เรียนรู้ประสบการณ์จริงผู้ประกอบการ Fintech ยุคแรกของไทย Silkspan

เรียนรู้ประสบการณ์จริงผู้ประกอบการ Fintech ยุคแรกของไทย Silkspan

13199249_10154151125549890_1262383762_o

ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 20 ปี บ้านเรามีธุรกิจออนไลน์ที่ถูกพัฒนาโดยผู้ประกอบการไทยเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ล้มหายตายจากไปก็มากในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน ถ้านับจำนวนของบริษัทที่ยังอยู่มาจนถึงทุกวันนี้เห็นจะมีไม่มาก และหนึ่งในนั้นมีสาย Fintech อยู่ นั่นคือ Silkspan บริษัทโบรกเกอร์ผลิตภัณฑ์การเงินที่ยืนหยัดมาถึงทุกวันนี้ก็ 19 ปีแล้ว

ในช่วงที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Startup ไทยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก การได้เรียนรู้และรับฟังมุมมองของผู้บริหารที่ผ่านร้อนผ่านหนาว จนสามารถสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น เป็นสิ่งที่มีคุณค่า วันนี้ Techsauce เลยขอนำเนื้อหาการพูดคุยกับผู้บริหารสูงสุงคุณบุตรรัตย์ จรูญสมิทธิ์ Founder และ CEO บริษัท Silkspan มาแบ่งปันให้กับผู้อ่านได้เรียนรู้ ถึงปรัชญา แนวคิดการดำเนินธุรกิจของชายคนนี้ให้ได้ทราบกัน

จาก Banker ผันตัวสู่การเป็นผู้ประกอบการ

ก่อนที่จะมาเปิดธุรกิจส่วนตัว คุณบุตรรัตย์เคยทำงานในองค์กรขนาดใหญ่, เป็นนักลงทุนและ Banker ตอนนั้นคนที่จบ MBA ก็มักจะเลือกทำงานในบริษัทสายการเงิน เขาทำงานได้ประมาณ 5 ปี ถือ ว่าประสบความสำเร็จไม่น้อย ได้มีโอกาสไปทำงานที่ฮ่องกง โดยในช่วงนั้นปี 1999 ถ้าใครยังจำได้เป็นช่วง Financial Crisis พอดี เขาต้องเดินทางไปกลับระหว่างไทยกับฮ่องกงอยู่เสมอ โดยงานที่ไทยจะเป็นงานซ่อมบริษัทเสียส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นทำให้หนี้เพิ่มเป็น 2 เท่าจาก 5,000 ล้านเป็น 10,000 ล้านหน้าที่ของเขาก็คือต้องเข้าไปช่วยแก้ปัญหา เข้าไปดูในส่วนของคลังสินค้าว่าบางส่วนเอาออกได้ไหมแปลงเป็นเงินจะได้ใช้เจ้าหนี้คืน พูดง่ายๆ คือเข้าไปทำทุกอย่างให้ลูกค้ามีเงินที่จะใช้หนี้ บุตรรัตย์กล่าวว่า ในตอนแรกเขาไม่เคยคิดว่าจะออกมาทำธุรกิจของตนเองเนื่องจาก คนทำธุรกิจส่วนตัวต้องแกร่งพอที่จะรับความเสี่ยงหลายอย่างได้ และหัวหน้าผมในเวลานั้นก็ได้พูดคำนึงที่ทำให้เกิดข้อคิดว่างานของเรานั้นอยู่ฝั่งขวามือของงบดุลคือประกอบด้วยหนี้กับทุน ฝั่งซ้ายคือสินทรัพย์เพราะหน้าที่ของงาน Banker นั้นเราไม่ได้ทำอะไรใหม่ที่อยู่บนโลกใบนี้เลยเพียงแต่ปรับย้ายแปลงหนี้ให้เป็นทุน ดึงหนี้ให้ออกไปมันจึงทำให้เกิดความคิดว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวเรา ประกอบกับได้เริ่มไปดูงานสายการตลาดและสายการผลิต กลับกลายเป็นสิ่งที่เราชอบ และเป็นตัวของตัวเองมากกว่า

การเลือกธุรกิจที่ทำ

ในเวลานั้นเลยคิดว่าตนเองควรจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง ซึ่งเป็นช่วงที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาและพบว่ามันสามารถสื่อสารกับคนเยอะๆ ได้

คิดว่าการทำธุรกิจเองอันดับแรกคงต้องทำอะไรที่เราพอมีพื้นฐาน มีความรู้ ความเชี่ยวชาญอยู่ นั่นก็คือเรื่อง Finance สองคือต้องเป็นอะไรที่เรารัก มี Passion กับมัน

บุตรรัตย์กล่าวว่า เขาชอบสร้าง ชอบบริหารทีมงาน ก็เริ่มวิเคราะห์สิ่งที่มีอยู่ในตลาดเวลานั้น “ การจะรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประกันภัย ข้อมูลสินเชื่อต่างๆ ต้องมาคอยโทรสอบถาม และรอรับ Fax ถ้าต้องการเปรียบเทียบก็วุ่นวายหน่อยเพราะต้องติดต่อหลายที่เลย ทำไมไม่มีเว็บไซต์ที่เป็น Financial Supermarket ในไทย ผมคิดว่าอำนาจมักอยู่ที่ผู้บริโภคเสมอเนื่องจากนิสัยคนมักเปลี่ยนไม่ค่อยได้ เพราะไม่ว่าจะโฆษณาดีแค่ไหนคนจะตัดสินใจซื้อก็ต่อเมื่อมีการเปรียบเทียบก่อน ดังนั้นจึงคิดว่ามันควรจะมีตลาดทางการเงินเกิดขึ้นบนโลกนี้และคิดว่ายังไม่เคยมีใครทำ เนื่องจากผมไม่ได้เชื่อมโยงอะไรกับบริษัทประกันดังนั้นหากทำตลาดทางการเงินขึ้นมา เราก็ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งซึ่งผลประโยชน์ อีกอย่างอินเทอร์เน็ตก็มาแล้วโอกาสที่คนตัวเล็กๆ อย่างเรา ก็ทสามารถสร้างบริการนี้ให้เกิดขึ้นมาได้ ผมจึงตัดสินใจลาออกจากบริษัทนั้นเมื่อปี 1999 แล้วนำเงินส่วนตัวที่มีมาลงทุนสร้าง Silkspan”

ในยุคนั้นคนทำน้อยมากเนื่องจากเป็นยุคฟองสบู่แตก แต่เขาก็ทำเนื่องจากคิดว่าธุรกิจที่ทำนั้นไม่มีวันหายไปจากสังคมนี้ มันคือกการทำประกันภัยในระบบ

การทำธุรกิจทุกอย่างก็มีอุปสรรค เริ่มต้นจากศูนย์ มีแค่ตัวกับ Laptop ที่ไปนำเสนองานให้กับธนาคารกับบริษัทประกัน ช่วงแรกๆ ก็ไม่รู้ด้านเทคนิคมาก เคยโดนโกงด้วย เรียกได้ว่าเจออุปสรรคตั้งแต่ต้น ตอนเปิดตัวทีแรกก็ใช่ว่าจะมีคนเข้ามาเยอะ ในเวลานั้นอินเทอร์เน็ตก็ยังช้า และถึงเมื่อเริ่มเข้ามาใช้ เวลานั้นก็ถือเป็นของใหม่ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในตลาดอีก เขาเรียนรู้และนำมาสร้างเป็นระบบที่ทำให้เกิดเป็น Silkspan ในทุกวันนี้

“ถ้าดูจากข้างนอกบริษัทเข้ามา อาจคิดว่าไม่มีกระบวนการอะไรเยอะ แต่จริงๆ แล้ว นั่นเป็นเพียงแค่ยอดน้ำแข็ง ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 700 คน หลายคนอาจฟังแล้วตกใจ คิดว่าเป็นธุรกิจออนไลน์น่าจะไม่ต้องใช้คนมาก แต่ในโลกของความจริงพบว่าต้องมีพนักงานบริการลูกค้าที่มีทักษะและความรู้ เนื่องจากคนในโลกอินเทอร์เน็ตอีก 10 กว่าล้านคนเป็นคนพึ่งเริ่มใช้งานในโลกออนไลน์มาแบบครึ่งๆ กลางๆ และเราเป็นบริการทางการเงินต้องอธิบายให้เกิดความเข้าใจ น่าเชื่อถือ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ให้ได้ ซึ่งตรงนี้เราจะมีระบบในการสร้างทีมงานที่ดูแลลูกค้าขึ้นมา”

Screen Shot 2559-05-12 at 9.35.58 AM

อะไรคืออุปสรรคครั้งสำคัญ

บุตรรัตย์มองว่า คือการเจาะตลาดอินเทอร์เน็ตในเมืองไทย เนื่องจากเป็นเรื่องนอกเหนือความสามารถของเขา คอนโทรลไม่ได้ เมื่อ 19 ปีที่แล้วหากเทียบกับเกาหลี สิงคโปร์เราทิ้งห่างมาก เพราะ 2 ประเทศนี้เขาทุ่มทุนมากเพื่อพัฒนาให้ประเทศก้าวขึ้นมาอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามอง เขามีแผนที่ชัดเจน และรู้ว่าตนเองไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่เยอะมาก เขาจึงต้องผลักดันจุดนี้ขึ้นมาให้ได้ สำหรับบ้านเราผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ได้ แต่อย่างที่บอกหาก Silkspan อยู่ได้มาขนาดนี้คนอื่นก็ต้องทำได้ เขามั่นใจ และนี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องท้าทายที่สุดแล้วในการหาวิธีเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้อย่างไร

คำแนะนำสำหรับบริษัทที่อยู่บนออฟไลน์และอยากขยับมาออนไลน์

เขามองว่าตัว CEO คือส่วนสำคัญที่สุด ของพวกนี้เป็นเรื่องที่มาจากวัฒนธรรมองค์กร เขาเห็นมาเยอะบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบเดิม สุดท้ายเมื่อจะเปลี่ยน เจ้าของมักบอกว่าเอาไว้ก่อนแล้วกันเพราะสุดท้ายแล้วลูกน้องอย่างไรก็ต้องทำตามนาย การเปลี่ยนเข้าสู่โลกดิจิทัลมันดีแน่นอนเนื่องจากมีประสิทธิภาพมากกว่าใช้คนน้อยกว่า Digital transformation หากมองให้ดีนั้นมันคือโอกาสของทุกองค์กร ในงานลักษณะเดียวกัน งานบางงานใช้เพียง 4 คนแต่บางบริษัทอาจต้องใช้ 200 คน

มองอนาคตของ Silkspan ไว้อย่างไร

วันนี้ถ้าเดินเข้าธนาคารไปเมื่อต้องการกู้ยืมเขาก็ต้องบอกว่าของของเขาดีที่สุดโดยไม่มีการเปรียบเทียบ ทำประกันภัยก็เหมือนกัน ซึ่งสิ่งนี้จึงเป็นที่มาที่ทำให้เกิด Silkspan ในวันนี้ แม้ฟังดูไอเดียจะเริ่มง่าย แต่ความเป็นจริง การเข้าใจพฤติกรรมของคนในประเทศนั้นๆ และพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์ตรงความต้องของผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เรายังคงเน้นการขยายในส่วนของภาคธุรกิจการเงิน เนื่องจากแบรนด์ Silkspan เป็นเรื่องของผู้ให้คำปรึกษาทางการเงิน ถ้าจะขยายเพิ่ม สิ่งที่อยากทำคือการลงทุนในกองทุน ถ้ามองว่าคนหนึ่งคนมีเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงินหลักๆ ขอแบ่งเป็น 3 ส่วน เรื่องแรก เป็นเรื่องสำคัญคือเงินกู้ยืมอย่างไรให้เหมาะสมเนื่องจากทุกคนไม่ได้เกิดมารวยหมด พอเริ่มมีครอบครัวมีสินทรัพย์ก็เริ่มที่จะทำประกันภัย อีกส่วนคือวางแผนวัยเกษียณก็ต้องการนำเงินไปลงทุนในกองทุนเพื่อได้มาซึ่งส่วนแบ่งของผลกำไร และนี่คือส่วนที่ผมมองว่าน่าสนใจ

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่

เขามีโอกาสได้คุยกับรุ่นน้องที่ทำ Startup หลายราย ได้แนะนำเขาไปบ้างเหมือนกันว่าในโลกของความเป็นจริงนั้นเป็นอย่างไร "คนที่เป็น Startup ได้ต้องเป็นคนที่ทำจริงและฝึกปฎิบัติเสมอเมื่อพลาดแล้วต้องลุกมาทำใหม่ ฟังดูไม่หวือหวาแต่มันคือพื้นฐานของความเป็นจริง"

คนที่เป็น New Generation ที่พึ่งเข้ามา อยากให้พัฒนาด้าน EQ ไม่ใช่แค่ IQ เนื่องจากเราต้องสื่อสารกับคนต่างๆ เราต้องเปลี่ยนไม่ใช่ให้คนทั้งโลกเปลี่ยนเพื่อบริการของคุณ หากเราขัดแย้งกับธรรมชาติเกินไป จะกลายเป็นเสียหายกับตัวเราเอง การมีความฝันเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องตั้งอยู่บนความเป็นจริงด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...