บทเรียนเรื่องสตาร์ทอัพจาก Sam Altman ผู้อยู่เบื้องหลัง ChatGPT (9 ปีแล้วแต่ยังใช้ได้อยู่) | Techsauce

บทเรียนเรื่องสตาร์ทอัพจาก Sam Altman ผู้อยู่เบื้องหลัง ChatGPT (9 ปีแล้วแต่ยังใช้ได้อยู่)

Sam Altman ผู้เป็น CEO และ co-founder ของ OpenAI ที่ให้กำเนิด ChatGPT และ DALL-E ที่ทำให้ใช้การใช้งาน AI กลายมาเป็นกระแสในแวดวงเทคโนโลยี 

ย้อนกลับไปในปี 2014 ขณะที่แซมยังเป็นประธานบริหาร Y Combinator บริษัทที่คอยให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพ (Startup Accelerator) เขาเคยออกมาให้บทเรียนและแง่คิดเกี่ยวกับการทำสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ ถึงจะผ่านมา 9 ปีแล้วแต่ความรู้จากแซมก็ยังคงใช้ได้อยู่กับบริษัทสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

ถ้าอยากจะสร้างสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จคุณต้องมี ไอเดียที่ดี โปรดักต์ที่ดี ทีมที่ดี และการตัดสินใจลงมือทำที่ดี - Sam Altman


Source: Y Combinator

ไอเดียดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

การจะทำสตาร์ทอัพจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นแบบติดต่อกันเป็น 10 ปี เพราะฉะนั้นคุณต้องแน่ใจว่าไอเดียที่มีมันใช่จริงหรือเปล่า

“ถ้าคุณมีหลายไอเดีย ให้เลือกอันที่คุณมักจะนึกถึงในตอนที่คุณไม่ได้คิดเรื่องงาน”

มากไปกว่านั้น ผู้ก่อตั้งจำเป็นต้องมี “ความเชื่อ” และองค์กรควรโฟกัสที่ภารกิจสำคัญเป็นหลัก ซึ่งหมายความว่าบุคลากรหรือพนักงานจะมุ่งมั่นแก้ปัญหาภายในบริษัทแม้ว่าจะขัดใจคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าก็ตาม

“ถ้าคุณไม่เชื่อในสิ่งที่คุณกำลังสร้าง ถึงจุดนึงคุณก็จะยอมแพ้กลางทาง”

บ่อยครั้งที่ไอเดียที่ดีที่สุดคือไอเดียที่อาจจะฟังดูแย่

แต่มันก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันคือ ไอเดียที่ฟังดูแย่จะไม่มีใครมาขโมยไอเดียคุณ เพราะคนส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นถึงศักยภาพของมันจนกว่าสตาร์ทอัพนั้นจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

“ในตอนแรกเริ่ม ไอเดียที่ดีมันมักจะฟังดูแย่ ไอเดียไหนที่ฟังดูดีมากๆ ก็คงจะมีคนแห่ทำเยอะแล้ว”

จงหาตลาดเล็กที่ขยายตัวได้

ถ้ากำลังตัดสินใจทำสตาร์ทอัพคุณควรโฟกัสที่ตลาดเล็ก ๆ ก่อน ตลาดที่ลูกค้าจะกระหายการหาทางออกสำหรับปัญหาที่ไม่ค่อยมีใครแก้

“ผมเลือกลงทุนในบริษัทที่โฟกัสในตลาดเล็กแต่มีการเติบโตรวดเร็ว มากกว่าตลาดใหญ่แต่เติบโตช้า”

คนอายุน้อยหรือนักเรียนนักศึกษามักจะจับทางได้ว่าตลาดแบบไหนที่มีการเติบโตเร็ว เพราะพวกเขามักจะตามทันกระแสอยู่ตลอดเวลา 

โปรดักต์ที่เรารัก (สร้างในสิ่งที่ผู้ใช้จะชอบ)

มีไอเดียที่ดีแล้ว ผลิตภัณฑ์ก็ต้องดีตาม เพราะฉะนั้นจงสร้างในสิ่งที่คนส่วนมากจะรักมัน แต่ในช่วงเริ่มต้นมันจะง่ายกว่าถ้าเราสร้างผลิตภัณฑ์ให้คนกลุ่มเล็กๆ มากกว่าคนหมู่มาก เพราะสิ่งที่เราต้องการคือการเติบโตแบบออร์แกนิค (ลูกค้าพูดกันแบบปากต่อปากโดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณา) เพื่อสร้างฐานลูกค้า

“บางสตาร์ทอัพล้มจากการแข่งขัน ส่วนมากจะล้มเพราะผิดพลาดในการสร้างสิ่งที่ผู้ใช้งานรักหรือชอบ แต่กลับใช้เวลาไปกับอย่างอื่น”

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้งานรัก: Flipper Zero ของเล่นสายเทคเอนกประสงค์ที่ระดมทุนได้ถึง 4.8 ล้านเหรียญ

ผู้ใช้งานจะเป็นคนบอกเราว่าอะไรที่เขายอมจ่าย

ขณะที่กำลังสร้างฐานผู้ใช้งาน ผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารควรออกไปรับฟังความเห็น “ด้วยตัวเอง” ดีกว่าการรับฟีดแบคโดยการจ่ายเงิน แซมยกตัวอย่างของบริษัทที่ทำแบบนี้ นั่นคือ Pinterest ที่ Ben Silbermann ผู้ร่วมก่อตั้งได้หาผู้ใช้งานแรกเริ่มจากการไปขอให้ลูกค้าในร้านกาแฟช่วยทดลองแอปฯ ให้เขาหน่อย

“หาผู้ใช้งานด้วยตัวเองและจงจำไว้ว่าเป้าหมายคือการให้คนกลุ่มเล็ก ๆ รักเราก่อน” เพราะคนเหล่านี้แหละจะช่วยโปรโมตและสนับสนุนในสิ่งที่เราทำ เพื่อเพิ่มฐานผู้ใช้งานต่อไปแบบออร์แกนิค เมื่อทำขั้นตอนนี้สำเร็จแล้ว ให้รับฟังและเรียนรู้จากพวกเขาให้ได้มากที่สุด

“แม้ว่าคุณจะสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อตัวเอง คุณก็ไม่ควรละเลยเสียงรอบข้างของผู้ใช้งาน เพราะพวกเขาจะบอกเราว่าต้องสร้างยังไงให้พวกเขายอมจ่าย”

Y Combinator ผู้คอยเร่งการเติบโตให้สตาร์ทอัพ

ถึงแม้ว่าแซมจะลงจากตำแหน่งประธานของ Y Combinator ไปในปี 2019 เพื่อไปโฟกัสกับ OpenAI แต่บริษัทก็ยังคงดำเนินการสนับสนุนและทำหน้าที่เป็นเหมือนคนที่คอยจูงมือสตาร์ทอัพที่ต้องการระดมทุนและต้องการแรงผลักดันในช่วงเริ่มต้น

Y Combinator (YC) ก่อตั้งเมื่อปี 2005 และทำหน้าที่เป็นเสมือนกองทุนบวกกับให้คววามรู้เรื่องสตาร์ทอัพ (startup accelerator) ซึ่งหลายๆ บริษัทที่โด่งดังอยู่ทุกวันนี้ต่างได้รับอานิสงค์จาก YC ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Airbnb, Dropbox, Reddit, Stripe และสตาร์ทอัพอื่นๆ อีกกว่า 4,000 บริษัท

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: เปิดตัว Thailand Accelerator พร้อมผนึก 25 พันธมิตร มุ่งช่วย Startup ระดมทุน


Source: Y Combinator

อ้างอิงข้อมูลจาก

Business Insider

Ycombinator


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 ไฮไลท์นวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพไต้หวัน ก้าวล้ำนำอนาคตในงาน Taiwan Expo 2024

10 นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ไฮไลท์จาก Taiwan Healthcare Pavilion ที่จะมาปฏิวัติวงการแพทย์ในทุกมิติ จากงาน Taiwan Expo 2024...

Responsive image

ส่องเส้นทางเทคฯ KBTG จากยุคปรับตัว สู่ผู้นำ Agentic AI กับยุทธศาสตร์ Human-First x AI-First พลิกโฉมธุรกิจ

เจาะลึกกลยุทธ์ KBTG กับการนำไทยเข้าสู่ยุค Agentic AI 2025 ผ่าน Human-AI Integration เพื่ออนาคตที่ล้ำลึกและยั่งยืน...

Responsive image

โซลูชัน Technology Business Management เปลี่ยนต้นทุน IT ให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจด้วยการปลดล็อกศักยภาพด้านการบริหารจัดการต้นทุน IT ด้วยข้อมูลเชิงลึก

การบริหารต้นทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ Technology Business Management เป็นกรอบการจัดการช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมและบริหารต้นทุน IT ได้อย่างแม่...