มองเทรนด์ Digital Transformation เพื่อ SMEs ผ่านงาน SG FinTech Festival | Techsauce

มองเทรนด์ Digital Transformation เพื่อ SMEs ผ่านงาน SG FinTech Festival

งาน Singapore FinTech Festival 2020 (SFF x SWITCH 2020) ที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นการกลับมาอย่างคึกคักของวงการ FinTech แห่งภูมิภาคเอเชีย ผ่านการจัดงานรูปแบบ hybrid ที่ผสมผสานระหว่างบนออนไลน์และออนกราวด์ ระหว่างวันที่ 7-11 ธันวาคม 2563 ซึ่งงานนี้ถูกจัดขึ้นโดยธนาคารกลางสิงคโปร์ หรือ Monetary Authority of Singapore (MAS) เพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีทางการเงินให้พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับโลก

งาน SFF 2020 ครั้งที่ 5 ได้รับความสนใจและเข้าร่วมจากภาครัฐและเอกชนจากหลายหลายประเทศทั่วโลกกว่า 60,000 คน โดยปีนี้ได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด People and Talent เพื่อพัฒนาบุคลากรในธุรกิจด้าน FinTech พร้อมทั้งการเปิดให้บริษัทต่างๆ จัดแสดงบูธแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม ‘Online City’ ตลอด 24 ชั่วโมง และการเสวนาในหัวข้อต่างๆ เกิดขึ้นมากมายไปพร้อมกัน

ซึ่งครั้งนี้มีการพูดถึงเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ อาทิ แพลตฟอร์มออนไลน์, API, เทคโนโลยีคลาวด์, AI, Blockchain, 5G และ บริการจากบริษัทด้าน FinTech อย่างหลากหลาย โดยมีตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ร่วมนำโซลูชั่นมาจัดแสดงภายในงาน เช่น ภาคการผลิตและวิศวกรรม, บริการด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ และ เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน 

ไม่เพียงแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Tech startup เท่านั้น เพราะครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของงาน SFF ที่มีการเพิ่มเนื้อหาที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องของโอกาสและความท้าทายสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการนำเครื่องมือดิจิทัลเหล่านี้เข้ามาใช้สำหรับการแก้ pain point ต่างๆ ของแต่ละธุรกิจด้วย 

แน่นอนว่าผู้ประกอบการอย่างธุรกิจ SMEs ล้วนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน การทำ Digital Transformation คือสิ่งจำเป็น และทุกธุรกิจต่างต้องต่อสู้เพื่อปรับตัวและอยู่รอด ซึ่งเราจะเห็นว่าปัจจุบันมีเครื่องมือดิจิทัลและโซลูชั่นต่างๆ มากมายที่ SMEs สามารถนำไปใช้เพื่อลดต้นทุน ลดขั้นตอนการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพได้ 

นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มเพื่อการระดมทุนและขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ ไปจนถึง การนำเทคโนโลยี AI มาช่วยจับคู่ธุรกิจกับ Talent นักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ให้มาเจอกันด้วย

Digital Transformation จากภาคธนาคาร

ภายในงาน SFF x SWITCH ธนาคารกลางสิงคโปร์ได้ตอกย้ำความสำคัญของภาคธุรกิจ SMEs และการเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนของภาคการเงินและธนาคาร ด้วยการนำเสนอ “Business sans Borders” แพลตฟอร์มของธนาคารกลางสิงคโปร์และ IMDA ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนซื้อขายและสร้าง connection ระหว่าง SMEs ทั่วโลก ด้วยบริการครบวงจร ทั้งบริการด้านการเงิน บริการด้านดิจิทัล รวมถึง Sandbox พื้นที่สร้างสรรค์และทดลองบริการใหม่สำหรับ SMEs โดยเฉพาะ 

เรียกได้ว่าสถาบันการเงินต่างให้ความสนใจและพร้อมสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้เติบโตและเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มตัว ซึ่งการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคธนาคารจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การบริหารความเสี่ยง และการลดต้นทุนได้

หนึ่งในธนาคารที่โดดเด่นในเรื่องของการสนับสนุน SMEs ก็คือ ธนาคาร UOB ซึ่งในปีนี้ได้ขนโซลูชั่นต่างๆ ไปจัดแสดงบน Virtual Booth ทั้ง “TMRW” บริการธนาคารดิจิทัลบนมือถือรูปแบบใหม่ ที่ครอบคลุมทั้งบัญชีเงินฝาก บัตรเดบิต และบัตรเครดิต เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานทั่วไป และ “UOB BizSmart” โซลูชั่นจัดการบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมด้วยทัพผู้บริหารจาก UOB ที่ร่วมพูดคุยและให้ความรู้ใน panel discussion ภายในงาน โชว์ศักยภาพผู้นำอันแข็งแกร่งในระดับภูมิภาคตลอดทั้ง 5 วัน รวมถึงการเผยความสำเร็จของโครงการ Smart Business Transformation โดย The FinLab Powered by UOB ที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ในการปรับตัวสู่ดิจิทัลทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

ซึ่งทาง The FinLab เอง ก็มีกิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจ อย่างช่วง Morning Toast ที่ได้เชิญตัวแทนจากองค์กรพาร์ทเนอร์ต่างๆ มาร่วมแนะแนวความรู้ด้าน Digital Transformation และโซลูชั่นทางเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมงานด้วย

รู้จักโครงการ Smart Business Transformation 

โครงการ Smart Business Transformation โดย The FinLab Powered by UOB เกิดขึ้นจากการที่ธนาคาร UOB ได้เล็งเห็นความต้องการของ SMEs ในการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล เพื่อตอบรับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อาจยังไม่มีทักษะทางด้านดิจิทัลมาก่อน จึงควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ 

โครงการนี้ได้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ในการปรับตัวแบบ End-to-End ทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการในเรื่องของนวัตกรรม การช่วยหา Problem Statement ที่สำคัญที่สุดของบริษัท จากนั้นจับคู่กับผู้ให้บริการเทคโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ปัญหาของแต่ละ SMEs มากที่สุด รวมถึงการเข้าไปช่วยในการดำเนินงานนำเทคโซลูชั่นนี้เข้าไปใช้จริง ซึ่งถือเป็นโครงการที่รวมทุกการช่วยเหลือสำหรับ SMEs อย่างแท้จริง

จากความสำเร็จและเสียงตอบรับที่ดีของโครงการใน 2562  สู่การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ ในปี 2563

ในปี 2562 โครงการ Smart Business Transformation ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัลรวมแล้วกว่า 15 บริษัท ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรทั้งภาคธุรกิจและหน่วยงานรัฐบาล เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI)

ในปีนี้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายตั้งแต่ต้นปีจากวิกฤตโควิด โครงการ Smart Business Transformation จึงมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถรอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้ โดยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงโครงการผ่านแพลตฟอร์ม The FinLab Online ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องกังวลถึงความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด ตัวโปรแกรมยังคงความเข้มข้นในการช่วยเสริมสร้างกลยุทธ์ด้านดิจิทัลผ่านคอร์สอบรมต่างๆจากพันธมิตรและบริษัทเทคโนโลยีโซลูชั่นของไทยและต่างประเทศ เพื่อให้ SMEs สามารถเลือกโซลูชั่นที่เหมาะสมและนำไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจในยุคนิวนอลมอล พร้อมโอกาสในการขยายธุรกิจผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วภูมิภาคของกลุ่มธนาคารยูโอบี

ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของโครงการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและก้าวผ่านความท้าทายในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

หลังจากที่โครงการได้ทำงานร่วมกับ SMEs มากมายตลอดปี 2563 หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 2 ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากนั่นก็คือ บริษัท วัชมนฟู้ด จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลไม้ให้แก่ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าชั้นนำของเมืองไทยมากว่า 30 ปี ได้ปรับเปลี่ยนรากฐานขององค์กรสู่รูปแบบดิจิทัลผ่านการเข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation โดยการนำระบบ ERP ของบริษัท SAP เข้ามาบริหารจัดการสายงานของธุรกิจให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีบริษัทลูกเพื่อเพิ่มช่องทางการขายผ่าน e-commerce และใช้ UOB BizSmart เป็นระบบบริหารงาน back office เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น 

นอกจากธุรกิจขนาดกลางแล้ว โครงการยังให้การสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กด้วยเช่นกัน  เช่น บริษัท เอกภพ ฟุตแวร์ ผู้ผลิตรองเท้านักเรียน Chappy ที่ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับโปรแกรม OFFEO ซอฟต์แวร์เพื่อการทำสื่อโฆษณา และนำเสนอได้อย่างมืออาชีพ เพียงทำผ่านขั้นตอนง่ายๆได้ด้วยตัวเอง เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการทำสื่อโฆษณาและทำให้สามารถผลิตชิ้นงานได้เร็วขึ้น อีกหนึ่งตัวอย่างคือ บริษัท ปอสิเบิล ศูนย์เช่าและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์มือสอง ที่มักจะได้รับการสอบถามจากลูกค้าทุกช่วงเวลา ทำให้เป็นภาระในการคอยติดตามตอบคำถามลูกค้าทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งทางโครงการก็ได้นำเสนอโซลูชั่น  AI Chatbot ดำเนินงานโดยคนไทยอย่าง Zwiz.ai ที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการตอบคำถามลูกค้า ทำให้ประหยัดเวลาและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดด

เป็นการตอกย้ำว่าโครงการ Smart Business Transformation โดย The FinLab Powered by UOB พร้อมที่จะสนับสนุนธุรกิจทุกขนาด ให้สามารถนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนเงินทุนผ่านเครือข่ายพันธมิตร   ยกระดับความพร้อมให้ผู้ประกอบการเพื่อตั้งรับได้กับทุกสถานการณ์ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมได้ที่ https://thefinlab.com/thailand และ https://www.facebook.com/thefinlab หรือ รับชมไฮไลท์จากคลิปด้านล่างนี้


บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Semiconductor ทำไมทุกประเทศต้องแย่งชิง?

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปสำรวจ Semiconductor เทคโนโลยีที่อยู่ทุกที่ ตั้งแต่สมาร์ทโฟนถึง AI ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญหรือผลกระทบต่อโลกอย่างไร ไปทำความรู้จักกัน!...

Responsive image

อินเดียทะยานสู่ $25 ล้านล้าน กับเส้นทางเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนด้วย Digital Supercycle

การเดินทางของอินเดียในฐานะเศรษฐกิจเกิดใหม่ กำลังมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม จากเป้าหมายเศรษฐกิจมูลค่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สู่วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการบรรลุ 25 ล้านล้า...

Responsive image

ควอมตัมคอมพิวติ้งกับการปฏิวัติการเงิน โอกาสทอง หรือหายนะ ? ส่องแนวคิดจาก HSBC, Visa และผู้เชี่ยวชาญ

เทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Computing) ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะในตอนนี้ควอนคัมกำลังมีบทบาทสำคัญในทุกวงการแม้กระทั่งวงการเงินที่มีการพูดถึงเรื่องนี้ผ่านงาน Singapore Fintech F...