ย้อนดู Timeline Omise ผู้พัฒนา OmiseGO (OMG) ระดมทุนผ่าน ICO รายแรกของไทย | Techsauce

ย้อนดู Timeline Omise ผู้พัฒนา OmiseGO (OMG) ระดมทุนผ่าน ICO รายแรกของไทย

ในช่วงที่การะดมทุนแบบ ICO กำลังคึกคักมีข่าวรายงานแทบทุกวัน ว่าเป็นอนาคตใหม่ของการระดมทุนสำหรับเหล่าบรรดา Startup ที่พัฒนาด้าน Blockchain บ้างก็มองมุมของการเก็งกำไรลงทุน และมีช่าวกีดกันจากรัฐฯหลายๆ ประเทศ ในบ้านเรามี Startup ที่ไประดมทุนในรูปแบบนี้สำเร็จ และกำลังอยู่ช่วงพัฒนาโครงการนั่นคือบริษัท Omise FinTech แม้เราจะเคยนำเสนอข่าวของบริษัทนี้อยู่หลายครั้ง แต่ยังไม่ได้รวบรวม Timeline เด็ดๆ มาไว้ในบทความเดียวกันเพื่อทำความรู้จักกับผู้พัฒนา OmiseGO กันให้มากขึ้น

2013 - Omise ก่อตั้งขึ้นโดย Jun Hasegawa ชาวญี่ปุ่น และ ดอน-อิศราดร หะริณสุต ซึ่งเป็นเพื่อนกันมานานครั้งที่ดอนยังอยู่ที่ญี่ปุ่น ก่อนมาเป็นระบบ Payment Gateway ดังเช่นทุกวันนี้ ไอเดียแรกของ Omise คือการเป็นเว็บไซต์ด้านอีคอมเมิร์ซมาก่อน เน้นด้าน UX/UI ให้ดี แต่เมื่อทำไปกลับมองเห็นว่าหนึ่งใน Pain Point ใหญ่คือการเชื่อมต่อกับ Payment Gateway ที่ยังไม่ตอบโจทย์ด้านประสบการณ์ใช้งาน สุดท้ายผันมาทำด้าน Payment Gateway แทน และมีนักลงทุนรายแรกๆ คือ Angel Investor ที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง ต๊อบ เถ้าแก่น้อย

สิงหาคม 2014 - ได้รับทุนสนับสนุนระดับ  Seed ที่ 300,000 เหรียญฯ จาก East Ventures

พฤษภาคม 2015 - เป็นการะดมทุนก้าวสำคัญของ Omise เมื่อได้รับเงินสนับสนุนระดับ Series A ที่ 2.6M โดยมี Strategic Investor อย่าง Sinar Mas Indonesia ที่ช่วย Omise เข้าไปเปิดตลาดในอินโดนีเซียได้ , Ascend Capital บริษัทในเครือ CP Group และยังมีนักลงทุนอื่นๆ ที่ตามมาร่วมด้วยอย่าง 500 Startups, East Ventures ที่ลงซ้ำอีกครั้ง

ตุลาคม 2015 - ภายในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ระดมทุนต่อระดับ Series B จาก Golden Gate Ventures เลย แม้ไม่ได้รับการเปิดเผยตัวเลขชัดเจนแต่ได้ยินว่าสูงถึงเลข 7 หลัก (เหรียญสหรัฐฯ)

กรกฎาคม 2016 - ครั้งนี้เป็นรอบใหญ่สะเทือนวงการ Startup ไทยในเวลานั้นเมื่อ Omise ระดมทุนรอบใหม่กับตัวเงินที่สูงถึง 17.5 ล้านเหรียญฯ นับเป็น FinTech Startup ที่ได้รับเงินทุนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลานั้นเลยทีเดียว การลงทุนครั้งนี้นำโดย SBI Asset Management ซึ่งเป็นนักลงทุนด้าน FinTech รายใหญ่สุดรายหนึ่งของเอเชีย ร่วมด้วยนักลงทุนกลุ่มเดิมคือ Ascend, Golden Gate Ventures และ SMDV

มิถุนายน 2017 - แตก line ธุรกิจใหม่ นำเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ พัฒนาบริการอยู่บน Ethereum อีกที  เปิดตัวระดมทุนผ่านทาง ICO ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ภายใต้ชื่อ OmiseGo เครือข่ายที่เข้ามาแก้ปัญหาเรื่อง ค่าธรรมเนียมที่สูง, และการทำธุรกรรมการเงินที่ต้องใช้เวลาพอสมควร โดย OmiseGO มาพร้อมแนวคิดสามารถแลกเปลี่ยนเงินหรืออะไรก็ตามที่มีมูลค่า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางอย่างธนาคาร (Unbank the Banked) โดย OmiseGo จะใช้ token ที่ชื่อ OMG (ที่ใครหลายๆ คนกำลังเทรดกันอยู่นั่นแหล่ะ) เป็น Cryptocurrency ของเครือข่ายนี้

OmiseGo สามารถระดมทุนไปได้สูงถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมี Vitalik Buterin Founder แห่ง Ethereum มานั่งเป็นที่ปรึกษาอีกด้วย

นับเป็น Startup ไทยรายแรกที่ระดมทุนบน ICO และยังได้รับเงินทุนมหาศาลเลยทีเดียว ข่าวของเหรียญ OMG นั้นราคาพุ่งมาเรื่อยๆ แบบก้าวกระโดดช่วงปลายเดือนกรกฎาคม

กรกฎาคม 2017 - Omise เข้าซื้อกิจการ Payment Gateway ในตำนานของไทยอย่าง Paysbuy จาก dtac

สิงหาคม 2017 - ติดตั้งระบบ FacePay ให้กับกระทรวงการคลังเป็นหนึ่งในประเภท GovTech ที่น่าจับตา และทำให้ราคาของ Omise กระโดดสูงขึ้นไปอีกครั้ง

สำหรับตอนนี้ (11 กันยายน) ใครที่เทรดเหรียญ OMG อยู่ราคาในตลาดจะยังคงทรงๆ ตัวขึ้นๆ ลงๆ ไม่มากนัก ถ้าไม่นับช่วงที่ทุกสกุลร่วงไปหนักๆ เมื่อต้นเดือน กันยา เพราะจีนประกาศแบน ICO แต่ขณะเดียวกันก็มีคนไล่ช้อนเสียเยอะ บางทีก็กระโดดขึ้นบ้างเวลาเจอผู้ร่วมก่อตั้งไปถ่ายรูปกับใครเข้า :)

การระดมทุนในรูปแบบของ ICO ของ Startup หลายรายนั้นมาจากการนำเสนอไอเดียที่น่าสนใจ และสามารถเชิญชวนให้คนมาลงทุนได้ โดยดูจากความสามารถของทีมงานที่ผ่านมา และที่ปรึกษาด้วย โดย Omise ถือเป็นทีมที่ได้รับการจับตาเป็นอย่างมาก จากสถิติ Timeline ต่างๆ ที่เกริ่นมาก่อนหน้านี้ อีกทั้งเป้าหมายการสร้าง Crytocurrency ของ Omise นั้น ถ้าเกิดขึ้นได้จริง เรียกว่าเปลี่ยนแปลงวงการการเงินในปัจจุบันไปไม่น้อย

งานนี้ต้องดูกันยาวๆ  Milestone ถัดไปไม่ใกล้ไม่ไกลนี้ช่วงไตรมาสที่ 4 หลังจาก Product OmiseGo เปิดตัวเข้าสู่ตลาด ราคา OMG จะเป็นเช่นไร ห้ามพลาดเลยทีเดียว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...