เก็บตกบรรยากาศงาน SB2021 ASIA PACIFIC แบรนด์จะเพิ่มคุณค่าและสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้สำเร็จได้อย่างไร | Techsauce

เก็บตกบรรยากาศงาน SB2021 ASIA PACIFIC แบรนด์จะเพิ่มคุณค่าและสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้สำเร็จได้อย่างไร

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบแทบจะทุกภาคส่วนของชีวิต ความไม่แน่นอนเช่นนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่คนในสังคมต้องช่วยกันสร้างสร้างสังคมที่ยั่งยืน และยืดหยุ่นได้ในโลกหลังจากนี้ ถึงเวลาแล้วที่แบรนด์จะตั้งเป้าหมาย และวิธีการดำเนินการ อันจะนำไปสู่การปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าของอนาคตร่วมกัน จึงเป็นที่มาของงาน SB2021 ASIA PACIFIC จัดขึ้นในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักคิด นักพัฒนา ได้มาแบ่งปันพัฒนาการล่าสุดของธุรกิจที่ยั่งยืน ไปจนถึงร่วมมือกันแก้ปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นอีกการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้นำธุรกิจรุ่นใหม่

SB2021 Asia Pacific

โดย SB เป็นการประชุมสัมมนาด้านความยั่งยืนของแบรนด์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด จัดมาแล้วกว่า 10 ปีในเมืองชั้นนำทั่วโลก ครั้งนี้ งานได้ถูกจัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด ในรูปแบบ On ground ที่เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น และได้มีการถ่ายทอดแบบ Virtual พร้อมกัน 4 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย และไทย 

งานครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Regenerative Brands. Better Future. เน้นการปรับตัวของธุรกิจเพื่อก้าวสู่มิติใหม่ ที่จะนำพาทุกคนไปสู่อนาคตที่ดีกว่า โดยได้รับเกียรติจากผู้นำทางความคิดระดับโลกมากมาย อาทิ KoAnn Vikoren ผู้เป็น Founder/ CEO Sustainable Brands Worldwide, Mark Buckley (UN SDG Advocate), Thomas Kolster (Goodvertising) ได้มาบรรยายในหัวข้อ Brand Transformation Roadmap, Brands for Good+, Circular Economy, Local Economy โดยประเทศไทย เป็นประเทศเดียวที่ได้มีการจัดเวิร์คช็อป ในเรื่อง Circular Economy เน้นเรื่อง From Food Waste To Future Worth และใน Local Economy จะเน้นเรื่อง How Brand Can Add Values to The Local Development

สำหรับกิจกรรมในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ในช่วงเช้า ได้มีการบรรยาย Live streaming session หัวข้อ “Local Economy” โดย ดร.ศิริกุล เลากัยกุล Director of Sustainable Brands Thailand ตัวแทนจาก Impact Collective ได้มาแบ่งปัน ว่าทำไมการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืนจึงสำคัญ

ดร.ศิริกุล  ได้เน้นย้ำว่า ชุนนั้นคือพื้นฐานของการพัฒนาของทุกสิ่ง โดยเป้าหมายของการจัดงานในครั้งนี้คือการพัฒนาเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง ไปจนถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชน การสร้างเศรษฐกิจชมชนให้สำเร็จ จะช่วยผลักดันสินค้าและบริการของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างความเคลื่อนไหวในเชิงบวกให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น

โดย 3 กุญแจสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้สำเร็จ ได้แก่ การมีคอนเซปต์ (Concept) ในการที่จะแชร์ไอเดีย คุณค่า ในการผลักดันให้แต่ละภาคส่วนเดินหน้าไปด้วยกัน การกำหนดความสามารถ (Competence) ทักษะที่ต้องมีคืออะไร และทักษะไหนบ้างที่ต้องทำการ reskill  ไปจนถึงการสร้างคอนเนคชั่น (Connection) โดยทั้งหมดจะสำเร็จไม่ได้ หากขาดสามบุคคลสำคัญ ได้แก่ นักคิด (Thinkers) นักลงมือทำ (Makers) และเทรดเดอร์ (Traders)

“ภัยอันตรายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจในท้องถิ่นไม่ใช่โลกาภิวัตน์ แต่เป็นการถอยเข้าสู่การโดดเดี่ยว และการป้องกันตัวเองจากภายนอก วิธีที่ดีที่สุดสำหรับเศรษฐกิจท้องถิ่นในการเติบโตคือ การเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก ซึ่งทั้งสองจำเป็นต้องเสริมซึ่งกันและกัน”

“เศรษฐกิจท้องถิ่นก็เหมือนต้นไม้เล็กๆ ที่มีรากที่แข็งแรงซึ่งต้องรวมกันสร้างป่าใหญ่ ในการที่จะล้มแล้วลุกได้อย่างรวดเร็ว ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนหลากหลายภาคส่วนเข้ามาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” ดร.ศิริกุล กล่าว

ปิดท้ายด้วยเวิร์คช็อป “How Brand Can Add Values to The Local Development” การเรียนรู้การสร้างแบรนด์ให้กับคนในชุมชนตลาดพลู โดยผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยตัวแทนจากหลายหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) สถาบันอาศรมศิลป์ ไปจนถึงคนจากชุมชนตลาดพลู ได้มาเรียนรู้ความเป็นมาของตลาดพลู การช่วยกันสร้างความแข็งแรงให้ local community การ empower ชุมชน การสร้าง awareness และ recognition ทำอย่างไรให้คนรู้จัก การสร้างความรู้ ทำให้คนเห็นคนแตกต่างจากสถานที่อื่น การมี positioning การสร้างสร้างอัตลักษณ์ การสร้าง Place management การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ไปจนถึง คุณภาพชีวิตของคนที่มาเยี่ยมชม และการอนุรักษณ์ 

สำหรับรายละเอียดงานเพิ่มเติม สามารถเข้าไปติดตามได้ที่ Facebook page SustainableBrandsBangkok

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องจุดเด่นดิจิทัล โซลูชันของ WHAUP ระบบบริการสาธารณูปโภคและพลังงานอัจฉริยะ

ทำความรู้จักโซลูชันบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ แนวคิดการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและพลังงานแห่งอนาคต ภายใต้ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP บริษ...

Responsive image

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover : เลือกตั้งสหรัฐฯ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย รุกสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ไทย และความท้าทายสำคัญสำหรับทั้...

Responsive image

เผยแนวโน้มและผลกระทบของ AI ผ่านมุมมองของนักวิจัยชั้นนำแห่ง MIT Media Lab “พีพี-ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร”

เทคโนโลยี AI ส่งผลดีหรือผลเสียต่อมนุษย์? เจาะลึกมุมมองที่เกี่ยวกับแนวโน้มและผลกระทบจาก AI ไปกับดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร (พีพี) นักวิจัยไทยแห่ง MIT Media Lab และ KBTG Fellow ที่จะมาแบ่งแ...