Ordinals โปรเจคที่ทำให้สร้าง NFT บน Bitcoin ได้ และอาจจะมาฆ่า Ethereum | Techsauce

Ordinals โปรเจคที่ทำให้สร้าง NFT บน Bitcoin ได้ และอาจจะมาฆ่า Ethereum

2021 คือปีของ NFTs บน Ethereum สังเกตุได้จากกระแสการใช้งานที่โด่งดังไปในทุกวงการและมูลค่าของเม็ดเงินการลงทุนที่ไหลเข้าไปในกระแสครั้งนั้น โดยช่วงนั้น NFT ชิ้นที่แพงที่สุดถูกซื้อไปด้วยมูลค่าสูงถึง 69.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ยอดการซื้อ NFTs รายสัปดาห์ตลอดปี 2021 (ไม่รวมการซื้อที่เกิดขึ้นนอกเชน)

แต่ปี 2023 เป็นปีที่ NFTs บนบิตคอยน์กำลังเป็นกระแสและเป็นที่พูดถึงในวงกว้างสำหรับบิทคอยเนอร์กันเองรวมไปถึงนักลงทุนสายเก็งกำไรก็เริ่มเข้ามาลงทุนและใช้งาน Ordinals ซึ่งเป็นโปรเจคที่ทำให้เราสามารถฝังข้อมูลลงบนหน่วยย่อยของบิตคอยน์ (Satoshi) ได้แบบ native on-chain โดยไม่ต้องพึ่งพา sidechain ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝังรูป ข้อความ หรือวิดีโอก็สามารถทำได้

แล้ว Ordinals คืออะไร? ทำไมถึงอาจจะมาแย่งตลาด NFT ของ Ethereum หรือเชนอื่นๆ ได้ แล้วบิทคอยเนอร์คิดอย่างไรกันบ้างเกี่ยวกับการมาของ NFT บนบิตคอยน์ ติดตามได้ในบทความนี้

NFTs บทบิตคอยน์ (Ordinals) ทำงานอย่างไร

ก่อนที่เราจะเข้าใจขั้นตอนการทำงานของ Ordinals เราต้องมาทำความรู้จักหน่วยย่อของบิตคอยน์กันก่อน ซึ่งก็คือ “ซาโตชิ” (ตั้งชื่อตามนามแฝงของผู้สร้างบิตคอยน์) โดยใน 1 BTC จะสามารถแยกทศนิยมย่อยลงไปได้ถึง 0.0000000001 ซึ่งเท่ากับ 1 Satoshi พูดง่ายๆ คือ 

1 BTC = 100,000,000 SAT 

โดยปกติแล้วในแต่ละ Satoshi ก็จะใช้โอนได้เหมือนๆ กันไม่มีอะไรแตกต่างกัน (ทั้งนี้บิทคอยน์ยังมีปัญหาเรื่อง fungible อยู่เพราะความโปร่งใสทำให้สามารถตรวจสอบประวัติและแยกตัวตนของธุรกรรมนั้นๆ ได้) แต่หลังจากการอัพเกรด Segregated Witness (SegWit) และ Taproot ของบิตคอยน์ทำให้บล็อคมีขนาดใหญ่ขึ้นรองรับปริมาณธุรกรรมได้มากขึ้นและเราสามารถใส่ข้อมูลอย่างอื่นเข้าไปในธุรกรรมได้ จนในที่สุดก็มีโปรเจค Ordinals เกิดขึ้นและต่อยอดฟีเจอร์ของการอัพเกรดบิตคอยน์ในครั้งนั้น

ประวัติศาตร์ของ NFT บนบิตคอยน์

Ordinals เปรียบเสมือนการที่เราแปะบาร์โค้ดหรือนับลำดับเลขให้กับ Satoshi ทำให้ Satoshi นั้นๆ มีความแตกต่างจาก Satoshi ทั่วไป (Non-fungible) จากนั้นจึงทำการฝังข้อมูล (ภาพ ข้อความ วิดีโอ) ลงในบล็อคเชนของบิตคอยน์ผ่านขั้นตอนที่เรียกว่า Inscription และ Satoshi กับข้อมูล Inscription ก็จะผูกกัน ทำให้เรียกได้ว่าเป็น NFTs บทบิตคอยน์ก็ว่าได้ เปรียบเสมือนการที่เราเขียนลงบนธนบัตร ทำให้ธนบัตรใบนั้นๆ แตกต่างจากใบอื่นแต่ก็ยังคงใช้ซื้อจ่ายได้ตามปกติ เช่นเดียวกับ Satoshi ที่มีการ Inscribe รูปภาพหรืองานศิลปะจะยังคงโอนใช้จ่ายได้ตามปกติ

Ethereum’s NFTs vs Bitcoin’s Digital Artifacts

การฝังข้อมูลลงบนบล็อคเชนมีมานานแล้ว โดยยุคแรกๆ จะเป็นการฝังข้อมูลตัวอักษรหรือข้อความ เช่น การฝังข้อความโดยผู้สร้างบิตคอยน์ลงใน Genesis Block หรือบล็อคแรกของบิตคอยน์ในปี 2009 หรือการฝังเนื้อเพลง Never Gonna Give You Up ของ Rick Astley ผ่านฟังก์ชัน OP_RETURN ในปี 2013 และอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าบิตคอยน์ได้รับการอัพเกรดจนสามารถฝังข้อมูลที่ใหญ่กว่าข้อความปกติลงไปได้อย่างรูปภาพด้วยต้นทุนที่ถูกลง

ธุรกรรมที่มีการฝังข้อมูลโดยซาโตชิ เรียกว่า Genesis Block

ข้อแตกต่างหลักๆ ของ NFTs บน Ethereum และ BTC คือ ข้อมูลรูปภาพหรือวิดีโอที่ฝังนั้นไม่ได้ฝังลงบนเซิฟเวอร์ที่อื่น แต่ฝังลงบนบล็อคเชนของบิตคอยน์เลย (ทำให้ลบไม่ได้) ต่างจาก Ethereum ที่มีการสร้าง Token เพื่อโยงไปสู่เนื้อหาที่อยู่ในเซิฟเวอร์ที่อื่น (ไม่ได้อยู่บนบล็อคเชนของ Ethereum) ทำให้ NFTs สามารถแก้ไข ดัดแปลง ลบทิ้ง รวมไปถึงถูกแบนได้

หลักการทำงานของ NFT บน Ethereum / Source: Mercari

ประเด็นเหล่านี้ทำให้ Casey Rodarmor ผู้สร้างโปรเจค Ordinals มองว่า Inscription คือ Digital Artifacts ซึ่งเป็นสิ่งที่ NFTs ควรจะเป็น เพราะ Digital Artifacts เป็นงานศิลปะหรือของสะสมในรูปแบบดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้และฝังอยู่ในประวัติศาตร์ของบล็อคเชนบิตคอยน์ที่มีความกระจายศูนย์ ไร้การควบคุม ไร้การเซ็นเซอร์

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้เราเห็นถึงกระแสการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นถึง 300 เท่า รวมไปถึงการดึงผู้คนจาก NFTs คอมมูนิตี้ในเชนต่างๆ ให้เข้ามาอยู่บนบิตคอยน์ด้วย เพราะเห็นว่ามีข้อได้เปรียบที่มากกว่า สร้างคุณค่าได้มากกว่า แม้ว่าจะต้องแลกกับความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหรือการรับส่วนแบ่ง (royalty) ก็ตาม

Source: Messari

เหรียญมีสองด้านเสมอ

ข้อดีคือการใช้งานของเครือข่ายบิตคอยน์เพิ่มมากขึ้น ทำให้นักขุดได้รายได้เพิ่มขึ้นจากการขุดบิตคอยน์ และการเข้ามาของนักพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นทำให้บิตคอยน์แข็งแกร่งขึ้นและถือเป็นการทดสอบการใช้งานไปในตัว

ในขณะเดียวกันการแห่เข้ามาใช้งาน NFTs บทบิตคอยน์ก็จะทำให้ธุรกรรมเกิดความแออัดจากการทำธุรกรรม Ordinals ที่มีขนาดใหญ่และแย่งกันอัดค่าธรรมเนียม ทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปที่แค่อยากจะโอนบิตคอยน์จำเป็นต้องยอมจ่ายแพงขึ้นหรือจ่ายเท่าเดิมแต่แลกกับการรอให้ธุรกรรมถูกยืนยันนานมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวบิตคอยน์บางคนมองว่าเป็นการโจมตีบิตคอยน์และผู้ใช้งาน ผ่านการนำข้อมูลที่ไม่จำเป็นมาใส่บนบล็อคเชน

ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มสูงขึ้นจาก Inscription / Source: Glassnode

ข้อดีข้อเสียเหล่านี้ทำให้เกิดความเห็นต่างกันในชุมชนของบิตคอยน์ รวมไปถึงความเป็นไปได้ในตลาดขาขึ้นครั้งต่อไปที่จะมีการโยกย้ายจากบล็อคเชนเจ้าอื่นๆ อย่าง Ethereum ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวบิตคอยน์และชาวคริปโต เนื่องจากเดิมทีแล้วบิตคอยน์มุ่งเน้นที่จะเป็น A Peer-to-Peer Electronic Cash System และเป็น Store Of Value แต่ในขณะเดียวกันความไร้ศูนย์และไร้การควบคุมก็ทำให้เกิด NFTs บทบิตคอยน์ได้ ประเด็นนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือดว่าจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อบิตคอยน์

สุดท้ายแล้วบิตคอยน์จะเป็นผู้กินรวบทุกด้านหรือไม่ โปรเจค NFTs ต่างๆ จะย้ายมาอยู่บทบิตคอยน์มากแค่ไหน หรือเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นเพียงแค่กระแสชั่วคราว ก็คงต้องจับตาดูการเติบโตของทั้งสองบล็อคเชนยักษ์ใหญ่ต่อไป เพราะทางฝั่ง Ethereum และผองเพื่อน (Layer2, ZK) ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

อ้างอิงข้อมูล

Forbes

OrdinalsDocs

Decrypt

Medium

Reuters

Glassnode

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก LLMs’ Explainability การเข้าใจกลไกสมอง AI หนึ่งใน Tech Trends 2025 ที่จะมาเปลี่ยนโลกเอไอ

เจาะลึกเบื้องหลัง Large Language Models (LLMs) และเทคโนโลยี LLMs’ Explainability ที่ช่วยเปิดเผยกระบวนการทำงานของ AI จากกล่องดำสู่ความโปร่งใส ความก้าวหน้าที่เปลี่ยนโลก AI ในอนาคต!...

Responsive image

รู้จัก AI Product Management สายงานที่ Andrew Ng ชี้มาแรง

สำรวจบทบาท AI Product Management และเหตุผลที่ Andrew Ng ยกให้เป็นตำแหน่งสำคัญในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ AI ตั้งแต่การพัฒนาแนวคิดจนถึงการนำไปใช้งานจริง...

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...