คนไทยจะอยู่อย่างไรกับการระบาดระลอกใหม่? คำแนะนำบนความไม่แน่นอน | Techsauce

คนไทยจะอยู่อย่างไรกับการระบาดระลอกใหม่? คำแนะนำบนความไม่แน่นอน

หลายเดือนที่ผ่านมา สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยอยู่ในจังหวะที่ดีขึ้น ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจกำลังค่อยๆ ฟื้นตัว การระบาดระลอกใหม่ก็กลับมาอีกครั้ง 


Techsauce จัด LIVE หัวข้อ "COVID-19 ทางออกคนไทยกับการระบาดครั้งใหม่" ซึ่งรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาให้ความเห็นกับการระบาดระลอกใหม่ในมุมต่างๆ ตั้งแต่ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษา พวกเขาจะมีความเห็นอย่างไร และจะเตรียมรับมือกับวิกฤตครั้งใหม่อย่างไรบ้าง?   

ใน episode แรก Techsauce ได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI มาบอกเล่าถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การเตรียมพร้อมรับมือการระบาดครั้งใหม่ รวมถึงทิศทางเศรษฐกิจของไทยหลังจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายต่างกำลังจับตามอง

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาด COVID-19 ระลอกใหม่

คาดการณ์ว่า การแพร่ระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาซบเซาอีกครั้ง แต่อาจไม่รุนแรง และยาวนานเท่าการแพร่ระบาดครั้งก่อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่ระบาดจากภาครัฐ ว่าจะสามารถ เข้าควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีเพียงใด

หากเปรียบเทียบจากการแพร่ระบาดครั้งก่อน รัฐบาลสามารถรับมือและออกมาตรการในการควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่า เนื่องจากการเข้าควบคุมพื้นที่เสี่ยงอย่างจังหวัดสมุทรสาคร ได้ทันท่วงที ทำให้โอกาสในการแพร่กระจายของเชื้อไปยังภูมิภาคอื่นลดลง ประกอบกับสังคมไทยตื่นตัวต่อการป้องกันการแพร่ระบาดมากขึ้น เป็นผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ครั้งนี้ อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมมากนัก

อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากังวล คือ ปัญหาการลักลอบเข้าประเทศของแรงงานต่างด้าว อาจส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดภายใน ประเทศย่ำแย่ลง ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการใช้แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ที่สะท้อนให้เห็นถึงมาตรการของภาครัฐที่ไม่รัดกุม ทำให้เกิดการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศเมียนมาร์ ที่มีอัตราการติดเชื้อสูงเข้ามาใน ประเทศ โดยไม่ได้รับการตรวจสอบหาเชื้อและกักตัวในสถานที่กักตัวของรัฐ ท้ายที่สุด เชื้อที่มาพร้อมกับแรงงานต่างด้าว ทำให้เกิด การแพร่ระบาดภายในประเทศอีกครั้ง

ความท้าทายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ ความสามารถในการตรวจหาเชื้อต่อวัน ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนแรงงานต่างด้าวนับแสนคน ที่รอเข้ารับการตรวจ อาจต้องใช้ระยะเวลาสักระยะ กว่าจะตรวจจนครบ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องหาวิธีจัดการแก้ไขต่อไป

ภาครัฐควรออกนโยบายและมาตรการเยียวยากลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างไร?

จากการแพร่ระบาดครั้งก่อน ภาครัฐ ได้ออกนโยบายและมาตรการมากมาย ที่มีจุดประสงค์ในการเยียวยากลุ่มผู้ใช้แรงงานและ ผู้มีรายได้น้อย ไม่ว่าจะเป็นการประกันการว่างงาน หรือการชดเชยเงิน 5,000 บาท 3 เดือน ที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญ คือ รัฐยังไม่รู้จักคนไทยดีพอ ฐานข้อมูลที่รัฐใช้ในการกำหนดสิทธิ ผู้ได้รับสวัสดิการ ยังไม่ครอบคลุมถึงคนที่ควรได้รับสิทธิจริง เป็นผลให้มีคนอีกจำนวนไม่น้อย ยังไม่ได้รับสวัสดิการใดๆจากภาครัฐ

ดังนั้น นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จึงได้เสนอแนวทางในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ COVID-19 โดยรวมฐานข้อมูลเป็นคนไทยทั้งหมดก่อน จากนั้นจึงแยกกลุ่มคนที่ไม่จำเป็นต้องได้รับสวัสดิการออกไป เช่น กลุ่มคนที่มีรายได้สูงเกินกำหนด เป็นต้น แม้ว่าวิธีการเช่นนี้ อาจทำให้กลุ่มคนบางส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบ ได้รับสวัสดิการ จากภาครัฐติดไปบ้าง แต่รับประกันได้ว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบและสมควรได้รับความช่วยเหลือ จะสามารถเข้าถึงสวัสดิการจาก ภาครัฐทุกคน

‘ล็อคดาวน์’ มาตรการที่ควรคงไว้ หรือ ผ่อนปรน

หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถคาดเดาและควบคุมได้ การผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์ ในการเดินทาง ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ทางธุรกิจ หรือการท่องเที่ยว จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศฟื้นตัวเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากบทเรียนที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า ความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดของไทย ยังไม่เพียงพอต่อการ อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าประเทศได้อย่างปลอดภัย ยกตัวอย่าง กรณีบุคคลในคณะทหารสัญชาติอียิปต์ ที่ได้รับอภิสิทธิ์เดินทาง เข้าประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเชื้อและกักตัว แต่ภายหลังกลับพบเชื้อ COVID-19 ทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างหนัก การผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์ระหว่างประเทศ จึงเป็นมาตรการที่สมควรคงไว้ก่อน เพราะ ถ้าหากเกิดการระบาด ทั่วประเทศอีกครั้ง ผู้ประกอบการจะสูญเสียรายได้จากการใช้จ่ายภายในประเทศ และธุรกิจจะเข้าขั้นวิกฤตในที่สุด

หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ เขามีมาตรการล็อคดาวน์ที่ต่างออกไป เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปลอดภัย สิงคโปร์ได้เปลี่ยน ท่าอากาศยานนานาชาติชางงี เป็นสถานที่พบปะของเหล่านักธุรกิจ ทั่วโลกเพื่อการเจรจาทางธุรกิจ โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น จะอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่รัดกุมและ ถูกจำกัดภายในท่าอากาศยานเท่านั้น หากมาตรการเหล่านี้ พิสูจน์ได้ว่า สามารถควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ได้ในระยะยาว จะเป็นผลให้ประชาชนเกิดความเชื่อใจ และสนับสนุนให้รัฐบาลพิจารณาเดินหน้าขั้นตอนต่อไป

อะไรเป็นสิ่ง Do and Don’t ณ ขณะนี้

สำหรับผู้กำหนดนโยบาย สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด ณ ขณะนี้ คือ การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยข้อมูล ที่เป็นข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่า จะสามารถนำพาประเทศก้าวผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ แต่ถ้าหาก ผู้กำหนดนโยบาย เลือกที่จะสื่อสารกับประชาชนด้วยอารมณ์ จะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและวิตกกังวลต่อสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น นอกจากนั้น ผู้กำหนดนโยบาย ควรเตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยอาศัยอดีต เป็นบทเรียน การผิดพลาดในครั้งแรก อาจเป็นเรื่องที่ให้อภัยได้ แต่การผิดพลาดในครั้งต่อไป อาจก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว

สำหรับภาคธุรกิจ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด ขณะนี้ คือ ความยืดหยุ่นในการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ธุรกิจ อยู่รอดได้ในภาวะคับขันเช่นนี้ นอกจากนี้องค์กรธุรกิจ จำเป็นต้องรักษาสภาพคล่องขององค์กรไว้ เพื่อรองรับกับเหตุการณ์ ไม่คาดผันที่อาจเกิดได้ตลอดเวลา และเมื่อมั่นใจว่า ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้แล้ว ควรหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่จะมาพร้อมกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 หากประเทศไทย สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีและได้รับวัคซีนที่รวดเร็ว จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

โดยสรุป เศรษฐกิจโดยภาพรวมของไทยจะฟื้นตัวอย่างแน่นอน ในปี 2564 หากรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เริ่มทยอยฉีดวัคซีนในช่วงกลางปีหน้า จะทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มทยอย กลับมาบางส่วน คาดการณ์ว่า ปลายปี 64 จำนวนนักท่องเที่ยวจะสามารถฟื้นตัวได้ประมาณ 40-50% ดังนั้น ปีหน้า ตัวเลขทาง เศรษฐกิจจะกลับสู่แดนบวก และจะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ

สำหรับใครที่พลาด LIVE ในครั้งนี้ ท่านสามารถรับชมวิดีโอย้อนหลังได้  ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...