เตรียมรับแรงกระแทกกับ Cashless Society | Techsauce

เตรียมรับแรงกระแทกกับ Cashless Society

เฮโหลวววววว พี่ทุยขอสวัสดีเพื่อชาว Techsauce ทุกคนอีกครั้งนึงนะ มออออออว์

ต้องยอมรับว่าเดี๋ยวนี้ระบบ E-Payment ต่างๆได้ถูกพัฒนาออกมากันมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเยอะ เมื่อก่อนพี่ทุยสังเกตเวลาที่เราอยากได้อะไรก็ต้องไปเดินชอปปิงที่ห้างสรรพสินค้ากันเป็นส่วนใหญ่ แล้วพอมีช่วงนึงที่มีการซื้อขายออนไลน์กันแรกๆ พี่ทุยยังจำได้เลยว่าการโอนเงินไปให้ผู้ขายก่อนเป็นอะไรที่ไม่สบายใจมากๆ เพราะเราชินกับการที่ยื่นเงินและได้รับของทันทีที่ห้างสรรพสินค้ากันมากกว่า

แต่เดี๋ยวนี้เชื่อว่าการโอนเงินก่อนหรือการจ่ายเงินก่อนแล้วรอสินค้ามาส่งที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลายๆครั้งเวลาที่อยากได้อะไรก็เอาห้างสรรพสินค้าเป็นโชว์รูมสินค้าแทน ดูเสร็จ ลองใส่เสร็จ เปรียบเทียบเสร็จ ก็กลับมาสั่งออนไลน์เพราะราคาถูกกว่า แถมยังมีโปรโมชั่นเยอะกว่าด้วย

ปัจจุบันเรื่องเกี่ยวกับ "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" ก็ถูกพูดถึงมากขึ้น เพราะถ้าเราลองสังเกตกันทุกวันนี้จริงๆ เราจะเห็นว่าเราใช้ "เงินสด" กันน้อยลงมากๆ เมื่อก่อนขับรถขึ้นทางด่วนจ่ายเงินสดกัน เดี๋ยวนี้มี Easy Pass เข้ามาช่วยทำให้เราไม่ต้องต่อคิวยาว สบายขึ้นเยอะ หรือตอนไปร้านอาหาร เดี๋ยวนี้ร้านไหนไม่รับบัตรเครดิตแทบจะมองค้อนพนักงานไป 1 ทีเพราะเป็นเรื่องที่แปลกมาก แล้วพี่ทุยก็เชื่อว่าอีกว่าไม่นานร้านค้าทั่วๆ ไปก็จะจ่ายเงินกันด้วยระบบ E-Payment เนี้ยแหละ สแกน QR Code ก็จ่ายเงินกันได้ง่ายๆแล้ว เมื่อก่อนอาจจะดูเป็นไปไม่ได้ แต่ระบบหลายๆ อย่างทำออกมารองรับสังคมไร้เงินสดได้ดีจริงๆ แม้กระทั่งรัฐบาลก็ยังมีการปรับตัวออกพร้อมเพย์มาให้เราได้ใช้งานกัน

พี่ทุยมองว่า "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" เนี้ยเป็นอะไรที่น่าสนใจ หลายๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าเงินสดไม่ว่าจะเป็นเหรียญหรือธนบัตรที่เราใช้ มีค่าบริหารจัดการเงินสดในระบบด้วย ค่าพิมพ์ธนบัตร ปั๊มเหรียญ แล้วไหนจะเรียกเก็บธนบัตรเก่าอีก ซึ่งพี่ทุยบอกได้เลยว่าไม่น้อยเหมือนกัน การที่เราจะกลายเป็น "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" จะช่วยทำให้เศรษฐกิจมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เศรษฐกิจก็สามารถหมุนต่อได้อีก เมื่อมีการใช้จ่ายมากขึ้นรัฐบาลก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น

แล้วเมื่อเราพูดถึงภาษี "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" จะเข้ามาสนับสนุนระบบจัดเก็บภาษีได้ดีมากๆ จะทำให้การจัดเก็บจะเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น พี่ทุยมองไปถึงว่าในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องมาคอยยื่นภาษีตอนต้นปีทุกปี แต่เราอาจจะมีหน้าที่แค่ตรวจสอบว่าเราจ่ายภาษีครบหรือถูกเรียกเก็บเกินหรือเปล่าเท่านั้น เพราะทุกอย่างสรรพากรจะสามารถตรวจสอบติดตามได้หมดเลย

แต่แน่นอนว่าเหรียญยังมีสองด้าน ไม่มีอะไรที่มีแต่ข้อดีแล้วไม่มีข้อเสียเลย พี่ทุยมองว่า "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" อย่างแรกที่ต้องสร้างความมั่นใจให้กับทุกคนให้ได้ก็คือเรื่องความปลอดภัยของระบบ ถ้าสามารถสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยที่เป็นจุดกังวลหลักๆ ของ "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" ก็น่าจะมีแรงต้านที่น้อยลง

และข้อเสียหรือข้อที่น่าเป็นห่วงก็คือ จากที่พี่ทุยบอกข้อดีไปว่า "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" จะช่วยทำให้คนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อันนี้พี่ทุยมองเป็นเหมือนดาบสองคม การใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ดี แต่นั่นแปลว่าจะทำให้คนมีเงินออมที่น้อยลงกันด้วย จากเดิมที่ตอนนี้ก็มีปัญหาเรื่องเงินออม แก่ตัวไปไม่มีเงินใช้กันอยู่พอสมควร ณ ปัจจุบัน พี่ทุยเลยคิดว่าเรื่องนี้ภาครัฐอาจจะต้องวางแผนเรื่องการออมเงินให้ดีกว่านี้ เพราะแผนการออมเงินที่ดีที่สุดก็คือการบังคับออมเงินเนี้ยแหละ อาจจะต้องลองไปศึกษางานที่สิงค์โปร์ว่า CPF (Central Provident Fund) ของเค้าเป็นอย่างไร แล้วทำไมถึงขึ้นชื่อว่าเป็นระบบการออมที่ดีที่สุดในโลกตัวนึง

สุดท้ายยังไงพี่ทุยก็ยังเห็นด้วยเรื่อง "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" อยู่ดี เชื่อว่าพอเริ่มจริงๆ อาจจะเกิดปัญหาได้ แต่ยังไงก็จะสามารถเรียนรู้และผ่านมันไปได้ เพราะดูๆแล้วก็มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ส่วนข้อเสียก็ดูจะเป็นเรื่องที่แก้ไขได้อยู่แล้ว ถ้าเราทำธุรกิจกระแสเรื่อง "สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)" จะพลิกโฉมระบบการเงินไปเลยทีเดียว ต้องติดตามให้ดีนะ มออออออว์


พี่ทุย Money Buffalo : ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Money Buffalo ชอบเล่าเรื่องการเงินการลงทุนให้ กลายเป็นเรื่องง่ายๆ อ่านสบาย ใครๆ ก็เข้าใจ www.moneybuffalo.in.th


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...