ทำความรู้จัก 3 ทีมจากงาน StartupWeekend BKK 2015 Travel Edition | Techsauce

ทำความรู้จัก 3 ทีมจากงาน StartupWeekend BKK 2015 Travel Edition

ผ่านพ้นกันไปแล้วสักพัก กับงาน StartupWeekend Bangkok 2015 Travel Edition เราได้มีโอกาสไปพูดคุยกับแต่ละทีมหลังจากผ่านพ้นช่วงงานดังกล่าวไปแล้ว 1 เดือน เพื่อสอบถามความคืบหน้าว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง ลองไปติดตามกันค่ะ ทีม Zero-BaggageIMG_7863

ทีมงานยังคงจำได้ถึงบรรยากาศในค่ำคืนนั้น เมื่อการประกาศผลว่าทีมชนะเลิศ Zero-Baggage คือทีมชนะเลิศ มาพร้อมทั้งเสียงเฮทั่วห้อง และน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ

ทีมงาน Zero Baggage กล่าวว่า แรงบันดาลใจของไอเดียนี้มาจาก ความต้องการที่จะปฎิวัติการเดินทาง หากเราเดินทางไปแต่ตัวโดยที่เราไม่ต้องนำอะไรไปเลยจะเป็นอย่างไรกันนะ

Zero-Baggage จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้คุณเข้าใจถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น เสื้อผ้าการแต่งกายของแต่ละพื้นที่ โดยที่คุณไม่ต้องพกอะไรติดตัวไปเลย!

Pain point ที่ว่าทำไมเราต้องเก็บสัมภาระอะไรมากมาย การเดินทางไปยังจุดหมายที่เราต้องการนั้นทำไมเราจึงไม่สามารถเที่ยวหรือขึ้นรถโดยสารได้โดยที่เราไม่ต้องขนของอะไรไปเลย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราเกิดไอเดียขึ้น เริ่มต้นด้วยการส่งเสื้อผ้าในท้องถิ่นนั้นๆ ให้ถึงมือคุณได้อย่างง่ายดายซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน อย่างแรกคือฟรีการเดินทางและอีกอย่างคือคุณจะพบกับประสบการณ์ใหม่ๆ

โดยสิ่งที่อยู่ บนในแพลตฟอร์ตมีดังนี้

  1. แอปฯ ที่คุณสามารถจองเสื้อผ้าออนไลน์ได้ก่อนการเดินทาง (หากคุณเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นก็จะมีผลิตภัณฑ์ในย่านดังเช่น Harajuku เป็นต้น
  2. ฟรี ! สัมภาระ
  3. เลือก - ส่งคืน เสื้อผ้าจากเครื่องจัดจำหน่ายได้สะดวก

โดยบริการจะเน้นไปที่การเดินทางในแบบ hop-on/off between cities เป็นส่วนใหญ่โดยการใช้ระบบการขนส่งของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ญี่ปุ่น, ยุโรป เป็นต้นโดยนี้คือแนวทางการแก้ปัญหาของการจัดสัมภาระที่มากเกินไปทำให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ยากลำบาก Zero-Baggage จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ไม่ต้องกังวลกับการจัดเตรียมเสื้อผ้าในทุกที่ของการเดินทาง

ทีมงาน Zero-Baggage ประกอบด้วย วิรัชสัณห์ ธิติเลิศเดชา, วชิรา คิมหสวัสดิ์, ประกฤษฎิ์ ตันธวัชกุล, อรวริศร์ เผดิมปราชญ์, พศุตม์ เมฆะสุวรรณโรจน์, ปิยฉัตร ศรไพศาล, นีลุบล รัตน์วงศ์โสภา, ไชยกร ศรีศักดิ์วรากุล

ทีม Tour- now

IMG_7852

มาต่อกันที่ทีมที่ 2 กับทีม Tour-now ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1  ทีม Tour-now แชร์ว่าในทีมงานมีคนที่ทำงานสายธุรกิจท่องเที่ยว และมักได้รับการสอบถามเรื่องที่พักจากลูกค้าในนาทีสุดท้ายเสมอๆ แต่ไม่สามารถช่วยได้ ทำให้ทีมงานเห็นโอกาสที่น่าเข้าไปอุดช่องโหว่ ด้วย Pain Point นี้เลยพัฒนาโซลูชั่น Tour-now บริการในลักษณะของ Market Place ค้นหาทัวร์ถูกใจได้ในระยะเวลาอันสั้น (ภายใน 24 ชั่วโมง) ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้ใช้เอง โดยสามารถรู้ตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่เพื่อให้แน่ใจว่าคำแนะนำที่ได้นั้นเป็นจริงในระยะเวลาที่กำหนดไว้และยังเป็นสุดยอดเทคนิคที่อนุญาตให้ Suppliers สามารถปรับปรุงบริการของพวกเขาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ความน่าสนใจของบริการคือ จองห้องพักได้ในนาทีสุดท้ายของการเดินทาง เช่นสามารถจองได้ในคืนนั้นและสามารถทำได้ในทันที คล้ายแอปฯ อย่าง Golfdigg แต่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน

ทีมงาน Tour-now ประกอบด้วย Simon Philipp, Bindu Jamal, ชนินทร เพ็ญสูตร, ตฤณ นิลกรณ์ และ ชินธิป แต้มแก้ว

ทีม Homecook

IMG_7847

และทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 คือทีม Homecook ผู้พัฒนา Event-based Platform ที่ให้เอเยนทัวร์หรือนักท่องเที่ยวสามารถจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอปฯ เพื่อสัมผัสประสบการณ์อาหารสุดพิเศษในรูปแบบการทำอาหารในบ้าน นอกจากเป็นประสบการณ์ชั้นเยี่ยมแล้ว ยังคงคุณค่าที่น่าจดจำอีกด้วย

โดยสิ่งที่เขาพูดถึงจากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้คือ การเรียนรู้ตลอดระยะเวลา 54 ชั่วโมง ทำให้เรานำกระบวนการคิดแบบ Startup คือการเรียนรู้กระบวนการ Pitching ไอเดีย , การพัฒนาผลิตภัณฑ์ , การเรียนรู้การทำงานเสมือนกับการเริ่มต้นธุรกิจจริงๆ เลย

ทีมงาน Homecook ประกอบด้วย : พอล อากค์, จูเลี่ยน เบโทเมีย, ปวีณา ปาเทลา, ธุวรักษ์ ปัญญางาม, ปัญจมพล กรรณสูต, อิศเรศ ประจิตต์มุทิตา, ดาริน สุทธพงษ์, กิตติ ปริยอัครกุล, ศิริกุล แก้วขาว และ กาญจนดา โอภาสยานนท์

สิ่งที่ได้จากการเข่าร่วมโครงการในครั้งนี้

IMG_7867

ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจากหลายๆ ทีมพูดถึงความรู้สึกและสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่าการหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมสัมมนาหรือโครงการ SWBKK ก็ทำให้ได้เรียนรู้อุตสาหกรรมและเป็นเหตุการณ์จำลองธุรกิจก่อนเริ่มในสนามจริงที่ดีมาก หากมีโอกาสหรือมีเวลาหลังจากจบการแข่งขันครั้งนี้ทุกคนหวังว่าจะกลับมาต่อยอดไอเดียอีกครั้ง และสิ่งที่ได้จากการมาร่วมงาน StartupWeekend นี้คือการที่การทำการบ้านอย่างหนักเพื่อการเตรียมตัวในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ความกระตือรือร้นและอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นและความกล้าหาญออกจากพื้นที่ Comfort Zone มาสวมวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการอย่างจริงจัง เราต้องรู้จักกล้าลองทำอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ในโลกของ Startup ไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบและความไม่สมบูรณ์แบบนั้นแหละที่เป็นที่มาของโอกาสให้เราได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาสิ่งดีๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับสังคมต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล...

Responsive image

Food Biotechnology “เนื้อจากแล็บ” ทางเลือกของอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ

Blood Free Group บริษัท Biotechnology จากซีรีส์เรื่อง Blood Free เปิดตัว ‘เนื้อจากแล็บ’ ตอบรับเทรนด์อาหารแห่งอนาคต เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค...

Responsive image

เปิดตัว 7 สตาร์ทอัพ FinTech ในงาน Money20/20 Asia เสริมแกร่งอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Money20/20 Asia ผู้จัดงานงานฟินเทคโชว์สุดยิ่งใหญ่เปิดตัวบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 7 ที่เชื่อว่าจะผลักดันพร้อมปฏิวัติโลกของการเงิน...