ยุคของเทคโนโลยีควอนตัมไม่ใช่แค่อนาคตอีกต่อไป มันคือ “สนามแข่งที่กำลังเริ่มต้น” และแต่ละประเทศต่างเร่งสร้างแต้มต่อด้านนี้เพื่อหวังเป็นผู้นำในยุคใหม่ ซึ่งควอนตัมหลายแขนงต่างก็เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพเปลี่ยนโลกในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การแพทย์ การเงิน พลังงาน โลจิสติกส์ ความมั่นคงทางไซเบอร์ และแม้กระทั่งกีฬา
ซึ่งการเข้าร่วมงาน GITEX Asia 2025 ที่จะจัดขึ้นในประเทศสิงคโปร์ Techsauce ได้เห็นว่าเวทีสำคัญในงานกลายเป็นจุดรวมพลสำคัญของผู้นำเทคโนโลยีจากทั่วโลก โดยเฉพาะในประเด็น “Quantum Technology” ที่กำลังเป็นเวทีแข่งขันระดับชาติอย่างเงียบๆ แต่เข้มข้นมากๆ
เทคโนโลยีควอนตัมไม่ใช่แค่การสร้าง “คอมพิวเตอร์เร็วๆ” แต่หมายถึงการเปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ใหม่ในหลากหลายด้าน เช่น:
ประเทศที่สามารถเป็น “First Mover” หรือผู้เล่นรายแรกในสนามนี้ จะมีข้อได้เปรียบในการครองตลาด ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา และสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่ยั่งยืน
แต่ละประเทศมองเกมนี้อย่างไร ?
ออสเตรเลีย: จากห้องแล็บสู่ภาคธุรกิจ
ดร. Cathy Foley อดีตหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลีย กล่าวว่า จุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีควอนตัมคือการเปลี่ยนจากงานวิจัยในห้องแล็บสู่ตลาดจริง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนักวิจัยจำนวนมากยังขาดทักษะหรือวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ รัฐบาลจึงต้องสร้าง “สะพานเชื่อม” เช่น โครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพ การให้ทุนระยะยาว (patient capital) และการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมควอนตัมที่เชื่อมโยงมหาวิทยาลัย อุตสาหกรรม และรัฐเข้าด้วยกัน
ออสเตรเลียมีจุดเริ่มจากงานวิจัยเชิงลึก ก่อนจะก้าวสู่การมี “อุตสาหกรรมควอนตัม” จริงจัง โดยเน้นการเปลี่ยนจากนักฟิสิกส์สู่นักธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น โครงการ ON ที่ช่วยพัฒนานักวิจัยให้เป็นสตาร์ทอัพ โดยการเปลี่ยนจากงานตีพิมพ์เป็น MVP สำหรับนักลงทุน
ออสเตรเลียที่ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพควอนตัมกว่า 50 บริษัทเพิ่มขึ้นจากเพียง 2 บริษัทในปี 2016
เกาหลีใต้: พลังอุตสาหกรรมดั้งเดิม + ควอนตัม
Brad Kim ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายควอนตัม MegazoneCloud และสมาชิกคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมควอนตัมแห่งเกาหลี (KQIA) เน้นว่า แม้ในภาคอุตสาหกรรมจะยังอยู่ในช่วงของการระวังความเสี่ยงจากควอนตัม แต่รัฐบาลเกาหลีกำลังส่งเสริมการแปรรูปงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม เช่น เซมิคอนดักเตอร์ วัสดุ และอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โมเดลจากบริษัทที่ประสบความสำเร็จในอดีต
สิงคโปร์: สร้างระบบนิเวศครบวงจร
Prof. José Ignacio Latorre ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวว่า สิงคโปร์ไม่เน้นแค่เงินทุน แต่ให้ความสำคัญกับกลไกความร่วมมือทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ สิงคโปร์เลือกสนับสนุนควอนตัมทั้งในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ พร้อมระบบ funding ที่ชัดเจนและยืดหยุ่นสำหรับการจับมือกับบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นกลยุทธ์ “ไปด้วยกัน” ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพหรือองค์กรใหญ่ เช่น การตั้ง Quantum Hub ที่เปิดกว้างให้สตาร์ทอัพจากทั่วโลกเข้ามาร่วมพัฒนาและทดสอบ
ญี่ปุ่น: ใช้กลยุทธ์พันธมิตรระดับโลก
Hiromori ประธานกลุ่มการทำงานพันธมิตรของ Q-STAR ชี้ว่า ญี่ปุ่นมุ่งเน้นไปที่การสร้างพันธมิตรระหว่างเอกชนและรัฐ เช่น การสร้าง use case ร่วมกับ Toshiba และสตาร์ทอัพ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนา Ecosystem ควอนตัมที่เชื่อมต่อทั่วโลก
ช่องว่างระหว่างห้องแล็บกับตลาด
การขาดบุคลากรที่มีทักษะควอนตัม
แรงกดดันทางภูมิรัฐศาสตร์
ทุกคนต่างเห็นพ้องว่า “ความสามารถของคน” คือสิ่งที่สำคัญที่สุด เงินทุนหรือโครงสร้างพื้นฐานสามารถมีได้ในทุกประเทศ แต่หากไม่มีบุคลากรที่เข้าใจเทคโนโลยีและสามารถปรับตัวได้ ก็ยากที่จะนำหน้าคู่แข่ง ในขณะที่บางคนก็ชี้ว่า "Governance" หรือการบริหารจัดการที่มีวิสัยทัศน์และมีระบบ เป็นกุญแจสำคัญของประเทศที่ต้องการเป็นผู้นำในโลกควอนตัม
ข้อมูลจาก Session: Opening Panel | The Global Quantum Race: How Countries Are Preparing for the Next Technological Revolution จากงาน GITEX ASIA 2025 Singapore
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด