คุยกับผู้พัฒนา COVID Tracker เผยสิ่งที่อยากให้สนับสนุนคือ ‘ข้อมูล’ | Techsauce

คุยกับผู้พัฒนา COVID Tracker เผยสิ่งที่อยากให้สนับสนุนคือ ‘ข้อมูล’

สัปดาห์ที่ผ่านมา แพลตฟอร์มที่ถูกพูดถึงในเป็นอย่างมากก็คือ COVID Tracker ทำให้ชื่อของผู้พัฒนาอย่าง 5lab ก็ถูกพูดถึงในวงกว้าง วันนี้ Techsauce นั่งคุยกับ 3 สาวแห่ง 5lab กับการพัฒนาเว็ปแอปฯ COVID Tracker ที่เกิดจากไอเดียอยากทำขึ้นมาใช้เองแต่กลับโด่งดังเพียงข้ามวัน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และกำลังจะพัฒนาให้ชาวต่างชาติได้เข้ามาดูข้อมูลกันด้วย

คุณแพรว คุณโบว์ และคุณเจนนี่ 5lab

รู้จักกับ 5lab

คุณพัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล หรือคุณโบว์ CMO ของ 5lab เล่าว่า 5lab เป็นบริษัทซอร์ฟแวร์ ผลิตเว็บไซต์เล็กๆ โดยมีทีมเพียงแค่ 7 คนเท่านั้น โดยในทีมยังมีคนรุ่นใหม่อย่างเจนนี่ รมิดา จึงไพศาล Product Designer & Front-end Developer และแพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช Product Designer & Project Manager ที่อายุเพียงแค่ 24 ปีเท่านั้น

เจนนี่เปิดเผยว่า การทำงานของ 5lab ไม่ใช่ต่างคนต่างทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง แต่ 1 คน สามารถทำได้หลายอย่างเช่น Designer สามารถ Code ได้ ในขณะที่ Developer ก็สามารถ Design ได้ ทำให้งานออกมาสมูท เป็นการรวมกันของเทคโนโลยีกับการดีไซน์


จุดเริ่มต้นของ COVID Tracker

เจนนี่เล่าว่า ทุกวันนี้มีข่าวเยอะเกี่ยวกับพื้นที่ต่างๆที่เป็นจุดเสี่ยง ซึ่งเป็นที่ๆเธอมักไปบ่อยๆ จึงคุยกับทีมว่า ถ้ามีแพลตฟอร์มที่สามารถบอกได้ว่าตรงไหนเป็นจุดเสี่ยง มีข้อมูลที่ถูกต้องก็คงจะดี จึงพัฒนาเว็บแอปฯขึ้นมา โดยจุดประสงค์แรกในการพัฒนาคือใช้กันเองในกลุ่มเพื่อน

Covid Tracker เกิดจากความ panic ของใครหลายๆคนรวมทั้งเราเอง เลยคิดขึ้นมาเล่นๆ ว่าน่าจะมีแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลไว้ ลองทำมั้ย ทำเล่นๆเพื่อใช้กันเอง

เราใช้เวลาทำในคืนวันพฤหัส และ CTO ของบริษัทได้เผยแพร่บน Facebook ในเช้าวันศุกร์ ปรากฏว่าเกิดการแชร์ต่อเยอะมาก ซึ่งขณะนั้นทุกคนในทีมต่าง Work From Home อยู่ ก็ไม่คิดว่าจะได้รับความสนใจมากขนาดนี้


คุณโบว์กล่าวเสริมว่า Covid Tracker เป็นเว็บแอปฯ ไม่ใช่แอปพลิเคชัน ที่ผ่านมาหลายคนสอบถามเข้ามาเยอะว่าหาใน Play Store หรือ App Store ไม่เจอ ซึ่งจริงมันคือลิงก์ ไม่ได้เป็นแอปฯที่จะดาวน์โหลด โดยทางทีม 5lab ก็ได้มีการสื่อสารออกไปแล้วว่า จะกดเก็บไว้ในหน้าจออย่างไรบ้าง อีกทั้งก็มีเพจอื่นๆช่วยกันแนะนำวิธีใช้ด้วย

“COVID Tracker เป็นเรื่องของ Location Base เราออกแบบให้คนดูง่าย ใช้สัญลักษณ์เป็นสีต่างๆ อย่างสีแดงกระพริบๆ คือเคสของคนที่เพิ่งถูกคอนเฟิร์มว่าติดเชื้อภายในระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมา”

สิ่งที่อยากได้คือ ‘ข้อมูล’

คุณโบว์เปิดเผยว่า เวลานี้เมื่อ COVID Tracker ถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้ประชาชนเข้ามาดูเยอะมาก เป็นหลักล้านคน และมีการรายงานเข้ามาเองของประชาชนว่า มีจำนวนเคสเกิดขึ้นแล้ว แต่ทีมงานก็ไม่สามารถเอาข้อมูลดังกล่าวมาแสดงบนเว็บได้ เพราะเรายังไม่ได้รับการยืนยันข้อมูลจากแหล่งข่าวหรือกระทรวงสาธารณสุข

เราอยากได้หน่วยงานที่ให้ข้อมูลกับเราได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง เพราะสิ่งที่ประชาชนพยายามจะรายงานเข้ามา เรายังไม่สามารถจะเอาขึ้นได้จริงๆถ้ายังไม่ได้รับการยืนยัน

เจนนี่กล่าวเสริมว่า “เราพยายามจะทำให้ข้อมูลถูกต้องมากที่สุด ถ้าเราปักผิด ใกล้บ้านใครแล้วเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาก็จะกระทบกับผู้อื่นได้ ถ้าเราไม่รู้ว่า location ที่เกิดเคสอยู่ตรงไหน ก็ไม่ปักดีกว่า”

ทีมแบ่งงานกันอย่างไร?

ในด้านข้อมูลที่นำมาใส่ในเว็บ ทางทีมมีแพรวและหนูดีคอยดูแล และเช็คข้อมูลกัน ทั้งจากเว็บของสำนักข่าวและกระทรวงสาธารณสุข แต่ปัจจุบันเริ่มมีการเผยข้อมูลของจำนวนเคส แต่ไม่ระบุตำแหน่ง ทำให้ทีมทำงานยากขึ้น

มีภาครัฐและเอกชนติดต่อเข้ามาหรือไม่?

เมื่อแพลตฟอร์มเผยแพร่ออกไปก็มีทั้งภาครัฐและเอกชนมาติดต่อเข้ามาจำนวนมาก แต่อย่างเดียวที่เราขอไปกับทุกๆคนที่ติดต่อเข้ามาคือการสนับสนุนเรื่องข้อมูล

“เราอยากได้ข้อมูลที่ครบถ้วน เป็นช่องทางที่เอามาให้เราใช้ได้โดยตรง และถูกต้อง ซึ่งเราก็ได้มีการแจ้งไปในทุกๆหน่วยงานที่ติดต่อเข้ามา” คุณโบว์กล่าว

สำหรับการพูดคุยครั้งนี้ทีม 5lab เผยว่าจะมีการเผยแพร่เวอร์ชั่น 2 ต่อในเย็นวันนี้ จะมีอะไรเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง รอติดตามกันได้ที่ COVID Tracker 

ด้าน Techsauce ขอเป็นกำลังใจให้กับทีมงานทั้ง 7 ท่าน ในการพัฒนาเว็บแอปที่เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างนี้ต่อไป ทั้งนี้ผู้อ่านสามารถติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ใน Techsauce Podcast

ฟัง Podcast

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...