เรื่องราวของ Skype จากแพลตฟอร์มยอดนิยมสู่การถูกลืม ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? | Techsauce

เรื่องราวของ Skype จากแพลตฟอร์มยอดนิยมสู่การถูกลืม ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

Skype หนึ่งในแพลตฟอร์มวิดีโอคอลยอดนิยมในยุค 2000 ที่มีจุดเริ่มต้นมากจากชายชาวสวีเดน 2 คน ชื่อ  Niklas Zennström และ Janus Friis เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2003 แต่จนถึงทุกวันนี้แพลตฟอร์มวิดีโอคอลชื่อดังกำลังจะถูกคนทั้งโลก “ลืม” 

Skype

ยุคของความรุ่งโรจน์ 

ก่อนหน้าจะมาเป็น Skype  Niklas Zennström และ Janus Friis  เคยสร้างโปรแกรม Kazaa เป็นโปรแกรมแชร์ไฟล์แบบ Peer-to-Peer (P2P) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่ต้องผ่านเครือข่ายกลาง

โปรแกรม Kazaa จึงกลายเป็นไอเดียสำหรับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นั่นคือ โปรแกรมบริการโทรศัพท์และวิดีโอคอลแบบ P2P ชื่อว่า Skype 

หลังจากที่ Skype ถูกปล่อยออกมาสู่สาธารณะก็ได้ผลตอบรับที่ดีเกินคาด จนกลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มยอดนิยมของผู้คนในยุค 2000 ด้วยบริการที่สามารถโทรหาออนไลน์เป็นวิดีโอได้ฟรี

Skype ทำฐานยอดผู้ใช้งานได้มากถึง 115 ล้านคนภายในช่วงเวลา 3 ปีแรก แม้แต่คำว่า Skype ก็มีการบัญญัติเป็นคำทางการของพจนานุกรม Oxford มีความหมายว่า “การสนทนาผ่านวิดีโอด้วยอินเตอร์เน็ต” 

หลังจากนั้นในปี 2005 Ebay ต้องการเข้าซื้อกิจการแต่ก็ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทำให้ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่มาจาก Silver Lake สุดท้ายในปี 2011 บริษัท Microsoft ก็เข้าซื้อกิจการด้วยเงินลงทุนถึง 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ 

สู่ยุคของ Zoom ที่ตอบโจทย์มากกว่า ขณะที่ Skype หลงทาง

แม้ว่าจะมีผู้สนับสนุนรายใหญ่อย่าง Microsoft แต่ความนิยมในแพลตฟอร์มนี้กลับลดลงเรื่อยๆตามกาลเวลา และกระแสความนิยมของผู้คนที่เปลี่ยนไป 

Skype เริ่มได้รับความนิยมลดลงแบบเห็นได้ชัดเจน ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่เกิดกระแสการ Work From Home และความนิยมในการประชุมงานออนไลน์ก็ได้รับความนิยม

แพลตฟอร์มของ Zoom และ Google ต่างออกผลิตภัณฑ์ออกมาแข่งขันกัน

Zoom คือหนึ่งในแพลตฟอร์มยอดนิยมที่เข้ามาตอบโจทย์ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วยฟีเจอร์และฟังชันส์ที่เหมาะกับคนทำงานและบริษัทขนาดใหญ่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าจะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้น 

ต่างจาก Skype ที่เหมือนเดินหมากผิดทางและถูก Microsoft ออกผลิตภัณฑ์อื่นที่ดีกว่าเช่น Teams

ความคิดเห็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ใช้ Zoom และ Skype มองว่า Zoom มีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์มากกว่าสำหรับการประชุมในคนหมู่มาก อีกทั้งการตีตลาดของ Zoom ได้ผลในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ได้ฐานผู้ใช้ทั้งในเอเชีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา 

นอกจากนี้การจะใช้ Zoom ก็ไม่ได้จำเป็นจะต้องมีบัญชี แค่มีลิงก์ก็สามารถใช้บริการได้ฟรี ถ้าประชุมไม่เกิน 40 นาที ซึ่งแต่ก่อน Skype ไม่เคยมีและมาเพิ่มทีหลังแต่กลับสายเกินไปจนทำให้ผู้คนหันไปใช้ Zoom มากกว่า  

การสำรวจจาก Creative Strategies ระบุว่าในเดือนเมษายน ปี 2020 บริษัทในสหรัฐอเมริกากว่า 1,110 แห่ง คิดเป็น 27 % เลือกที่จะใช้  Zoom สำหรับการสนทนาทางวิดีโอและการประชุมเป็น โดยอีก 18% ใช้ Teams และอีก 15% ใช้ Skype

Carolina Milanesi นักวิเคราะห์จาก Creative Strategies มองว่า Skype ที่อยู่ภายใต้ Microsoft นั้น กำลังทำให้ตัวเองเสียตัวตนและพยายามออกฟีเจอร์ที่ใหม่ๆไม่ค่อยดึงดูดและไม่ถูกวัตถุประสงค์จนทำให้ขาดการพัฒนารูปแบบวิดีโอคอล

พวกเขาออกแบบแอปใหม่และพยายามทำให้แอปดูทันสมัย สดใหม่ เพื่อแข่งกับ WhatsApp และ Telegrams 

                   Carolina Milanesi นักวิเคราะห์จาก Creative Strategies กล่าว

แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ มากมาย ซึ่งรวมถึง “mojis”, อิโมจิของ Skype รวมไปถึงฟีเจอร์อื่นๆที่นำมาจาก Snapchat จุดนี้จึงทำให้นักพัฒนาเริ่มเดินหลงทาง และไม่ได้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาฟังก์ชันหลักซึ่งก็คือตัวฟีเจอร์วิดีโอคอล

ครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายนปี 2017 พบว่าคะแนนเฉลี่ยของแอปพลิเคชั่น Skype บน App Store ลดลงจาก 3.5 ดาวเป็น 1.5 ดาว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า Skype เลือกที่จะเดินผิดทางและยังหลงทาง อีกด้วย การออกฟีเจอร์ที่ไม่เข้ากับแอปส่งผลกระทบทำให้ความนิยมลดลงอย่างชัดเจน 

Skype จะกลับมาได้รับความนิยมอีกไหม

Microsoft พยายามผลักดันโดยนำ Skype ไปเพิ่มบริการใน Outlook และ Windows เสริมด้วย AI Chatbot ของ Bing แต่ตัวเลขของผู้ใช้งานกลับไม่ดีขึ้น 

เมื่อเดือนมีนาคมปี 2020  Microsoft รายงานว่า Skype มีผู้ใช้งานที่ใช้งานในแต่ละวันถึง 40 ล้านคน แต่ตัวเลขนี้ลดลงมาเป็น 36 ล้านคน ตามข้อมูลจากโฆษณาของบริษัท Microsoft 

กลับกัน Microsoft Teams กลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มจำนวนผู้ใช้รายเดือน จากประมาณ 250 ล้านคน ในเดือนกรกฎาคม 2021 เพิ่มไปถึง 300 ล้านคนในไตรมาสแรกของปี อีกทั้งในปัจจุบัน Microsoft เองกำลังดัน AI และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่นำ AI มาใส่ในฟีเจอร์

 อนาคตที่ยังไม่แน่ชัดของ Skype ว่า จะสามารถกลับมา ได้รับความนิยมหรือ แพลตฟอร์มจะยังคง อยู่ต่อไปได้นานแค่ไหน แต่ที่รู้กันคือว่าความนิยมของ Skype นั้นลดลงอย่างชัดเจน จนอาจถูกลืมได้ในที่สุด

ที่มา : CNBC, Tech Research ,The Verge, Wired

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จักเทรนด์ Brand Chem กลยุทธ์ TikTok 2025 การตลาดที่ต้อง ‘เป็นเพื่อน’ กับผู้บริโภค

สำรวจ TikTok What's Next Report 2025 และแนวคิด Brand Chem ที่เปลี่ยนการตลาดด้วยความร่วมมือระหว่างแบรนด์ ครีเอเตอร์ และชุมชน TikTok พร้อมเทรนด์สำคัญที่ขับเคลื่อนปี 2025...

Responsive image

ชี้เป้า 5 เทรนด์การใช้ AI (Agent) พาธุรกิจโต ในปี 2025 โดย Salesforce

เผยแนวโน้มการใช้ AI เพื่อสร้างการเติบโตด้านรายได้ให้ธุรกิจ และอัปเดตความก้าวหน้าในการพัฒนา AI Agent ให้ทำงานได้อัตโนมัติ (Autonomous) โดย Salesforce...

Responsive image

‘ธนวัต สุตันติวรคุณ’ CEO ผู้ผันสู่โลกอนาคตจากระบบการเงินดั้งเดิม นำทีม Bitazza Thailand เสริมความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ดิจิทัล

คุณธนวัต สุตันติวรคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทาซซ่า จำกัด หรือ Bitazza Thailand แพลตฟอร์มนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย มาเผยมุมมองเกี่ยวกับการบริหารธุร...