STI Forum 2018: Future Thinking คิดไกล ให้ "คน" พัฒนาทัน "เทคโนโลยี"

STI Forum 2018: Future Thinking คิดไกลไปข้างหน้า ให้ "คน" พัฒนาทัน "เทคโนโลยี"

หากพูดถึงองค์กรที่ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมสำหรับภาคธุรกิจในประเทศไทย ก็คงหนีไม่พ้น TMA หรือสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งล่าสุด ได้จัดงานสัมมนา STI Forum นำเสนอเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) และนวัตกรรม (Innovation) ไว้ในงานเดียว ซึ่ง Techsauce ได้รับการสนับสนุนจาก TMA ให้เข้าร่วมมงานเพื่อนำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจให้ผู้อ่านทุกท่านกัน

STI Forum 2018: Future Thinking

สำหรับงาน STI Forum ในปีนี้ ไฮไลท์สำคัญคือเรื่อง Technology and Innovation Foresight หรือแนวคิดการ “พยากรณ์” อนาคตของเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สามารถวางแผนองค์กรและการบริหารให้ตรงกับเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเนื้อหานี้ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริหารที่ต้องการพัฒนาทักษะ และต้องการเปิดมุมมองใหม่ในการบริหารงาน เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรทั้งด้านนวัตกรรมและทักษะบุคลากร อันเป็นเป้าหมายที่ TMA ต้องการส่งเสริม

คุณวรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร TMA ขึ้นกล่าวเปิดงานสัมมนา STI Forum 2018

ด้านวิทยากรที่มาแชร์และถ่ายทอดประสบการณ์เรื่อง Technology and Innovation Foresight คือ Mr.Sean Ness, Business Development Director, Institute for the Future (IFTF) จากสหรัฐฯ สถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและวิจัยเพื่อหาเทรนด์ต่างๆ ในอนาคตซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 1968

Technology and Innovation Foresight เทคโนโลยีกำลังก้าวจะไปสู่ทิศทางใด

Mr.Sean Ness, Business Development Director, Institute for the Future (IFTF)

ในการบริหารงานและวางกลยุทธทางธุรกิจ การคาดการณ์ (Forecast) และการมองไปข้างหน้า (Foresight) นับว่ามีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งการ Forecast และ Foresight ให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำนั้น ต้องอาศัยแนวคิดกระบวนการ และการศึกษากรณีตัวอย่างมากมาย

คุณฌอนกล่าวว่า การคาดการณ์เทคโนโลยีไม่ได้ดูที่การพัฒนาหรือค้นคว้าที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูให้ลึกไปจนถึงตัวอย่างการใช้งานจริง (Use Case) ดูถึงการใช้งานในอนาคต ไปจนถึงลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคน

บทเรียนสำคัญในการคาดการณ์อนาคต (Foresight) เพื่อการตัดสินใจ คือ กรณีของ Nokia ที่เคยเป็นผู้นำของตลาดมือถือ โดยมีสัดส่วนการครองทางการตลาดมากกว่า Android ประมาณ 2.5 เท่า แต่ระยะเวลาเพียงแค่ปีเดียว Androind สามารถยึดครองส่วนแบ่งการตลาด และกลายเป็นผู้นำในตลาดยุคปัจจุบัน เนื่องจากสามารถมองเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และหยิบเอาสิ่งนั้นมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ในที่สุด

อีกตัวอย่างหนึ่งคือการเข้าถึงหรือซื้อ Software จากสมัยก่อนที่ต้องซื้อขาดในราคาสูง ปัจจุบัน เปลี่ยนมาขายในรูปแบบสิทธิ์การเข้าถึงหรือ “Access Licensing” ที่มีราคาย่อมเยาลง เลือกเฉพาะโปรแกรมที่ใช้งาน ผู้คนจึงหันมาใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์กันมากขึ้น

คุณฌอน ได้นำเสนอผลงานคาดการณ์อนาคตของ IFTF ถึงยุคต่อไปว่าจะเป็นยุค Internet of Action โดยเริ่มมาจาก Internet of Thing ที่แพร่หลาย เปิดโอกาสให้เกิดวิศวกรรมใหม่ๆ จากความสามารถในการเก็บและใช้ข้อมูล หลังจากนั้นก็จะเริ่มนำ AI ใส่เข้าไปในสิ่งของเพื่อให้ทำงานตอบสนองกับมนุษย์ได้ดีขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ต้องคิดคือการพัฒนา AI ให้สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้จริง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั้งในด้านปัจเจกและด้านธุรกิจ เช่น Facebook ที่พัฒนา AI ตรวจจับความเครียดผ่านข้อความที่โพสลงบนเว็บไซต์ แล้วแจ้งเตือนไปยังจิตแพทย์เพื่อเสนอโอกาสเข้ารับการดูแล ส่วนในด้านธุรกิจ ก็จะเกิด Automatic Machine Actor ซึ่งเป็น Bot ที่ช่วยต่อรองราคาและจองบริการต่างๆ แทนคน

Case Sharing: Technology Foresight ต้อง “คิด” อย่างไรถึงเห็นภาพอนาคต

หลังจากที่นำเสนอผลการคาดการณ์อนาคตไปแล้ว คุณฌอนก็ใช้เวลาช่วงบ่าย เผยแนวคิดที่ IFTF ใช้เพื่อคาดการณ์อนาคต โดยกล่าวว่าให้เริ่มจากการมองหา “สัญญาณ (Signal)”

สำหรับ Signal ในความหมายของคุณฌอน คือสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ แต่มีแนวโน้มนำไปสู่ทิศทางใหม่ หรือนวัตกรรมเล็กๆ ในพื้นที่จำกัดที่เกิดขึ้น แต่มีศักยภาพที่จะแพร่หลาย ขยายขนาด สร้างผลกระทบ และเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมได้ทุกพื้นที่วัฒนธรรม

Now everybody “documenting” event instead of fucusing the event

คุณฌอนยกตัวอย่างว่า Smartphone คือ Signal ในสมัยก่อน มันเปลี่ยนแปลงทุกคนในเวลานั้นให้เป็นอย่างในปัจจุบัน “ทุกวันนี้ ทุกคน “จดบันทึกเหตุการณ์” มากกว่ามีส่วนร่วมกับเหตุการณ์” โดย Smartphone ถือเป็น Enabler ให้เกิดพฤติกรรมนี้ ซึ่ง Smartphone ได้มาถึงจุดสูงสุดแล้วเมื่อเทียบกับจุดเริ่มต้นของมัน ดังนั้น จึงถึงเวลาที่เราจะมองหา “Signal” ใหม่

แต่เมื่อถามถึงสิ่งที่จะมาต่อไป ก็ต้องมองว่าเทคโนโลยีใดจะมีศักยภาพในการสร้างทิศทางใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Virtual Reality, Wearable Device, Bot หรือ Artificial Intelligence ซึ่งคุณฌอนมองว่าจะไม่ได้มีเทคโนโลยีชนิดใดชนิดหนึ่งถูกนำมาใช้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นทุกเทคโนโลยีรวมกันและประสานกันจนเรียบง่าย (Simple Interface) โดยนวัตกรรมหนึ่งที่คุณฌอนมองว่ามีโอกาสทำเงินมหาศาล คือนวัตกรรมการแปลภาษา (Translation) ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ที่หากออกแบบให้ใช้งานได้อย่างไร้รอยต่อ ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดี ย่อมขายได้แน่นอน

การที่เทคโนโลยีแต่ละรายจะผสานกันได้อย่างลงตัวนั้น ต้องอาศัยการพัฒนาการใช้ Data ที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่ง Data ในปัจจุบัน มีคุณสมบัติดังนี้

  • ผสานรวมหรือ Embeded รวมนวัตกรรมที่เกิดขึ้นหลายๆ สาขาเพื่อผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น หมวกจักรยานแบบมีไฟท้ายที่อาศัยข้อมูลความเร็วจาก Smartphone
  • เปลี่ยนนามธรรมเป็นรูปธรรมหรือ Illuminate นำข้อมูลนามธรรมต่างๆ มาเรียบเรียงและนำเสนอให้เป็นรูปธรรม เช่น Memory ของ Facebook ที่รวบรวมโพสต์ต่างๆ ในปีก่อนๆ มานำเสนอเป็นวิดีโอ
  • Multi-sensory ใช้เทคโนโลยีสร้างและตรวจจับความรู้สึกเพื่อช่วยในการสื่อสารทั้งระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับเครื่องจักร เช่น Simsensei โปรแกรมนักจิตวิทยาที่ใช้ AI และ VR ช่วยรักษา ให้ความเป็นส่วนตัว และใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
  • Programmable ข้อมูลจะเปลี่ยนจากเดี่ยวเป็นผสานกัน (From Solo to Symphony) เน้นการใช้งานหลายๆ ทาง (Complex) เพื่อให้ผลลัพธ์เกิดขึ้นในรูปแบบที่ง่ายที่สุด เช่น สั่งให้ AI ส่งข้อมูลพยากรณ์อากาศเข้าเมล พร้อมข้อมูลเสื้อผ้าที่ต้องเตรียมในวันถัดไป หรือ Booking Bot ซึ่งภายในมีการทำงานซับซ้อนเพียงเพื่อต้องการจองโต๊ะอาหารแทนคน จนเริ่ม Disrupt ธุรกิจรับจองโต๊ะอาหารในสหรัฐฯ

ในช่วงท้ายคุณฌอนได้รับคำถามที่น่าสนใจว่า “Signal ต้องรุนแรงแค่ไหนเราถึงจะเริ่มลงมือทำได้” ซึ่งคำตอบคือ เราต้องเป็นฝ่าย “ฝึกฝน” การมองหา Signal เอง ซึ่งกระบวนการฝึกมาจากการอ่านหนังสือหลากหลายสาขา พาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคนฉลาด และออกเดินทางในดินแดนต่างๆ เพื่อสังเกตวิธีการแก้ปัญหาของพวกเขา ซึ่งอาจจะต่างจากเราและได้ผลอย่างคาดไม่ถึง

Interview Session: เจาะลึกแนวคิดวิธีการมองอนาคตให้หลักแหลมกว่าที่เคย

นอกจากเนื้อหาในส่วนของการบรรยายแล้ว TMA ยังได้เชิญสื่อมวลชนสัมภาษณ์คุณฌอน เนสเพื่อสอบถามเพิ่มเติมในประเด็น Technology and Innovation Foresight และ Impact ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คุณฌอนเริ่มต้นด้วยการยกตัวอย่างประโยชน์ของนวัตกรรมว่าให้นึกถึงการใช้รถยนต์ ที่ปัจจุบัน เราต้องเป็นเจ้าของรถยนต์ เป็นผู้ขับ และหาที่จอดรถ ซึ่งใช้เวลาราว 4 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละวัน ทั้งยังต้องบริหารจัดการตึกจอดรถอันเป็นพื้นที่ในเมือง ดังนั้น หากเราสามารถเปลี่ยนเจ้าของรถเป็นผู้ใช้รถยนต์ด้วยบริการ On-Demand ผู้ขับรถจะไม่ต้องเสียเวลาในแต่ละวัน และช่วยลดการใช้ที่จอดรถ ทำให้เราสามารถใช้พื้นที่ในเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แต่ประโยชน์ก็มาพร้อมสิ่งที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างนวัตกรรมที่เข้ามาทดแทนมนุษย์ จะทำให้คนตกงานอย่างฉับพลันจำนวนมาก การสร้างเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเสพติด นับเป็นความรับผิดชอบของผู้สร้างเทคโนโลยีอันท้าทายที่จะต้องคำนึงถึง “หลักจริยธรรม (Ethic)” ร่วมด้วย

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจจากการสัมภาษณ์คือการสร้าง Universal Basic Income ซึ่งคุณฌอนมองว่าต้องก้าวไปอีกขั้นหนึ่งคือการสร้าง Universal Basic Asset ซึ่งเป็นการพูดถึงการครอบครองทรัพย์สิน โดยมองว่า Asset Equality หรือความเท่าเทียมในการครอบครองทรัพย์สินเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าเรื่องรายได้ เพราะในอนาคต เทคโนโลยีจะทำให้พื้นที่ต่างๆ ได้รับการแบ่งปันมากขึ้น การคำนึงถึงเรื่องนี้จะนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง

ในการมองอนาคต คุณฌอนแนะนำว่าระยะคาดการณ์ควรอยู่ระหว่าง 3-12 ปี ไม่ควรต่ำกว่า 3 ปี เพราะเป็นแผนกลยุทธอยู่แล้ว ซึ่งกระบวนการคือการหา Insight จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขามาทำการประเมินเทรนด์ต่างๆ และพยายามคิดถึงผลลัพธ์ต่อไปในอนาคต เช่น ถ้าเรารู้ว่าคนในอนาคตจะไว้วางใจ Bot มากขึ้น พวกเขาจะใช้มันอย่างไร

คุณฌอนยังแสดงความคิดเห็นต่ออนาคตของประเทศไทยว่า ควรมองหาหนทางที่ตัวเองถนัด เราไม่จำเป็นต้องมี The Next Google ซึ่งหากเราถนัดด้านการเกษตร สิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงร่วมกับเทคโนโลยี การตลาดและมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ

ส่วนสุดท้ายคือด้านทักษะและการพัฒนาบุคคล ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านคนที่มีทักษะเดิมสู่งานใหม่ๆ ซึ่งเป็นการรับผิดชอบต่อชีวิตพวกเขา โดยทักษะที่สำคัญในอนาคตแบ่งเป็น Hardskill ได้แก่ “ความสามารถจะสื่อสารกับหุ่นยนต์” ผ่านการ Coding, ออกแบบ Interface และอื่นๆ ส่วน Softskill ยังนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก ประกอบด้วยการสื่อสารและต่อรอง (Communication and Negotiation) ความเห็นอกเห็นใจ (Emphaty) และความเป็นผู้นำ เนื่องจากคนยังต้องการสื่อสารกับคนมากกว่าหุ่นยนต์ อย่างน้อยอีก 5 ปีข้างหน้า

Cultivating the Pervasive: Cyber Security in Digitally Accelerated Economy

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย จำกัด

เมื่อพูดถึงอนาคตของโลกเทคโนโลยีไปแล้ว คงไม่มีเรื่องใดน่าสนใจไปกว่าเรื่องความปลอดภัยบนไซเบอร์หรือ Cybersecurity ซึ่งในงาน STI Forum 2018 ก็มี Session ที่นำเสนอประเด็นนี้โดยตรงโดยคุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย จำกัด

คุณวัตสันชี้ว่า Cybersecurity ทวีความสำคัญมากขึ้นตามความจำเป็นของ Digital Transformation เราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างกำลังเป็น Digital มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีใครอยากกลับไปใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือเก่าๆ ดังนั้น วิธีการรักษาความปลอดภัยแบบเดิมๆ ก็จะใช้ไม่ได้ผล จึงต้องมีการปฏิรูปวิธีการรักษาความปลอดภัยขึ้นมาใหม่

Security Landscape ในปัจจุบันกล่าวได้ว่าอุปกรณ์ของเรา Connect ตลอดเวลา ซึ่งยิ่งเชื่อมต่อก็ยิ่งเสี่ยง การรักษาความปลอดภัยที่ตอบโจทย์จะต้องสามารถปรับแต่งได้มากกว่าเดิม ตอบสนองรวดเร็วฉับไว และสามารถยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัย

Reskilling for industry 4.0 Implication and Action

ผู้คนจะปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีที่พวกเขาคาดหวัง นี่คือหลักการคิดของเทคโนโลยีที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนำมาซึ่งการปรับตัวของคน ซึ่งในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นยุคที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่สุด Ms.Parul Mumshi, Director, PwC Southeast Asia Consulting จะพาไปสำรวจวิธีการรับมือความเปลี่ยนแปลงนี้กัน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าเราใช้เทคโนโลยี ความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในระดับ 20,000 ปีเมื่อก่อน จะเกิดขึ้นภายใน 100 ปีต่อจากนี้ สิ่งที่ตามมาคือ คนจะเปลี่ยนผ่านไม่ทันทักษะใหม่โดยเฉพาะกลุ่มทักษะระดับกลางหรือ Medium Skill ที่จะหายไปมากที่สุด อันเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม จะเกิดงานใหม่จากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีมากกว่าเดิมเกือบ 2 เท่า การฝึกฝนทักษะใหม่จึงให้ประโยชน์นอกเหนือจากความจำเป็นด้วย

Neuromarketing: How neuroscience unlock unpredictable marketing insight

สมองเป็นอวัยวะที่ยังคงเร้นลับต่อความเข้าใจของมนุษย์ แต่การตลาดปัจจุบันที่ต้องการรู้ถึงผลการนำเสนอคงไม่มีส่วนใดบอกได้ดีไปกว่าความรู้สึกและสมอง ดังนั้น Mr.Mario Ubiali, Co-Founder และ CEO ของ Thimus Srl จึงได้ทำการทดลองหา Insight จากสมองผ่านศาสตร์อย่าง Neuroscience

Mr.Mario Ubiali, Co-Founder และ CEO ของ Thimus Srl

สำหรับ Neuromarketing คือการใช้ความรู้ด้าน Neuroscience ไขความลับความพึงพอใจในสินค้าและบริการต่างๆ ถึงภายในสมอง เป็นการรับ Feedback จากการทดลองตลาดที่แม่นยำ สามารถเห็นการตอบสนองของสมองและดวงตาได้แม่นยำ นำไปสู่ข้อมูลว่าผู้ซื้อสนใจด้วยความรู้สึกอย่างไร เพราะสมองไม่สามารถส่งสัญญาณโกหกเมื่อเกิดความรู้สึกต่างๆ ได้ ซึ่ง Neuromarketing นำไปสู่การทำตลาดแบบใหม่ที่เน้นตอบสนองความพอใจของบุคคลอย่างแท้จริง แต่กระนั้น ยังมีเรื่องความเป็นส่วนตัวที่หลายคนมองว่าการรู้ถึงสมองเป็นเรื่องค่อนข้างน่ากลัว

นอกเหนือจากการรับรู้ความพอใจในสถานการณ์ต่างๆ แล้ว Neuromarketing ยังประยุกต์ข้ามไปใช้งานยังภาคการผลิต โดยให้คนทำงานสวมใส่หมวกจับคลื่นสมองและดวงตา ระบุตำแหน่งการมองและความเข้มข้นในการลงมือทำแต่ละขั้นตอน เพื่อให้เห็น Insight ในกระบวนการผลิต นำไปสู่การถ่ายทอดทักษะและการออกแบบการผลิตที่ดีขึ้น

Outstanding Technologist Awards 2018 งานมอบรางวัลยอดนวัตกรรมไทย

นอกจากงานเสวนาแล้ว TMA ยังได้ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบรางวัล Outstanding Technologist Awards 2018 แก่ผู้พัฒนานวัตกรรม โดยมี 2 รางวัลได้แก่ “นักเทคโนโลยีดีเด่น” และ “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่” ซึ่งหลังจากการคัดเลือกโครงการมากกว่า 60 โครงการ ก็ได้ผู้ชนะเลิศในแต่ละรางวัล ดังนี้

  • รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น 
 ผลงาน ระบบควบคุมแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Redundancy (Fully Redundancy EGAT-AVR) นักเทคโนโลยี นายสุวัฒน์ รติวัชรากร และ คณะ ตำแหน่ง วิศวกรระดับ 8 
องค์กร แผนกระบบควบคุมเครื่องจักรไฟฟ้า กองเครื่องจักรไฟฟ้าฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า สำนักงาน กฟผ. ไทรน้อย

  • รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ผลงาน เอนอีซ เอนไซม์อัจฉริยะเพื่อกระบวนการการผลิตสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ENZease : intelligent enzyme for eco-friendly textile production process) นักเทคโนโลยี ดร. ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ องค์กร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ขอขอบคุณสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association)

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

สรุปเทคโนโลยีในปี 2025 เทรนด์ไหนกำลังจะมา ? ฟังความเห็นจาก 3 มุมมองสำคัญ : นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และนักอนาคตศาสตร์

ปี 2025 กำลังจะมาถึงพร้อมกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บทความนี้สรุปและอธิบายเทรนด์สำคัญจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษของ Techsauce เพื่อให้เห็นภาพรวมแ...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...