ปฏิเสธไม่ได้ว่าจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว การระบาดของ COVID-19 การแข่งขันทางธุรกิจที่สูงและอีกหลายปัจจัยทำให้ Digital Transformation เป็นสิ่งสำคัญกับทุกอุตสาหกรรมในยุคนี้ไปแล้ว รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม Food and Beverage Industry (F&B) ที่มีแนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในอุตสาหกรรมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแต่อย่างใด
โดยการทำ Digital Transformation ได้ส่งผลกระทบเชิงบวกกับอุตสาหกรรมในหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น การใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานที่ต้องทำด้วยตนเอง ในงานที่เป็นแกนหลักของธุรกิจ อย่างงานด้านการเงินและทรัพยากรบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำองค์กรสามารถมุ่งเน้นไปกับงานอื่นที่สำคัญกว่าและมีเวลามองหาโอกาสทางธุรกิจที่กว้างขึ้นได้ รวมถึงการใช้และการประยุกต์ใช้อุปกรณ์อัตโนมัติสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถรักษาการปฏิบัติตามข้อกำหนดของธุรกิจนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี และเทคโนโลยีที่ช่วยจัดการข้อมูล ทำให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลขนาดใหญ่มาช่วยเพิ่มโอกาสทางการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการลดความไร้ประสิทธิภาพต่างๆ และช่วยรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ จากการรายงานของ ING พบว่านวัตกรรมทางเทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการผลิตสามารถผลิตอาหารได้มากขึ้นและใช้ระยะเวลาที่สั้นลง ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาลดลงและมีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นนัยสำคัญว่า อนาคตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มได้เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงด้วย Digital Transformation ไปเป็นที่เรียบร้อย
คำพูดว่าจะเปลี่ยน ปรับ หรือการทำ Digital Transformation ต้องเริ่มจากใคร แล้วคุณจะเริ่มอย่างไร? ในบทความที่แล้ว เราได้แนะนำโครงการ Mission X โครงการที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นในการทำ Digital Transformation จากผู้สอนที่มีประสบการณ์จริง บทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึง 4 แกนสำคัญของเทคโนโลยี ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการด้าน F&B สามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจของตนเองได้
เมื่อการเริ่มต้น Digital Transformation ต้องเริ่มต้นจากผู้บริหาร โครงการ Mission X ครั้งแรกจึงได้เชิญผู้บริหารด้าน F&B จากบริษัทต่างๆ มาร่วมเรียนรู้ในหลักสูตรที่มีระยะเวลา 8 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น การเข้าคลาสเรียน 4 ครั้งในสัปดาห์ที่ 1-4 และเข้าสู่ช่วง Private Consultation ในสัปดาห์ที่ 5-7 โดยมีเนื้อหาสำคัญแต่ละช่วง ดังนี้
ในสัปดาห์แรกนี้การเรียนเน้นไปที่ประเด็น Digital Transformation กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ การเข้าใจถึงความสำคัญที่แท้จริงของ Digital Transformation สำหรับธุรกิจ เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับคนและตัวธุรกิจ รวมไปถึงการเริ่มต้นทำ Transformation ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม Key Trend/ Global Trend Case Study โดยจะเล่าถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรม และสิ่งที่จะได้จากการนำเทคโนโลยีมาใช้
เมื่อต้นทุนฉุดรั้งให้ธุรกิจไปต่อได้ยาก การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อัพเกรดกระบวนการทำงาน จึงเป็นทางเลือกสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่อาจมองข้าม เพราะนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนของธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนา Digital Transformation ให้สำเร็จในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญใน 4 กระบวนการดังต่อไปนี้
1. Energy Saving การจัดการด้านพลังงาน เพื่อช่วยลดต้นทุนในอุตสาหกรรม
แนะนำพลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีที่สามารนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ การนำระบบ IoT และ Cloud Computing ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงานในอุตสาหกรรม การพัฒนาระบบ Smart energy building/ factory การจัดการและสร้างประสิทธิภาพให้กับระบบต่างๆ ของโรงงานด้วย Real-time Interface และ BMS
2. Warehouse & Logistics: บทเรียนเกี่ยวกับการจัดการ Warehouse และ Logistics โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้แก่ การจัดการ Warehouse และ Logistics ด้วยระบบ Smart Warehouse รูปแบบต่างๆ การใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมทั้ง Robot และ Cobot ระบบติดตาม AS/RS รวมไปถึง Cloud และอื่นๆ รวมทั้งแนะนำ Smart Logistics รูปแบบใหม่ ทั้งการใช้โดรน หุ่นยนต์สำหรับขนส่ง การจัดการ Big Data ยานยนต์ไฟฟ้า (Autonomous Vehicle) AI และ Blockchain
