ผลสำรวจ Adoption of RPA in Asia-Myth or Reality? ของ PwC ที่ผ่านมาคาดการณ์ว่า ระบบอัตโนมัติจะถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานต่างๆ มากกว่า 45% และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทั่วโลกได้มากถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราวกว่า 65 ล้านล้านบาท โดยประเมินตลาด RPA ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะมีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านบาทในปี 2021 (เติบโต 203%) ข้อมูลเหล่านี้ตอกย้ำให้เห็นถึงกระแสดิจิทัลดิสรัปชั่นที่ยังคงถาโถมองค์กรธุรกิจทุกหย่อมหญ้า
สำหรับประเทศไทยในปีนี้มีองค์กรธุรกิจรายใหญ่ ๆ หลายรายเดินหน้าประกาศกลยุทธ์และพัฒนาบริการใหม่ ๆ เปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ “ความเป็นดิจิทัลอย่างเต็มตัว” ซึ่งได้สร้างกระแสการตื่นตัวให้กับธุรกิจรายอื่น ๆ ที่ยังมีความกังวลและกำลังวางแผนปรับใช้ระบบอัตโนมัติกันอยู่
บันไดขั้นแรกของการเปลี่ยนผ่านองค์กรธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัลคือ การนำกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation หรือ RPA) มาปรับใช้ในงานที่ทำเป็นประจำ หรืองาน routine เช่น งานเอกสารต่าง ๆ ที่องค์กรสามารถเซ็ตระบบอัตโนมัติเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยลดเวลาและภาระต้นทุนต่าง ๆ ได้
ส่วนบันไดขั้นต่อ ๆ ไปของการเปลี่ยนผ่านในระดับที่ 2 คือ กระบวนการประมวลผลอัจฉริยะแบบอัตโนมัติ (Intelligent Process Automation: IPA) และระดับที่ 3 คือ กระบวนการรับรู้และเข้าใจแบบอัตโนมัติ (Cognitive Automation: CA)
สำหรับ Robotic Process Automation หรือตัวย่อ RPA คือ ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมากและงานประเภทที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซึ่งระบบ RPA จะเข้าไปจัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อมูลขั้นพื้นฐาน เช่น เอกสารพวกใบวางบิล ใบกำกับสินค้า รวมไปถึงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการตรวจสอบการบันทึกต่าง ๆ เป็นต้น
ประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากกระบวนการ RPA
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของโซลูชั่น RPA ที่ตอบโจทย์งานเอกสารดิจิทัลสำหรับองค์กร ได้แก่
นอกจากการปรับใช้กระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติที่ล้ำสมัยแล้ว ผู้บริหารองค์กรสามารถวิเคราะห์ ออกแบบและวางแผนล่วงหน้า หรืออาจปรึกษาบริษัทผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยจัดการนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพงานที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็แบ่งเบาภาระงานที่เคยใช้แรงงานมนุษย์ในการปฏิบัติการเป็นหลัก เพื่อให้มนุษย์ทำงานที่สำคัญกว่าเดิม
บริษัทที่ควรนำระบบอัตโนมัติ RPA เข้ามาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรอย่างเช่น บริษัทที่กำลังเผชิญกับปัญหาของระบบงานหลังบ้านที่มีปริมาณธุรกรรมมากมายมหาศาลในรูปแบบเดิม ๆ ทุก ๆ เดือน มีต้นทุนจากการจ้างแรงงานจากภายนอกอีกหลายร้อยคน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด