หน้าจอนี่นี้ใครครอง? ส่อง Netflix และ iFlix ใครจะเป็นผู้ครองตลาด Southeast Asia | Techsauce

หน้าจอนี่นี้ใครครอง? ส่อง Netflix และ iFlix ใครจะเป็นผู้ครองตลาด Southeast Asia

บทความนี้ต้นฉบับมาจาก ecommenceIQ โดย Techsauce เห็นว่าประเด็นของ Streaming Video ที่กำลัง Disrupt ธุรกิจภาพยนตร์อยู่ในขณะนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจ จึงขอหยิบยกมาแปลและเรียบเรียง กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาไม่เว้นแต่ละวันเปลี่ยนแปลงโลกไปทุกวงการ รวมถึงธุรกิจสื่อบันเทิง แม้ผู้คนจะยังนิยมดูหนังฟังเพลงเหมือนเดิม แต่ช่องทางการเข้าถึงทั้งเพลงและภาพยนตร์ที่พัฒนาขึ้น ก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่อย่าง Streaming Provider หรือผู้ให้บริการภาพยนตร์บนออนไลน์นั่นเอง

หากเจาะลึกลงอีกนิด ในทุกวันนี้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา พวกเขายิ่งต้องการข้อมูลตามความต้องการของตัวเองมากขึ้นบนอุปกรณ์ของตัวเองอย่างสมาร์ทโฟน นั่นทำให้ผู้ให้บริการภาพยนตร์ออนไลน์แบบตามความต้องการ หรือ Streaming Video-on-demand อย่าง Netflix และ iFlix ถูกจับตามองอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในตลาดภูมิภาค Southeast Asia ที่ยังมีหน้าจอว่างรอดูหนังออนไลน์อีกมากมาย

ถอดรหัสโอกาสเติบโตของ Streaming Video-on-demand

แม้จะนำเสนอความบันเทิงบนจอเหมือนกับโทรทัศน์ แต่ความพิเศษของ Streaming Video-on-demand อยู่ที่ผู้ชมสามารถเลือกภาพยนตร์เรื่องที่มีอยู่ได้ทุกที่ทุกเวลา ยิ่งเมื่อดูแนวโน้มพฤติกรรมผู้ใช้งานในปัจจุบันที่หันมาใช้งานชมวิดีโอบนสมาร์ทโฟนมากขึ้นทั่วโลก ทำให้โอกาสที่ผู้ให้บริการเหล่านี้จะเติบโตก็ยิ่งสดใสขึ้น

ปัจจุบันตลาด Streaming Video-on-demand มีมูลค่าทั่วโลกรวมกันมากกว่า 5,160 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าในปี 2022 จะโตขึ้นเป็น 8,610 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดใหญ่ของธุรกิจนี้อยู่ที่อเมริกาเหนือ

แต่หากเจาะรายละเอียดลึกขึ้น จะพบว่าภูมิภาคที่เติบโตสูงสุดคือเอเชียแปซิฟิก โดยมีอัตราผู้ชมวิดีโอบนสมาร์ทโฟนในช่วงปี 2015-2017 เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

เหตุที่จำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นสืบเนื่องมาจากระบบอินเทอร์เน็ตทั้ง Broadband และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือพัฒนามากขึ้น แม้ว่าภูมิภาคนี้ปัญหาเรื่อง DVD ผิดลิขสิทธิ์ แต่ตอนนี้คงไม่มีใครจะซื้อเครื่องเล่น DVD กันแล้ว จึงเป็นโอกาสของบรรดาผู้ให้บริการสตรีมมิ่งทั้งหลายที่จะบุกตลาดเอเชียแปซิฟิกอย่างจริงจัง

เข้าใจผู้ชม รุกคืบเพื่อเป็นหนึ่งในเอเชีย

หากให้เปรียบมวยผู้ให้บริการชมภาพยนตร์ออนไลน์ในเอเชีย คงต้องเป็น iFlix บริษัทสตาร์ทอัพจากประเทศมาเลเซียซึ่งทำรายได้ในเอเชียกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับ Netflix ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์เบอร์ต้น ๆ ของโลกที่กำลังก้าวเข้ามาบุกตลาดเอเชียอย่างจริงจังในเวลานี้

แม้ว่าจะให้บริการแบบเดียวกัน แต่ CEO ของ iFlix อย่าง Mark Britt ชี้ว่ากลุ่มลูกค้าของพวกเขากับ Netflix ต่างกัน โดย iFlix จะเน้นจับตลาดผู้ชมจำนวนมากหรือ Mass Market โดยมีราคาถูกดึงดูดใจตกเดือนละ 30 บาทในไทย ส่วน Netflix จะมุ่งไปยังกลุ่มผู้ใช้ระดับสูงทั่วโลก ด้วยเนื้อหาที่สร้างเฉพาะและคุณภาพของภาพยนตร์ในระดับ HD ขึ้นไป ส่วนราคาจะสูงกว่าพอสมควรโดยเริ่มต้นที่เดือนละ 280 บาท

แต่ปัจจัยที่ส่งผลไม่น้อยไปกว่ารูปแบบเนื้อหาที่นำเสนอ คือวิธีการชำระค่าบริการ กลุ่มผู้ชมส่วนมากในเอเชียยังไม่นิยมใช้บัตรเครดิต ทำให้ Netflix ซึ่งวางระบบชำระจากบัตรเครดิตเป็นหลักต้องเปลี่ยนกลยุทธ ส่วน iFlix ที่อยู่ในตลาดเอเชียมาก่อนก็เตรียมพร้อมเรื่องนี้มาตั้งแต่แรก ด้วยการร่วมมือกับธนาคารและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

ไม่เพียงเท่านี้ กลยุทธของ iFlix ยังคิดเพื่อตอบโจทย์ปัญหาการใช้งานในกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง ทั้งปล่อยให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาไว้รับชมภายหลังได้ แก้ไขปัญหาอินเทอร์เน็ตช้าจนไม่พอใช้งานรับชม ในขณะที่ Netflix ซึ่งเน้นเนื้อหาคุณภาพสูงกว่าก็จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตที่เสถียรกว่า การเข้าถึงจึงยากกว่าอย่างเลี่ยงไม่ได้

แล้วผู้ชมคาดหวังอะไร?

จากการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้โดย ecommenceIQ พบประเด็นน่าสนใจมากมายที่ทำให้การแข่งขันครั้งนี้เข้มข้นยิ่งขึ้น

  1. วิธีการจ่ายเงิน: แม้ว่าในประเทศอาเซียนจะมีผู้ถือบัตรเครดิตไม่มากนัก แต่ประเด็นด้านทางเลือกการจ่ายเงินไม่นับเป็นเหตุผลที่คนส่วนใหญ่มองกัน โดยมีแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ที่มองมุมนี้เป็นหลัก
  2. ราคา : จากการสำรวจมีผู้ใช้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะเลือกผู้ให้บริการจากราคาต่อเดือน
  3. ด้านเนื้อหาและการใช้งานที่มีผล:  ผู้ชมเลือกยังมองการเก็บเนื้อหาแบบออฟไลน์ได้เป็นหลัก ตามมาด้วยการเข้าถึงภาพยนตร์และสารคดีจากทางตะวันตก เนื้อหาต้นตำรับของผู้ให้บริการแต่ละราย และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน

สุดท้ายแล้ว ใครจะครองตลาด Southeast Asia

เมื่อเจาะลงในประเทศที่มีประชากรจำนวนมากอย่างฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย การสำรวจพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ทฟิลิปปินส์ได้ลงทะเบียน Netflix สูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ใช้ที่ลงทะเบียนกับ iFlix คิดเป็น 39 เปอร์เซ็นต์ ในอินโดนีเซีย มีผู้ใช้บริการ iFlix มากกว่า Netflix แต่ความต้องการแท้จริงอาจยังประเมินไม่ได้ เนื่องจาก Netflix เพิ่งได้รับอนุญาตกลับมาให้บริการในอินโดนีเซียได้ไม่นาน หลังจากถูกสั่งแบนเนื้อหาไปนานนับปี

จากข้อมูลที่สำรวจไป สรุปว่าผู้ใช้บริการในภูมิภาคอาเซียนสามารถจ่ายเงินเพื่อเสพเนื้อหาระดับพรีเมียมได้หากต้องการจริง ๆ เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดี

นั่นแม้ว่า iFlix จะปูพื้นฐานไว้อย่างแข็งแรง แต่ก็ไม่ใช่ว่า Netflix จะหมดโอกาสเสียทีเดียว โดยเฉพาะ Netflix ที่วางตำแหน่งตัวเองในระดับพรีเมียม มีภาพยนตร์และซีรีส์ที่อำนวยการสร้างเองที่มีเสียงตอบรับดี ส่งให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเหมือนวลีว่า “Netflix and chill” จะเริ่มติดปากคนเอเชียบ้างแล้วจริง ๆ 

iFlix จะแก้เกมเพื่อรักษาตำแหน่งใน Southeast Asia หรือ Netflix จะใช้กระแสความนิยมซัดให้คู่แข่งจมหายไปจนหมด ก็ต้องติดตามกันต่อไป

แปลเรียบเรียงเนื้อหาจาก ecommerceIQ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...