒนาเพื่อเสริมให้ทุกผลิตภัณฑ์และบริการมี AI อัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นในโปรแกรมพื้นฐานอย่าง Word, PowerPoint, Excel ไปจนถึงระบบสำหรับธุรกิจอย่าง Dynamics 365 ซึ่ง Microsoft ระบุว่าบริษัทมีแพลตฟอร์ม AI และ Cloud ที่เปิดกว้าง พร้อมสนับสนุนให้ทุกแนวคิดและจินตนาการของนักพัฒนากลายเป็นความจริง
นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์และบริการจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มต่างๆ แล้ว ความแพร่หลายในการใช้งาน AI ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอีกสามประการ ได้แก่
“ประเด็นด้านความเข้าใจของสังคมที่มีต่อเทคโนโลยี AI ถือเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนอยู่ไม่น้อย” คุณธนวัฒน์กล่าวเสริม “นอกจากแง่มุมด้านเทคโนโลยีแล้ว การใช้งาน AI อย่างแพร่หลายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการวางมาตรฐานที่ชัดเจนในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ความโปร่งใสในการทำงาน และความรับผิดชอบของผู้พัฒนา เป็นต้น โดยการพัฒนา AI จะต้องมีวัตถุประสงค์หลักคือการส่งเสริมให้มนุษย์สามารถทำงานได้ดีขึ้น มากขึ้น หรือทำในสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยเป็นไปได้มาก่อน ไม่ใช่การเข้ามาแทนที่มนุษย์แต่อย่างใด”
ส่วนอีก
ทาง Microsoft ยังระบุว่านับตั้งแต่การรับรองร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR) เมื่อสองปีก่อน Microsoft ได้มอบหมายให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,600 คนลงมือทำงานเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐาน GDPR อย่างเคร่งครัด ทำให้ผลิตภัณฑ์ บริการ และแพลตฟอร์มต่างๆ พร้อมรองรับความต้องการของทุกองค์กรที่ต้องการทำธุรกิจภายใต้กรอบของ GDPR
"GDPR ไม่ได้เกิดแค่ที่ Europe มันขึ้นอยู่กับการทำ Implementation หรือ Enforcement มีมากน้อยแน่ไหน ต้องอบกว่าตอนนี้ยังเป็น Early Stage อยู่ และอยู่ขั้น Debate กันพอสมควร เพราะมี Priority Factor แฝงอยู่ด้วย สมมุติว่าบริษัทนั้นไม่ได้ Compile แล้วคนคนนั้นฟ้อง คราวนี้การ Enforcement มันจะเป็นอย่างไร" คุณธนวัฒน์ กล่าว
"แต่ [GDPR มี] Scope ที่กระทบทั้งหมด ไม่ได้ทำเฉพาะ Transaction ที่เกิดขึ้นแค่เฉพาะในยุโรป แต่วันนี้[GDPR]มีผลทั้งโลกใบนี้ที่เกี่ยวกับทางยุโรป" คุณธนวัฒน์ กล่าว
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังพร้อมที่จะขยายสิทธิพื้นฐานหลักในกฎหมายฉบับนี้ให้กลายเป็นสิทธิของผู้ใช้ทุกคนทั่วโลก โดยผู้ใช้จะได้ทราบถึงข้อมูลที่ไมโครซอฟท์เก็บจากการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของเรา และสามารถแก้ไข ลบ หรือถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดไปจัดเก็บที่อื่นได้โดยอิสระ ฟังก์ชันการตรวจสอบ แก้ไข ลบ และโยกย้ายข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดนี้ สามารถเรียกใช้งานได้ Privacy Dashboard ที่เว็บไซต์ https://account.microsoft.com/privacy/ ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการในการรองรับ GDPR และเครื่องมือช่วยเหลือสำหรับองค์กรที่ต้องการปฏิบัติงานตามกรอบข้อบังคับใหม่นี้ สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.microsoft.com/GDPR/
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด