รู้หรือไม่? เพลง Baby Shark มาจากสตาร์ทอัพ EdTech สัญชาติเกาหลีใต้ | Techsauce

รู้หรือไม่? เพลง Baby Shark มาจากสตาร์ทอัพ EdTech สัญชาติเกาหลีใต้

Baby Shark doo doo doo doo doo doo... Baby Shark doo doo doo doo doo doo...

ในช่วงปลายปี 2017 ที่ผ่านมา (รวมไปถึงช่วงวันเด็ก 2018 ที่ผ่านมา) เพลง Baby Shark อาจจะผ่านหูใครๆ หลายคนจนติดไปอยู่พักหนึ่ง หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยว่าเพลงนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ใครเป็นผู้ผลิตเพลงนี้ขึ้นมา วันนี้ Techsauce หาคำตอบมาให้แล้วครับ

ระหว่างนี้ก็เปิดเพลง Baby Shark ไปอ่านบทความนี้ไปกันนะครับ เผื่อจะได้อรรถรสในการอ่านบทความมากขึ้นครับ

https://www.youtube.com/watch?v=XqZsoesa55w

Startup ไหนกันที่ทำเพลง Baby Shark

ก่อนอื่นต้องขอเฉลยก่อนว่า Startup ใดเป็นคนทำเพลง Baby Shark เพื่อที่จะได้เล่าเกี่ยวกับ Startup นี้ให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

Baby Shark เป็นผลงานของสตาร์ทอัพสัญชาติเกาหลีใต้ ที่ชื่อ SmartStudy ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่เน้นด้านการทำแอปพลิเคชัน EdTech (Education Technology) ครอบคลุมในหมวด Education, Mobile Video On Demand (VOD), Comics, Games และ Photos เจาะกลุ่มไปยังกลุ่มเด็กปฐมวัยก่อตั้งขึ้น ในปี 2010

เมื่อ 1 มิถุนายน 2015 เคยระดมเงินทุน Series A จาก KDB Capital, IBK Capital และ DT Capital Partners มูลค่า 12,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

โดยบริษัทแม่ SmartStudy มีบริษัทลูกที่ชื่อ Pinkfong ซึ่งไม่ได้มีแค่แอปและเกมอย่างที่บริษัทแม่เท่านั้น แต่ยังมีคอนเทนต์ที่เป็นสื่อการสอนอย่างวิดีโอและเพลง นับสองพันชิ้น รวมไปถึงยังมีหนังสือและของเล่นขายอีกด้วย ซึ่งเพลง Baby Shark ที่ออกครั้งแรกในปลายปี 2015 ก็เป็นผลงานของ Pinkfong นั่นเอง

ดังได้อย่างไร?

https://www.youtube.com/watch?v=J2L3NDZw47o

เพลง Baby Shark ดังมาจากศิลปิน K-POP อย่าง Girls' Generation, Red Velvet และ Blank Pink ร้อง cover เพลงนี้ในคอนเสิร์ตและภาพดังกล่าวก็ถูกเผยแพร่ทางทีวีและสื่อต่าง ๆ ทำให้เพลงนี้กลายเป็น Viral Video ชั่วข้ามคืน แพร่ไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว

จนกลายเป็น Viral ที่มีคนดารา นักร้อง ศิลปินทั่วเอเชีย ต่างเต้น cover เพลงนี้กันอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซียฮิตมากจนมี Hashtag #BabySharkChallenge เพื่อเต้นประกวดแข่งกัน ซึ่งไทยในกระแส Baby Shark ก็มีเข้ามาเหมือนกัน

ส่วนสาเหตุที่เพลงนี้กลายเป็น Viral และได้รับความนิยม คือ

  1. เนื้อหาเพลงมีความตรงไปตรงมา เข้าใจได้ง่าย จำได้ง่าย แม้แต่เด็กอายุสามขวบก็สามารถร้องเพลงนี้ได้
  2. เนื้อเพลงมีท่อนที่ร้องซ้ำ หรือบรรเลงซ้ำ เหมือนผสมเข้าด้วยกันแล้วลงตัว ก็จะกลายเป็นสูตรลับที่จะทำให้เพลงนั้นดังขึ้นมา

สถิติคนดูคลิปเป็นอย่างไร?

Jamie Oh, Marketing Communications Director ของ Pinkfong ระบุว่า “ยอดคนดูคลิป ‘Baby Shark’ 800 ล้าน Views มาจากตลาดต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยอดคนดูก็กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ”

เพลง “Baby Shark” เป็น Viral บน YouTube เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2017 คลิปนี้มีผู้ชม 700 ล้าน Views และพุ่งเป็น 800 ล้าน Views ในเวลาต่อมา ยอด Subscriptions ของ YouTube พุ่งขึ้นเป็นสามเท่าจากชาวอินโดนีเซีย และเมื่อมองในข้อมูลก็พบว่าชาวเอเชียทำให้ Channel มียอด Subscriptions เพิ่มขึ้นถึง 165%

นอกจากนี้ตัวแอปพลิเคชันที่มีเพลงนี้อยู่ อย่าง Pinkfong Best Kids Songs ก็ติด 10 อันดับแอปที่มียอดผู้ดาวน์โหลดมากที่สุดในเกาหลีใต้, บังคลาเทศ, สิงคโปร์, ฮ่องกง และอินโดนีเซียอีกด้วย

โดยทางยัง Jamie Oh ระบุว่าเทรนด์ #BabySharkChallenge ไม่ได้เป็นแผนการตลาดของบริษัท แต่จากเทรนด์ดังกล่าวทำให้บริษัทได้ผลตอบรับที่ดีไปด้วย โดยรายได้ 65% ของ Digital Content จาก Pinkfong มาจากนอกเกาหลีใต้ โดยบริษัทคาดการณ์ว่าจะทำรายได้จาก YouTube เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน

ต้องรอดูว่าคลิป Baby Shark บน YouTube จะทำลายสถิติยอดคนดูของคลิป “Gangnam Style” จากนักร้องที่ชื่อ Psy (ไซ) ที่ตอนนี้มีคนดูใกล้ถึง 3 พันล้าน Views แล้ว

สรุป

Jamie Oh ยังมองในมุมธุรกิจ Viral ที่เกิดขึ้นสามารถผลักดันให้ Startup มีชื่อเสียงมากขึ้นได้ทันตา กรณีเดียวกับเพลง “Gangnam Style” ที่สามารถผลักดันให้กรุงโซล (Seoul) กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมได้  ฉะนั้นทาง Pinkfong ก็กำลังเตรียมขยายเนื้อหาไปยังตลาดจีน และตลาด U.S. อีกด้วย รวมไปถึงวางแผนในการสร้างรายได้จากคนรุ่นใหม่ด้วยการทำคอนเทนต์เฉพาะท้องถื่นและร่วมมือกับ Creator จากภูมิภาคอื่น ๆ ในการสร้างสรรค์เนื้อหาอีกด้วย

นี่จึงเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับสตาร์ทอัพ ในการทำ Product หรือ Content ที่สร้างสรรค์ สดใหม่ และพร้อมรองรับการเข้าถึงจากผู้คนที่มาจากหลากหลายภูมิภาค ไม่ใช่แค่ในเฉพาะประเทศตนเอง

และเมื่อ Product หรือ Content ของเราพร้อมสู่การเผยแพร่ การจับตลาด Southeast Asia พร้อมกับเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมไปถึงการได้ Influencer ที่ดีและเป็นที่นิยม (อย่างเช่นศิลปิน K-POP ที่มีแฟนคลับเป็นจำนวนมาก) ก็เป็นอีกสูตรหนึ่งที่น่าสนใจ (จากหลาย ๆ สูตรที่พาไปสู่ความสำเร็จ) สำหรับสตาร์ทอัพที่ทำด้านสื่อหรือมีเดียที่กำลังสนใจจะลงในตลาดนี้

ข้อมูลอ้างอิงจาก Forbes, Crunchbase และ Rojakdaily

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...