3 ประเด็นสำคัญ ในวงการ Startup ปีนี้ สรุปจากงาน Creative Talk Conference 2017 | Techsauce

3 ประเด็นสำคัญ ในวงการ Startup ปีนี้ สรุปจากงาน Creative Talk Conference 2017

เป็นอีกหนึ่งปีที่ผู้เขียนมีโอกาสร่วมงาน Creative Talk ซึ่งในปีนี้มาในชื่องานว่า Creative Talk Conference 2017 และยังคงคอนเซปต์ A year in (p)review เช่นเคย แน่นอนว่าผู้เขียนไม่พลาดที่จะเก็บตกเนื้อหาในส่วน Startup เช่นเดียวกับที่เคยได้สรุปไปเมื่อปีที่แล้ว

startup-topic-summary-creative-talk-2017

ในขณะที่เมื่อปีที่แล้ว เน้นสรุปแบบเก็บรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ปีนี้จะขอลองเปลี่ยนเป็นสรุปโดยหยิบประเด็นสำคัญ ที่ Speakers ทุกท่าน มีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกัน

สำหรับ Speakers ของหัวข้อ Startup/Entrepreneur Trends ในปีนี้ ประกอบไปด้วยสี่ท่าน ได้แก่

  • พี่อ้อ พรทิพย์ กองชุน จาก Jitta และพี่มิกกี้ ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ จาก iTAX Thailand สองท่านนี้เป็นตัวแทนของ Startups (และเป็น FinTech ทั้งคู่)
  • พี่หมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ จาก Ookbee Venture Partner และ 500 Startups ซึ่งมีทั้งหมวก Startup และหมวกนักลงทุน
  • พี่ชิ ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร Director of New Venture & Entrepreneurship จากสวทน. เป็นตัวแทนของคนทำงานฝั่ง Government และเป็นผู้ประกอบการเองด้วย

สรุปดังต่อไปนี้ จะเขียนในสิ่งที่เหล่า Speakers นั้นเห็นพ้องต้องกัน เพียงแต่เรียบเรียงในภาษาของผู้เขียนเอง (อาจจะใช้คำศัพท์แตกต่างที่ Speaker แต่ละท่านใช้อยู่บ้าง)

1. Ecosystem ของไทยมีความพร้อม แต่ยังไม่สมบูรณ์ซักทีเดียว

ปีที่แล้วเป็นปีที่คำว่า "Startup" กลายเป็นที่รู้จัก รัฐบาลเริ่มมีนโยบายให้การสนับสนุน บริษัทใหญ่ๆ เองก็เริ่มจัดโครงการ Startup ต่างๆ เราได้เห็น Hackathons และ Accelerators เพิ่มขึ้น รวมถึง Corporate VCs รายใหม่มากขึ้น และคนทั่วไปเองก็ให้ความสนใจกับการเป็น Startup มากขึ้น

ดูเหมือนว่าองค์ประกอบต่างๆ ใน Ecosystem จะสมบูรณ์แล้ว Awareness เรื่อง Startup ก็มีพร้อม สำหรับคนที่อยากทำ Startup ช่วงเวลานี้คงเป็นช่วงเวลาที่อะไรต่างๆ พร้อมมากขึ้นแล้ว

...หากไม่ติดเรื่องความไม่สมดุลในเรื่องต่อไปนี้

Engineer / Developer ในไทย ยังขาดแคลนอยู่มาก

ความท้าทายไม่ใช่เรื่องการ Convince ให้คนอยากทำ Startup แต่ความท้าทายคือ เราจะเพิ่มปริมาณ Startup ได้อย่างไร ในเมื่อ Startup ปัจจุบัน รวมถึงหลายๆ บริษัทในทุกวันนี้ ยังขาด Engineer หรือ Developer กันอยู่เลย

ในวันเดียวกันนั้น ผู้เขียนมีโอกาสได้คุยกับคุณที CTO ของ Fiveloop (ซึ่งมาขึ้นพูดเกี่ยวกับโปรแกรมเมอร์ในช่วง 5 mins fast & furious) คุณทีก็ได้แชร์ว่า เมืองไทยเรา ยังขาดโปรแกรมเมอร์อีก อย่างน้อยๆ ก็ 3,000 คน

บน Panel พี่อ้อเองก็ได้ชี้แจงว่า ไม่ใช่เพียงเรื่องของจำนวน แต่เป็นเรื่องของคุณภาพด้วย

ความไม่สมดุลนี้ นอกจากจะมีอิมแพคต่อ Startup รายใหม่ๆ แล้ว ยังมีอิมแพคต่อรายเดิมๆ ที่อยากยกระดับเทคโนโลยีด้วย

ปีที่แล้วเป็นปีที่เราได้เห็นเทรนด์ของ New Technology เข้ามาเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น AI, Chatbot, Big Data หรือ Blockchain

เช่นเดียวกันคือ ทุกๆ คนมี Awareness ในเรื่องความน่าสนใจของเทคโนโลยีเหล่านี้ ถามว่าอยากใช้ไหม อยากใช้ แต่นักพัฒนาที่มี Skill ด้านเหล่านี้ ก็ยังไม่ค่อยมี

ความท้าทายของปีนี้ คือเราจะก้าวข้ามจาก Awareness เป็น Execution ได้อย่างไร

thailand-lack-dev-talents

ใครๆ ก็อยากมีธุรกิจ แต่พวกเขาเป็น Entrepreneur จริงๆ แล้วหรือยัง

นอกจากความท้าทายในฝั่ง Dev แล้ว ฝั่ง Business ก็มีความท้าทายเช่นกัน

เรามี Wannabe มากมาย แต่ Real entrepreneur หรือผู้ที่มีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ ไม่ได้มีเยอะมากเท่า

พี่ชิได้เล่าถึงผลการสำรวจ เรื่อง Entrepreneurship around the World โดยเทียบสัดส่วนระหว่างปริมาณผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้าของกิจการ กับปริมาณผู้ใหญ่ที่รับเงินเดือน ผลการสำรวจพบว่า ประเทศไทยติดอันดับสอง ของประเทศที่ประชากรที่มีสัดส่วนผู้ประกอบการมากที่สุด

แสดงว่าจริงๆ แล้ว ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาขาดแคลนผู้ประกอบการ "ในซอยหนึ่งซอยที่เต็มไปด้วยร้านขายเสื้อผ้าเหมือนๆ กันหมด เจ้าของร้านในซอยนั้นล้วนเป็นผู้ประกอบการ"

we-should-have-entrepreneur-spirit

แต่การที่นวัตกรรมยังไม่ค่อยเกิดขึ้น นั่นเป็นแปลว่าเราขาดแคลน Real entrepreneur หรือผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ผู้ประกอบการที่ Add คุณค่าใหม่ๆ ลงในธุรกิจของตัวเอง

หากมองในมุมนี้ ก็น่าคิดว่า จริงๆ แล้วสัดส่วนจะเหลือที่เท่าไร

เราควรเลิกเถียงกันว่า SME กับ Startup ต่างกันอย่างไร คำถามที่น่าคิดกว่าก็คือ ผู้ประกอบการทุกวันนี้ เป็น Real entrepreneur แล้วหรือยัง

sme-and-startup-quote-moo-ookbee

2. จาก Competition สู่ Collaboration

ปีที่แล้วเป็นปีที่เหล่า Corporate รู้สึก "ตื่น" และตระหนักกับการมาของ Startup โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลัวว่าตนเองจะถูก "Disrupted" ปีที่แล้วหลายๆ Corporate อาจจะรู้สึกว่า Startup เป็นศัตรูรายใหม่ที่ต้องระวัง

แต่สิ่งที่ปีนี้จะเห็นชัดขึ้น คือ "จาก Competition มุมมองจะถูกเปลี่ยนเป็น Collaboration" บริษัทใหญ่จะเริ่มเข้าใจว่า Startup เป็นธุรกิจใหม่ และมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ต้องการการสนับสนุน และทำให้ Startup กับ Corporate สามารถทำ Collaboration ร่วมกันได้

แนะนำบทความ: 2017 บริษัท Non-Tech ใหญ่ๆ จะเร่งเครื่องด้วยการเข้าซื้อ Startup ไม่ต้องรอ Build ใหม่

How do big enterprises work with startups?

นอกจาก Collaboration กับบริษัทใหญ่แล้ว กับรัฐบาลเองก็มีความสำคัญเช่นกัน มีหลายๆ เรื่องที่ถ้ารัฐเปิดมากขึ้นจะช่วยสนับสนุน Startup ได้อีกเยอะ ตัวอย่างเช่นเรื่อง Open API ถ้าเปิดช่องนี้ได้ ไทยเราน่าจะมีมีคนทำ GovTech กันมากขึ้น (หลายๆ Hackathon ก็มักพบเห็นไอเดียสไตล์ GovTech บ่อยๆ เช่น เรื่องรถเมล์ รถโดยสาร)

3. ปีแห่ง Business-Market Fit

Startup หน้าใหม่ ต้องทำ Business-Market Fit ให้ได้

ถ้ามอง Flow ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ที่มี Startup น้องใหม่เกิดมามากขึ้น ปีที่แล้วพวกเขาอาจจะผ่านช่วง Idea stage มาได้อย่างราบรื่น แต่ปีนี้ Startup ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าจะข้ามเป็น Business-Market Fit อย่างไร

startup-not-easy-not-rich

ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันที่ Startup สาย Logistic (โดยเฉพาะส่งอาหาร) เริ่มมีผู้เล่นมากราย แต่ละรายจะทำอย่างไรให้ธุรกิจไปต่อได้

หรือถ้ามีผู้เล่นน้อยราย จะทำอย่างไรให้ลูกค้ายอมจ่าย นี่ก็เป็นความท้าทายสำคัญ

แนะนำบทความ: Product-Market Fit และ Product-Economic Fit

ส่วน Startup หน้าเดิมเองก็ควรมองเรื่องการไป Market ต่างประเทศให้ได้

ปีที่แล้วเราได้เห็นการบุกเมืองไทยของบริษัทต่างประเทศหลายราย โดยเฉพาะจากประเทศจีน

พี่หมูในฐานะที่เพิ่งมีข่าวจับมือกับ Tencent กล่าวว่ารายใหญ่ของจีนมาแรง และไม่ได้เข้าเพียงตลาดเมืองไทยอย่างเดียว แต่รวมถึงตลาดทั่วโลก

คำแนะนำที่พี่หมูกล่าวคือ ถ้า Startup ต่างชาติมีความเข้มแข็งและเข้ามาในเมืองไทย Startup ไทยเองก็ควรต้องมองหาโอกาสจากตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน


ขอบคุณรูปภาพจากเพจ Creative Talk Live ค่ะ

และสำหรับใครที่อยากรับชม Panel ย้อนหลัง สามารถรับชมได้ที่นี่ค่ะ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...