เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้ตรงกันว่า การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ทำให้แผนต่าง ๆ ของธุรกิจ และ ชีวิตประจำวันของเรา ในปี 2020 - 2021 หยุดชะงัก แต่ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่ตรงกันข้ามเกิดขึ้นนั้นคือ การขยายสัญญาณของเครือข่าย 5G ในประเทศไทย เกิดอะไรขึ้นกับสัญญาณ 5G และ การพัฒนาระบบ 5G ของประเทศไทยบ้าง วันนี้ทาง Thinking Machines จะมาอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจกัน
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า เทคโนโลยี 5G คืออะไร เทคโนโลยี 5G คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเจเนเรชั่นที่ 5 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องของความเร็วในการดาวน์โหลด (Downloading Speed) และ ความเร็วในการอัพโหลด (Uploading Speed) บนเครือข่ายไร้สาย ให้มีความเสถียร และ รวดเร็วขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ 5G จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์โหลด ได้มากกว่าเดิมถึง 20 เท่า และ มีความหน่วงหน่วงน้อยกว่า 4G LTE ถึง 10 เท่า
เทคโนโลยี 5G มีพัฒนาการจาก 1G โดยเริ่มจากการเชื่อมต่อเสียงแบบอนาล็อค ต่อมาในยุค 2G เริ่มมีการส่งข้อความสั้นๆ จนกระทั่ง ยุค 3G ความเร็วของอินเตอร์เน็ตได้เร็วและแรงขึ้นมากสามารถส่งข้อความยาว ๆ ได้ และ เริ่มมีการใช้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ และ รวมไปถึงระบบ Cloud service ใน ยุค 4G
ในปี 2019 การวิวัฒนาการของระบบการสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้มาถึงยุค 5G ซึ่ง 5G จะไม่ได้จำกัดแค่มือถือเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT) ไม่ว่าจะเป็น พาหนะไร้คนขับ (Autonomous Vehicles), ระบบจัดการจราจรอัตโนมัติ ก็ตาม
โดย ผู้ให้บริการในภูมิภาคนี้ก็กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อตอบสนองความต้องการ ทั้งผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม
Infographic สรุปถึงวิวัฒนาการของเครือข่ายไร้สาย ตั้งแต่ 1G ไปจนถึง 5G
ในปี 2020 มีผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 40 ล้าน (อ้างอิงจาก Report ของ Google, Temasek Holdings และ Bain & Company) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ยอดผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตในภูมิภาคกลายเป็น 400 ล้านคน โดยการที่ทำสามารถส่งข้อมูลถึงกันแบบ Real - Time จะทำให้สามารถช่วยให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงเร่งให้มีการการเกิด Digital Transformation ในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การบริการ ไปจนถึง การขนส่ง
ในระหว่างที่มีการระบาดของ Covid-19 ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ อย่าง Advanced Info Service (AIS) และ True Corporation (True) ได้พัฒนาการให้บริการเกี่ยวกับ 5G โดยเริ่มต้นจากบริเวณ โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร จนกระทั่งกระจายให้ครอบคลุมทั่วทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ
มีเพียง 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการให้บริการ 5G กับรายย่อย (ไทย, สิงคโปร์, ฟิลิปลินส์, และมาเลเซีย) โดยประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำที่มีการติดตั้งระบบ 5G ได้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดในภูมิภาคในขณะนี้ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวนกว่า 451 สถานที่ที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ 5G ได้ ในขณะที่ สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ มีเพียงกว่า 30 สถานที่ที่เครือข่าย 5G ครอบคลุมให้สำหรับบุคคลธรรมดา (อ้างอิงข้อมูลจาก Ookla 5G Map)
กรุงเทพมหานครได้กลายมาเป็นเขตที่มีสัญญาอินเตอร์เน็ตที่เร็วที่สุดเป็น อันดับที่ 2 ในภูมิภาคเป็นรองเพียง สิงคโปร์ที่รั้งตำแหน่งผู้นำอยู่ในขณะนี้และความเร็วอินเตอร์เน็ตในกรุงเทพมหานครจะไม่หยุดแค่นั้นแน่นอน จากข้อมูลของ Ookla บอกว่า ค่าเฉลี่ยของ ความเร็วการ Download ในกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นตลอดทั้งปี 2022 กว่า 25 Mbps
ถึงแม้ว่าตอนนี้เครือข่าย 5G ครอบคลุมแทบจะทั่วทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล แล้วแต่ในขณะเดียวกันนั้นพื้นที่ภูมิภาคอื่น ๆ กลับมีเสาสัญญาณ 5G ที่สามารถรองรับการใช้งานน้อยมาก โดยจากการรวบรวมข้อมูลพื้นที่ในแต่ละตำบลในประเทศไทย พื้นที่ที่รองรับสัญญาณ 4G (อ้างอิงข้อมูลจาก OpenCelid.org) และพื้นที่รองรับสัญญาณ 5G จาก Ookla พบว่า 99% ของพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล สามารถเข้าถึงระบบ 4G ได้ แต่มีเพียง 4.19% ของพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล ที่สามารถเข้าถึงระบบ 5G ได้
จากการวิเคราะห์ของทีม Thinking Machines แผนที่ด้านล่าง ว่าพื้นที่ใดที่เข้าถึงเครือข่ายประเภทใดบ้าง จากการวิเคราะห์จะพบว่าพื้นที่สีส้มนั้น แสดงถึงพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงสัญญาณ 4G ได้ และ พื้นที่สีน้ำเงินคือพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงสัญญาณ 5G ได้
ธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์ในประเทศไทยต้องการแผ่ขยายเสาสัญญาณเพิ่ม โดยจำเป็นต้องมีข้อมูลที่แม่นยำและทันเวลาเพื่อที่จะตัดสินใจลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เสาสัญญาณในการขยายเครือข่าย 5G ในการทำธุรกิจ ซึ่งการใช้ 5G นั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการขยายเสาสัญญาณเพียงอย่างเดียวแต่อุปกรณ์ของผู้ใช้งานจำเป็นต้องอัพเดทตามเพื่อให้รองรับกับเครือข่าย 5G ด้วย
จากที่ Thinking Machine ได้ร่วมงานกับ บริษัทโทรคมนาคมระดับโลกในฟิลิปปินส์ เพื่อสร้างเครื่องมือในการวางแผนการลงทุน โดยใช้ความสามารถของ AI (Artificial Intelligence) ในการสังเกตประเภทของอาคารจากการการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ และวิเคราะห์ความมั่งคั่งของแต่ละพื้นที่จากข้อมูลต่าง ๆไม่ว่าจะเป็น ความหนาแน่นของประชากร สถานที่สำคัญในแต่ละพื้นที่ โดยสามารถดูผลงานที่ใช้ Geospatial AI ของเราที่ได้ร่วมงานกับบริษัทโทรคมนาคมระดับโลกในฟิลิปปินส์ได้ที่นี่ หรือ สามารถทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Location Intelligence ได้ที่นี่
จากการวิเคราะห์ว่า พื้นที่ส่วนไหนของประเทศไทยที่มีแนวโน้มที่จะขยายการรับ - ส่งสัญญาณ 5G โดยผลการวิเคราะห์ได้สรุปว่าพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นอย่าง ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี, เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร หรือ ตำบลวิชิต จังหวัดภูเก็ตนั้น เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงสัญญาณ 4G แล้ว และ เป็นพื้นที่ใหม่ที่น่าสนใจในการลงทุนสร้างเสาการรับ - ส่งสัญญาณ 5G เพื่อขยายการเข้าถึง 5G ในประเทศไทย
นอกจากประเทศไทย และ สิงคโปร์ แล้ว เวียดนามยังเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีแนวโน้มในการ ขยายสัญญาณเครือข่าย 5G เพราะเวียดนามเป็นประเทศที่มีการคาดการจาก World bank ว่าการเจริญเติบโตของ Gross domestic product (GDP) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งเอเชียแปซิฟิคและของโลกอีกด้วย รวมทั้งประเทศเวียดนามยังมีข้อตกลงทางการค้ากับหลากหลายประเทศทั่วโลก อย่าง APEC CPTPP EVFTA กับ ยุโรป RCEP และ ASEAN (อ้างอิงข้อมูลจาก asiabizconsult)
โดยในทุกครั้งที่คุณจะขยายพื้นที่เสาสัญญาณใหม่ หรือ ขยายลงทุนใหม่ๆในการทำธุรกิจ การมีข้อมูล และ การเข้าถึงข้อมูลสามารถช่วยในการตัดสินใจได้มากกว่า เพราะทำให้ธุรกิจสามารถเข้าใจตลาดได้มากขึ้น หากธุรกิจ หรือ องค์กรต่าง ๆ ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมว่า thinking Machines สามารถช่วยได้อย่างไร สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ สามารถทดลองรับคำปรึกษาฟรี โดยติดต่อผ่าน ทางเว็บไซต์ https://thinkingmachin.es/ หรือ อีเมล์ [email protected]
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด