“ตลาดปัญญา” เปิดตัวระบบการเรียนแบบบุฟเฟ่ต์ โดยมี Video Analytics เป็นนวัตกรรมเบื้องหลังของ EdTech รายนี้ | Techsauce

“ตลาดปัญญา” เปิดตัวระบบการเรียนแบบบุฟเฟ่ต์ โดยมี Video Analytics เป็นนวัตกรรมเบื้องหลังของ EdTech รายนี้

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตลาดปัญญา (Taladpanya.com) แพลตฟอร์มระบบการเรียนออนไลน์ที่เชื่อมต่อผู้สอนและผู้เรียน ได้เปิดตัวระบบบุฟเฟ่ต์ ซึ่งเป็นระบบการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนไม่ต้องซื้อคอร์สเป็นรายคอร์สอีกต่อไป แต่ใช้ระบบเครดิต (coins) ในการเรียนแทน

แม้ว่าคอนเซปต์นี้จะฟังดูเรียบง่าย แต่ในการพัฒนาจริงแล้ว มีความท้าทายอยู่หลายประการทีเดียว นั่นทำให้ ตลาดปัญญา ได้เป็นเจ้าแรกในไทยที่นำเสนอระบบการเรียนในลักษณะนี้

ทีมงาน Techsauce ได้มาพูดคุยกับ คุณธนกร ชาลี ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ TaladPanya.com ถึงที่มาที่ไปต่างๆ รวมถึงขอแนวคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงการ EdTech ด้านระบบคอร์สเรียนออนไลน์ด้วย

ทำไมตลาดปัญญาถึงพัฒนาระบบบุฟเฟ่ต์ขึ้นมา?

คุณธนกร: สิ่งที่เป็นความท้าทายสำหรับคนทำแพลตฟอร์มระบบการเรียนออนไลน์ ก็คือ คนไทยจำนวนมากยังสนใจอยากเรียนแบบเจอหน้ามากกว่า ส่วนกลุ่มที่สนใจเรียนแบบออนไลน์ก็มีอยู่ แต่เรื่องการตัดสินใจซื้อคอร์สออนไลน์ก็ยังมีอุปสรรคอยู่

และสิ่งหนึ่งที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจซื้อคือ เรามักจะมีคำถามกันว่า คอร์สนี้จะดีหรือเปล่า? คนนี้จะสอนดีไหม?

ดังนั้นผมจึงคิดว่าเราอยากจะมีทางเลือกใหม่ๆ ให้ แทนที่จะต้องซื้อเป็นคอร์ส เราเปิดระบบการเรียนด้วยเครดิต ให้ผู้เรียนสามารถซื้อเครดิต แล้วนำเครดิตไปเลือกกดเรียนวิดีโออะไรก็ได้ ของคอร์สอะไรก็ได้ (จึงเรียกว่าระบบบุฟเฟต์)

ซึ่งโมเดลแบบนี้มีความยืดหยุ่นมากกว่า

จะลองดูก่อนสั้นๆ ดูว่าเนื้อหาใช่ที่สนใจไหม และสอนดีหรือเปล่า แล้วค่อยไปซื้อคอร์สเต็ม ก็ได้ เขาจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หรือจะดูด้วยโหมดเครดิตอย่างเดียวก็ยังได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซื้อเครดิตเพื่อเรียนทั้งคอร์สก็ถูกกว่าการซื้อคอร์สนั้นไปเลย แต่ข้อดีของการซื้อคอร์สก็คือ กลับมาดูทบทวนได้อีกไม่จำกัด เป็นเจ้าของคอร์สนั้นไปเลย

การจะทำโมเดลนี้ได้ เบื้องหลังต้องใช้อะไรในการทำงานบ้างคะ

คุณธนกร: การจะทำโหมดนี้ได้ ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหมือนกัน การพัฒนาโหมดนี้ขึ้นมาก็มีงานที่เราต้องทำเพิ่ม

อย่างแรกเลยคือเรื่อง ระบบการนับปริมาณการดูวิดีโอ (Consumption Measurement)

ในฝั่งผู้เรียน เราต้องสามารถจับเวลาที่ผู้เรียนใช้จริงเวลาดูวิดีโอได้อย่างแม่นยำ เพราะเราใช้เครดิต ตัดจากเวลาตามปริมาณนาทีที่ใช้ดู ถ้าเขากดพัก (pause) หรือกดข้าม (skip) การจับเวลาก็ต้องหยุด หรือกดแบบ ข้ามๆ ดูผ่านๆ ก็ต้องนับเวลาเฉพาะที่ดูจริง ถ้าเล่นซ้ำ ต้องกลับไปนับเวลาเพิ่ม ระบบต้องติดตามได้หมด

อย่างที่สองคือเรื่อง Billing

ในฝั่งผู้เรียนเครดิตจะถูกตัดตามปริมาณนาทีที่ใช้ดู บนหน้าคอร์สจะมีการระบุราคา เครดิต-ต่อ-นาที ของแต่ละคอร์ส ถ้าเครดิตหมดก็สามารถซื้อเครดิตเพิ่มได้

ส่วนในฝั่งผู้สอน การแบ่งรายได้ให้แก่ผู้สอนก็จะไม่ใช่แบ่งตามราคาคอร์สอีกต่อไป แต่แบ่งตามปริมาณเครดิตที่มีผู้เรียนมาเรียนในวิดีโอของเขา

สุดท้ายคือเรื่องการทำ Video Analytics เราทำระบบการนับปริมาณการดูวิดีโอ ซึ่งนั่นก็ถือเป็นการทำ Tracking พฤติกรรมการดูวิดีโอรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เราบอก Insights ให้กับผู้สอนได้ เช่น กราฟที่ช่วยบอกผู้สอนได้ว่าช่วงไหนของวิดีโอเป็นช่วงที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ช่วงไหนเป็นช่วงที่คนดูผ่านๆ

ภาพจำลองตัวอย่างระบบ Analytics

สุดท้ายระบบการเรียนแบบบุฟเฟต์/แบบเครดิตนี้ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการขายของผู้สอน และยังช่วยให้เขาทราบ Feedbacks และนำไปปรับปรุงการสอนได้อีกด้วย

Cisco บอกว่าตอนนี้ 80% ของ Data ที่วิ่งทั่วโลกเป็นวิดีโอ แล้วยังมีสถิติบอกอีกด้วยว่าในการทำวิดีโอ คุณจะต้อง Hook เขาให้ได้ ภายใน 7 วินาที

เบื้องหลังระบบ Video Analytics & Consumption Measurement

คุณธนกร: วีดีโอของเราโฮสต์อยู่บน Amazon Cloud ซึ่งโดยส่วนตัวผมเป็นสมาชิกของ Amazon AWS’s ASEAN Partner Advisory Board ซึ่งเป็นผู้แทนจาก AWS partner ในการเป็นคณะกรรมการที่ให้คำปรึกษากับ AWS ทั้ง ASEAN มีอยู่ประมาณ 10-20 คน คนไทยมี 2 คน ประโยชน์ก็คือ เราได้รับทราบ Service ใหม่ๆ และ Direction ของ AWS ก่อนใคร และได้รู้จักกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำรายอื่นๆ

จริงๆ ตัวเทคโนโลยีที่ทำนี้ไม่ได้ยาก แต่การพัฒนาจริง เราพบว่ามีอุปสรรคบางอย่างติดขัดอยู่ การที่เราอยู่ใน Community นี้ ทำให้เราสามารถต่อยอดการใช้งาน Cloud ได้ดียิ่งขึ้น ลำพัง AWS ไม่ได้ให้ข้อมูล Video Consumption และ Analytic ออกมา เราต้องพัฒนาเพิ่ม และเมื่อได้พูดคุยปรึกษากับพาร์ทเนอร์ใน Community ก็ช่วยให้เราสามารถพัฒนาระบบตัวนี้ออกมาได้สำเร็จ

ในส่วนของ Cisco ผมเป็น Global Partner Operation Advisory Board มีสมาชิกไม่ถึง 100 คนทั่วโลก และจากประเทศไทยมีเพียงแค่หนึ่งตัวแทน คือ บริษัท MFEC

ทราบมาว่ากำลังขยายฐาน Customer Segment กลุ่มใหม่ด้วย

คุณธนกร: ผู้ใช้หลักของ ตลาดปัญญา คือกลุ่มคนวัยทำงาน เรียนจบแล้ว อยากมีความก้าวหน้า

เราจึงนำเสนอเนื้อหาหลากหลาย ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความก้าวหน้า ตอนนี้มีคอร์สประมาณร้อยคอร์ส เช่น ไอที การตลาด ธุรกิจ หุ้น และคอร์สสร้างอาชีพ เช่น สอนขายของบน Amazon, eBay, Alibaba

นอกจากนั้น ตลาดปัญญา กำลังจะไปยังกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย และนักเรียน

ผมเริ่มคุยกับมหาวิทยาลัยบางแห่งมาซักระยะแล้ว น่าจะเริ่มจากคอร์สหรือหลักสูตรระยะสั้นก่อน แล้วค่อยขยับไปสู่ทางการ (มีประกาศนียบัตร/ใบรับรอง) มากขึ้น เป็นโมเดลที่คล้ายกับ Coursera ในต่างประเทศ

อีกด้านหนึ่งคือเว็บไซต์ ตลาดติวเตอร์ (TaladTutor) สำหรับเด็กมัธยม เว็บไซต์นี้บริษัท MFEC เป็นเจ้าของ แต่มี ตลาดปัญญา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีให้

สรุป

แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ของ ตลาดปัญญา กำลังนำเสนอ Business Model ใหม่ ที่สินค้าไม่ใช่คอร์สออนไลน์เป็นรายคอร์สเพียงอย่างเดียว แต่นำเสนอระบบเครดิตที่คิดค่าเรียนตามเวลาการดูวิดีโอ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผู้เรียน และราคาค่าเรียนยังถูกลงกว่าการซื้อทั้งคอร์ส

ในการนำเสนอ Business Model ใหม่นี้ ตลาดปัญญา ต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาเพื่อช่วยรองรับ เช่น การวัดปริมาณการรับชม และพฤติกรรมการรับชม ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนแล้ว ยังนำมาสู่ Insight ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สอนด้วย

โมเดลใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ตามมาด้วยคอนเทนต์ใหม่ๆ ตลาดปัญญา จะขยาย Customer Segments เพิ่มเติม ให้ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลาย สำหรับคนวัยทำงาน และนำเสนอเนื้อหาเพื่อกลุ่มคนวัยเรียนด้วยในอนาคต

สุดท้ายทีมงาน Techsauce สอบถามถึงเป้าหมาย และแรงบันดาลใจของคุณธนกร ในการทำ ตลาดปัญญา คุณธนกรเล่าให้ฟังว่า...

ถ้าเราจะทำอะไรที่มันเป็นธุรกิจแล้ว อย่าให้มันเป็นประโยชน์ให้กับตัวเองอย่างเดียว แต่ให้มันเป็นประโยชน์กับผู้อื่นด้วย สำหรับผม ผมมองเรื่องการศึกษา

จริงๆ ถ้าเราทำคอร์สเองคอร์สเดียว เราก็ได้ค่าสอนเต็มๆ ไปแล้ว

มาทำเป็นแพลตฟอร์ม เราแบ่งผู้สอน แบ่งนักการตลาด มีค่าใช้จ่ายในการทำแพลตฟอร์ม

แต่ผมมองว่าถ้าเราทำคนเดียว จะทำคอนเทนต์ดีๆ ทำคอร์สดีๆ ตั้งหลายคอร์ส ได้ยังไง

ดังนั้นเราเลยคิดว่าถ้าเราทำเป็นแพลตฟอร์ม แล้วนำคนที่รู้จริงในแต่ละด้านมาร่วมกันทำ ร่วมกันสอน ก็จะเป็นประโยชน์ต่อวงกว้างมากกว่า

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ ตลาดปัญญา และอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับระบบบุฟเฟต์เพิ่มเติมต่อ

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...