Sea (Thailand) เผยเทรนด์ E-Commerce 2019 พร้อมชี้ทิศทางอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตที่ต้องจับตา | Techsauce

Sea (Thailand) เผยเทรนด์ E-Commerce 2019 พร้อมชี้ทิศทางอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตที่ต้องจับตา

มีการคาดการณ์ว่าในช่วงปลายปี 2018 ระบบเศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีค่ากว่า 72 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะมีค่ามากกว่า 240 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 (40 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้า) Sea (ประเทศไทย) ชี้ถึงเทรนด์ที่น่าสนใจที่จะเข้ามาในภาคอุตสาหกรรมนี้ว่า E-Commerce เป็นจะธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว (อ้างอิงจาก Google E-Conomy) นอกจากนี้ยังมีเทรนด์อื่นๆ อีกทั้งปัจจัยส่งเสริมให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ ได้แก่ เทรนด์เกมออนไลน์บนมือถือ, เทรนด์ของ E-Payment, การปรับตัวของแบรนด์ให้เข้ากับตลาด, และการสร้างชุมชนของแบรนด์

คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย)  กล่าวถึงเคล็ดลับความสำเร็จของ Sea ซึ่งเป็น Startup unicorn  ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2017 ที่ผ่านมา

คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย)

“เรายึดมั่นหลักการที่ว่า ‘Fail Fast Succeed Faster’ หรือ การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ คือ ล้มเร็ว รุกเร็ว ปรับตัวให้ได้ เราต้องเดินหน้าลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ การศึกษาค้นคว้า หาเทรนด์และแนวทางใหม่ในอุตสาหกรรม จึงเป็นสิ่งทีเป็นที่เราให้ความสำคัญ และพร้อมเดินหน้าปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสและความต้องการของผู้ใช้งานใหม่ๆ อยู่เสมอ สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตที่น่าจับตาใน ปี 2019 นี้ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตและ Startup โดยกว้าง”  

1. ผู้ที่ทำเงินได้ คือผู้ที่ปรับตัวให้เข้ากับตลาด

ธุรกิจที่จะสามารถเข้าสู่ตลาดและครองในตลาดท้องถิ่นได้นั้นจะต้องเป็นธุรกิจที่มีการปรับกลยุทธ์แพลตฟอร์มตัวเองให้เข้ากับตลาดนั้นๆ มากขึ้น

ตัวอย่าง Startup ที่ประสบความสำเร็จในการปรับตัวให้เข้ากับตลาดได้แก่ Viki แพลตฟอร์มแปลคำบรรยายซีรีส์จากสิงคโปร์, Ookbee ร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคของไทย, TaamKru แอพพลิเคชันเพื่อการพัฒนาสำหรับเด็กในรูปแบบเกมของไทย และ Shopee ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จในการปรับให้เข้ากับตลาดในแต่ละประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งกับผู้ซื้อและผู้ขาย ด้วยวิธีที่ง่าย ปลอดภัย และไม่ยุ่งยาก

2. แบรนด์จะปังต้องสร้างคอมมูนิตี้

การซื้อสินค้านั้นถือเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง การสร้างคอมมูนิตี้ (Brand community) หรือการสร้างความสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ให้ลูกค้าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ แทนการค้าขายหรือบริการโดยตรง เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีส่วนสำคัญให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ทำให้การซื้อสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียหรือ social commerce ได้รับความนิยม ส่งผลให้การแข่งขันของเว็บ E-Commerce ตกอยู่ในความท้าทาย มีตัวเลขแสดงว่ากว่า 550 ล้านคน ได้มีการใช้บริการซื้อสินค้าผ่านระบบ Facebook Marketplace

นอกจากนี้ ‘social commerce’ ที่ได้รับความนิยมอื่นๆ ก็อย่างเช่น  Pinterest, Instagram และ Shopee เชื่อมผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง ลดขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ได้เพิ่มเข้ามาแล้วทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายสินค้าได้โดยตรง ผู้ใช้งานจะได้ประสบการณ์การซื้อของออนไลน์ ผ่านระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย อีกทั้งช่วยในเรื่อง logistic อีกด้วย มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ สินค้าด้านสุขภาพ ความสวยความงาม แฟชั่น ของเล่น อุปกรณ์สำหรับเด็ก สำหรับบ้าน และที่อยู่อาศัย

“Shopee 9.9 Mobile Shopping Day” ถือเป็นอีกหนึ่งแคมเปญขายสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกจากนี้การใช้ influencers ที่ได้รับความนิยมในแต่ละประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในแต่ละพื้นที่ได้มากขึ้น

3. เกมออนไลน์บนมือถือจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมเกมเติบโตอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะมีมูลค่า 71.4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 52 ของรายได้จากอุตสาหกรรมทั่วโลก เกมมือถือจะกลายเป็นแหล่งรายได้หลักในอุตสาหกรรม

รายได้ของเกมมือถือคิดเป็น 51 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั่วโลกในอุตสาหกรรมเกม รองลงมาคือเกมคอนโซล 25 เปอร์เซ็นต์ และเกมพีซี 24 เปอร์เซ็นต์  กว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีสมาร์ทโฟนจะทำการติดตั้งเกมภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่ได้รับโทรศัพท์ คิดเป็น 43 เปอร์เซ็นต์ของเวลาที่ใช้บนมือถือ

ภายในปี 2019 เกมบนมือถือคิดเป็น 54 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั่วโลก และจะเริ่มเติบโตเป็น  57 เปอร์เซ็นต์ และ 59 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020 และปี 2021 โดยมีเกมที่ได้รับความนิยมได้แก่ ประเภท ‘Multiplayer online battle arena’ หรือ ‘MOBA’ เช่น เกม Arena of Valor (RoV)

Photo: Garena

4. E-Payment จะเติบโตสูงขึ้น

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้โดยไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดเวลา และยังสามารถประกอบธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆที่อำนวยความสะดวกในด้านการทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย จากปีที่ผ่านมาหลังจากรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในเรื่องของพร้อมเพย์ ก็เป็นการสร้างการรับรู้และปลุกกระแสการยอมรับในการทำธุรกิรรมออนไลน์ไปยังประชาชนวงกว้าง ในปีนี้มีการขยายตัวของผู้ที่หันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น

ประกอบกับการเกิดขึ้นของ ‘Gen Z’ ที่แม้ว่าปัจจุบันพวกเขาจะเป็นวัยรุ่น แต่ในปี 2020 พวกเขาจะกลายเป็น 40 เปอร์เซนต์ของกลุ่มลูกค้าทั้งหมด ที่จะมีอิทธิพลในการใช้งาน E-Payment

กุญแจสำคัญของความสำเร็จด้าน E-Payment คือ ความสะดวกสบาย อย่างที่กล่าวมาแล้วในช่วงต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความปลอดภัย เพราะหากผู้ใช้งานมีประสบการณ์ที่ดีและมีความเชื่อมั่นก็จะทำให้เกิดการใช้บริการอย่างเป็นประจำ โดย AirPay เป็นอีกช่องทางที่ตอบโจทย์การให้บริการที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และเพื่อเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้เพิ่มมากขึ้นจึงยังคงต้องมีการสรรหาพาร์ทเนอร์เพื่อเข้ามาเสริมให้บริการมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นในอนาคตด้วย

เป้าหมายของ Sea (ประเทศไทย) ในอนาคต

Sea มีเป้าหมายเดียวกันในทุกภูมิภาคที่เราให้บริการ คือ การ “Connecting the Dots” ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งาน และธุรกิจขนาดเล็กภายในภูมิภาค จากสินค้าและบริการของ Sea เอง ไม่ว่าจะเป็น Garena แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ Shopee แพลตฟอร์มด้านอีคอมเมิร์ช และ AirPay ระบบชำระสินค้าออนไลน์

“สำหรับ Sea  (ประเทศไทย) เราเดินหน้าสู่ความเป็นผู้นำการให้บริการอินเตอร์เน็ตแฟลตฟอร์ม ที่มีศักยภาพครอบคลุมพร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานในยุคดิจิตอล ภายใต้พันธกิจ ‘Connecting the dots’ ตอกย้ำความเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมทั้งบนระบบคอมพิวเตอร์พื้นฐานจนถึงสมาร์ทโฟนในยุคโมบายเฟิรส์ ทั้งบริการทางด้านการสื่อสารแบบเรียลไทม์ หรือแอปพลิเคชั่นสังคมออนไลน์ ปัจจุบัน Sea (ประเทศไทย) ประกอบธุรกิจ 3 กลุ่มคือ Digital Entertainment, Digital Financial Services, E-Commerceคุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย)  กล่าว    

สิ่งที่ Sea มุ่งหวังในอนาคต เน้นปรับสู่โลกสมาร์ทโฟน

  • พัฒนาจากการเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ สู่การเป็นผู้พัฒนาเกมด้วยตัวเอง เช่น ‘Free Fire’ ซึ่งเป็นเกมที่ถูกสร้างโดยทีมของ Garena Free Fire ได้ประสบความสำเร็จในฐานะเกมใหม่บนมือถือ แนว survival battlegrounds (เอาชีวิตรอดในสมรภูมิ) ได้ทะยานขึ้นสู่อันดับ 1 ของเกมมือถือ ใน 22 ประเทศ นอกจากนั้นยังติด 5 อันดับสูงสุด ใน 50 ประเทศ ทั้งบน iOS App Store และ Google Play Store (เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2018)
  • ยุคของ “Mobile First” เปลี่ยนจาก PC ไปสู่สมาร์ทโฟน จะเกิดขึ้นพร้อมกับเทรนด์ต่างๆ ของโลก เพราะ สมาร์ทโฟน จะเป็นอุปกรณ์หลักที่คนใช้ในการทำกิจกรรมบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นระบบ e-commerce ระบบ e-payment และแพลตฟอร์มเกมของ Sea จะส่งมอบประสบการณ์ออนไลน์บนมือถือไปในอนาคต
  • เมื่อสมาร์ทโฟนพัฒนาเข้าถึงผู้เล่นเกมจำนวนมาก จะทำให้สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของ Sea ไม่ว่าจะเป็น Garena, Shopee, AirPay ซึ่งล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะแก่การใช้งานบนมือถือทั้งสิ้น
  • การเติบโตอย่างยั่งยืนของการเป็นผู้นำเกมมือถือมานานกว่าหลายปี เช่นเดียวกับสิ่งที่ได้เห็นกันบน PC
  • จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวสู่ระดับโลก เนื่องจาก ecosystem ของ Sea ได้พัฒนาอย่างแข็งแรงมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอนาคตจะทำการขยายไปยังนานาชาติ ส่งมอบประสบการณ์อินเตอร์เน็ตที่ดีที่สุดและผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก

อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก​: Econsultancy, Go-Globe, Mobilepaymentstoday, Accenture, Sciencedirect, Zdnet, Conversioanxl, Gameindustry.bix, Straightstimes, Thumbsup, Garena

 บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...