โดยในการเรียนครั้งนี้หนึ่งในผู้มาให้ความรู้อย่าง คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการ ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ได้ให้ความเห็นว่า
เรื่องเทคโนโลยีด้าน Disrtuption ธุรกิจเราอยู่ในตัวนั้นหรือเปล่า? คือจริงๆ แล้วธุรกิจของเราไม่ได้โดน Disrupt แต่เราที่ Disrupt ตนเอง เพราะเราไม่เปลี่ยน ยังคงอยู่กันแบบเดิมๆ ระบบผลิตยังเป็นแบเดิม ระบบ Logistics ยังเป็นแบบเดิม แต่โลกมันไปแล้ว
3. Yield Optimization: เน้นการผสานเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิต ทั้งการพัฒนาของระบบขั้นตอนการผลิตด้วย Real-time Monitoring และ AI-powered decision การพัฒนาประสิทธิภาพผลผลิต (Yield Optimization) จาก IoT, Cloud, Data lake, 5G และระบบ Digital Twin ไปจนถึงระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าแบบอัตโนมัติ (Automated Quality Check) ที่สามารถทำได้ด้วย IoT, Edge-computer, AI-ready camera และ Smart devices
4. Smart Maintenance: การซ่อมบำรุงของโรงงานอุตสาหกรรมต้องเปลี่ยนไปสู่ระบบอัจฉริยะ คือนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการขั้นตอนต่างๆ ของการซ่อมบบำรุง ตั้งแต่การวิเคราะห์คาดการณ์การเสียหายหรือการผิดพลาดของเครื่องจักรและแผนการซ่อมบำรุงแบบอัตโนมัติ (Machine failure forecasing and automated maintenance plan) ซึ่งสามารถทำได้ด้วยระบบ Real-time monitoring และการวิเคราะห์ Spectrum นอกจากนี้ ยังต้องมีการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์สำหรับเครื่องจักรที่จะส่งผลเสียสูงต่อระบบด้วยระบบ Digital Twin เป็นต้น
สัปดาห์ที่ 4 ซึ่งเป็นคลาสเรียนสุดท้ายของโครงการ ผู้บริหารจะได้ทำความเข้าใจเรื่อง Data as a Skeleton of Tech-Transformation โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงความสำคัญของ Data และการตั้ง Data Team พร้อมสร้างความเข้าใจในการประเมินปัญหาทางเทคนิค ความสามารถทางเทคนิค และการจัดทํา Roadmap เพื่อแก้ปัญหา และช่วยให้บริษัทบรรลุ KPI โดยมี 2 บทเรียนสำคัญคือ
Information as the Main Driving Force of Transformation: ประเด็นของ Data และวัฒนธรรมของการทำ Digital Tranformation ซึ่งแบ่งเป็น บทเรียนย่อย ได้แก่
Transformation through New Data Team Structure: ในบทเรียนนี้จะลงลึกในประเด็นของ Data Team ที่เป็นอีกหนึ่งคีย์สำคัญของการทำ Digital Transformation โดยมีการแบ่งบทเรียนออกเป็น 2 Sessions ดังนี้
ทั้งนี้ยังมี Workshop Session หรือ กิจกรรม Workshop เรื่องการจัดการ Data โดยจะมีการร่วมกันทำ Tech Capability Mapping และจะมีการพูดคุยวิเคราะห์ความซับซ้อนและผลกระทบของ Use Case ที่เกิดขึ้น
หลังจากเสร็จสิ้นการเรียนในคลาสมาแล้ว ในสัปดาห์ที่ 5-7 นี้ผู้เข้าร่วมและทีมงานทุกท่านจะได้ร่วมกันลงมือพัฒนา Blueprint แผนพัฒนาธุรกิจของท่านเองร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ โดยจะมีการให้คําปรึกษาเจาะลึกแบบ one-on-one โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการระบุปัญหา การนําเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาแก้ปัญหา การจัดการปัญหาจาก Technology Transformation โดยทีมที่รับผิดชอบดูแลในส่วนนี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยตรง เพื่อช่วยกําหนดเป้าหมายและหาโซลูชั่นที่ท่านต้องการ พร้อมทั้งช่วยประเมินความซับซ้อนและผลลัพธ์ในแต่ละ โซลูชั่น เพื่อช่วยคัดเลือกแนวทาง ที่จะทดลองและวางแผนกลยุทธ์สําหรับโซลูชั่นอื่นๆ ซึ่งสุดท้ายจะช่วยสรุปแผนพัฒนา แผนการลงทุนและผลตอบแทน สำหรับลูกค้าที่สนใจในแผนการลงทุนทางธนาคารมีข้อเสนอที่สนับสนุนเงินทุนด้วยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
ในส่วนสัปดาห์สุดท้ายนี้ผู้เข้าร่วมทุกท่านจะได้ไปเยี่ยมชมและเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นสูงที่ สถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC และ จบท้ายด้วยการ ตอกย้ำ Digital Transfomation จะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากผู้บริหาร ในห้วข้อ “Leadership Mindset” จากวิทยากรคุณธนา เธียรอัจฉริยะ ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่ ธนาคารไทยพาณิชย จํากัด (มหาชน) เพื่อนำไปพัฒนา Mindset ขององค์กร เพราะ Mindset เป็นอีกส่วนสำคัญในการช่วยให้ Digital Transformation นั้นสำเร็จ
หลักสูตรนี้ยังมีผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญระดับแถวหน้าจากองค์กรต่างๆเข้ามาร่วมให้ความรู้ โดยมีภารกิจเดียวกันคือช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย เข้าใจในเรื่องของ Digital Transformation และสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจได้ โดยตัวอย่างของผู้สอนได้แก่
โครงการ Mission X นี้สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคาร หากลูกค้ามีความสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ผู้จัดการดูแลความสัมพันธ์ธุรกิจของท่าน หรือ อีเมล ที่ [email protected]
บทความนี้เป็น Branded content
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด