นับเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับงาน MIT Media Lab Southeast Asia Forum ที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกา (MIT Media Lab) ร่วมกับกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) และธนาคารกรุงเทพ (BBL) เมื่อวันที่ 19-21 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา
โดยภายหลังจากจบงานในวันที่ 21 ธันวาคม ผู้บริหาร KBTG และ KBTG Fellow ได้แก่
ได้เปิดเผยถึงเบื้องหลังและแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ให้สื่อมวลชนได้ฟังกัน Techsauce จึงขอหยิบแนวคิดที่น่าสนใจของ MIT Media Lab ต่อเทคโนโลยีและสังคม และการนำมาใช้ในประเทศไทยมาให้ผู้อ่านได้อ่านกัน
เทคโนโลยีที่ใกล้ตัวกับมนุษย์มากที่สุดคือเทคโนโลยีที่เราสามารถนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันหรือการทำงาน ทำให้หลายเทคโนโลยีถูกพัฒนามาเพื่อการพาณิชย์ แต่คำถามแรกที่ควรตั้งกับการสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีคือ ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและมนุษย์ควรจะเป็นอย่างไร ?
คุณพัทน์ ในฐานะนักศึกษาปริญญาเอกใน MIT Media Lab ที่ได้รับทุนวิจัย KBTG Fellowship จาก KBTG เล่าให้ฟังถึงแนวคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีของ MIT ว่าเป็นการสร้างความเป็นไปได้แบบไร้ขีดจำกัด ภายในแนวคิด 4 Ps คือ Passion (ความหลงใหล), Play (วิจัยเพราะอยากทำให้สนุก), Project (ทำเป็นโปรเจกต์) และ Peer (การมีเพื่อนช่วยส่งเสริมต่อยอดไอเดียกัน) ผลงานที่เกิดขึ้นจึงมีตั้งแต่การวิจัยการทำงานของแบคทีเรียในกระเพาะอาหารของมนุษย์ การสร้างจอสัมผัส (Touch screen) ไปจนถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในอวกาศ ภายใต้แนวคิดว่าเทคโนโลยีจะมาช่วยให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้นได้อย่างไร ?
โดยได้ยกตัวอย่างว่า มนุษย์เราหลายคนอาจจะสงสัยในศักยภาพของตัวเอง ทำให้เราไม่แน่ใจว่าตัวตนในอนาคตของเราจะเป็นอย่างไร และเราหลายคนก็มักจะคิดถึงผลลัพธ์ระยะสั้นทำให้ไม่ได้ตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุดให้ตัวเอง จากผลการวิจัยทางจิตวิทยาพบว่า ถ้าเราได้เห็นความแตกต่างของตัวตนในปัจจุบันเทียบกับตัวตนในอีก 10 ปีข้างหน้า จะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น นั่นเป็นสาเหตุของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Future You ขึ้น โดย Future You คือ AI ที่นำข้อมูลและตัวตนของเรามาจำลองเพื่อให้เกิดตัวตนของเราในอนาคตในแบบต่าง ๆ ที่จะมาคุยกับเราเพื่อช่วยให้เราเห็นภาพตัวเราในอนาคตในแบบต่าง ๆ ได้
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดเชิงพาณิชย์ แต่หากทำได้สำเร็จจะเป็นประโยชน์กับมนุษย์จริง ๆ ซึ่งใน MIT Media Lab ก็มีเทคโนโลยีที่มีแนวคิดนี้มากมาย แต่ MIT ตั้งอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ในประเทศไทย
คุณกระทิง เล่าให้ฟังว่า KBTG เป็น Tech Company ที่มีการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จึงได้มีการร่วมมือกับ MIT ในการเป็น Research Consortium (พันธมิตรในการวิจัยและค้นคว้า) กันมา และหากมีโอกาสก็อยากจะนำผู้เชี่ยวชาญจาก MIT มาทำให้คนไทยเห็นความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี จากที่เรามองนักวิทยาศาสตร์เป็นคนที่คุยไม่รู้เรื่อง แต่ปรากฎว่าผู้เชี่ยวชาญที่มาในงานนี้ นอกจากคุยสนุกแล้วยังเปิดให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และมุมมองที่เปิดกว้างมาก ๆ ซึ่งทำให้ผู้ฟังได้เห็นว่าวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีในอีก 10 ปีหรือ 100 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
ตรงกับความต้องการของคุณพัทน์ ที่เมื่อมีโอกาสได้ไปเรียนไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแห่งความเป็นไปได้ที่ MIT ก็อยากจะให้ประเทศไทยมีบ้าง จึงเริ่มต้นคิดถึงการนำ MIT Media Lab เข้ามาในประเทศไทย และเมื่อ KBTG มี Collaboration กับ MIT อยู่แล้ว ก็ยิ่งคิดว่าเป็นไปได้
ขณะที่ MIT Media Lab มีแนวคิดในการขยายและเผยแพร่ความรู้ไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ จึงทำให้ได้พูดคุยกันเพื่อจัดงานเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสำนวน The elephant in the room หมายถึง ปัญหาที่ทุกคนเห็นเหมือนกัน แต่ไม่ได้รับการแก้ไข และถ้าธีมงานครั้งนี้จะไปไกลกว่าแค่ปัญหาที่เห็นน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ฟังอย่างมาก จึงเป็นที่มาของธีมงาน “Beyond the Elephant in the room” (มองไปให้ไกลว่าปัญหาที่เรามองเห็น)
ภายในงานจะพบกับเรื่องราวของแนวคิดทางเทคโนโลยีที่ไม่ใช้แค่ผลิตสินค้ามาขาย แต่เป็นการยกระดับชีวิตมนุษย์ด้วยการผสานหลาย ๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน (Multidisciplinary) เช่น การศึกษาชีวิตของแบคทีเรียในกระเพาะอาหารของมนุษย์เพื่อการสร้างเสียงดนตรีที่ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของศาสตร์ที่ต่างกัน หรือการบรรยายของผู้บริหารหญิง Dava Newman ผู้อำนวยการ MIT Media Lab อดีตรองผู้อำนวยการองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (Deputy Administrator of NASA) ที่สร้างแรงบันดาลใจข้ามกรอบความเป็นไปได้
ดร.ทัดพงศ์ เปิดเผยว่า นอกจากเยาวชนแล้ว มีผู้บริหารหลายคนที่มาคุยกับเขาว่า หลังจากฟังการบรรยายแล้ว ทำให้นึกได้ว่าตนเองเคยฝันอยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ และยินดีมากที่ทั้งคนรุ่นใหม่และผู้ฟังทุกคนได้รับแรงบันดาลใจ รวมถึงมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี
โดยคุณพัทน์เสริมว่า AI อาจจะเคยถูกมองเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งในโลกนี้มีสิ่งที่ให้ข้อมูลกับเราเยอะมาก ทั้งโซเชียลมีเดีย ทั้งวิดีโอ บทความต่าง ๆ และคนก็ยังมอง AI เป็นสิ่งที่จะมาแย่งงานมนุษย์ แต่ถ้าเราเอา AI มาเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ น่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีที่ดีกว่า เช่นใน Future You ที่ MIT กำลังพัฒนาขึ้น
เมื่อพูดถึง AI คุณกระทิงจึงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ใน KBTG ก็พยายามเอาวิธีมอง Technology ใหม่ ๆ มาใช้เช่นกัน โดยคุณกระทิงก็นำแนวคิดการทำเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ชีวิตมนุษย์จาก Silicon Valley ที่คุณกระทิงเคยทำงานมาก่อนมาใช้ และวันนี้ก็พยายามจะนำแนวคิดการนำเทคโนโลยีมาเสริมศักยภาพของมนุษย์จาก MIT มาอยู่ใน KBTG
ดร. ทัดพงศ์ ตอบคำถามในด้านเทคโนโลยีของ KBTG ว่าทิศทางของ MIT Media Lab และ KBTG เหมือนกันตรงที่อยู่บนกุญแจสำคัญ 3 ดอกคือ (1) คน (People) (2) เทคโนโลยี (Technology) และ (3) การสร้างผลกระทบ (Impact) ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ KBTG พบในตัวคุณพัทน์ จึงได้ให้ทุนวิจัย KBTG Fellowship เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและคนที่มีความรู้ใหม่ ๆ ไปสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ต่อโลก
ดร.มนต์ชัย เสริมมุมมองว่า งานในวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของทั้งการสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างความเป็นไปได้ รวมถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและคนต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้าง Ecosystem ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้ในฐานะมนุษย์ ที่ไม่ใช่การเอาเทคโนโลยีนำ แต่เป็นการเอาเทคโนโลยีมาส่งเสริมมนุษย์
จากการมีคนมาเต็มห้องทั้ง 2 วันที่ผ่านมา (19-20 ธันวาคม 2565) ทำให้รู้สึกว่าคนไทยให้ความสนใจมากทั้งที่หัวข้อที่พูดเป็นเรื่องที่ลึกและเข้าใจยาก และเมื่อคนออกมาจากห้องก็ได้ยินบทสนทนาถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ รวมถึงการค้นพบ Passion ของตัวเอง ทำให้คุณพัทน์รู้สึกอิ่มใจมากกับการจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการเติมเต็มความต้องการยก MIT Media Lab ของทั้งคุณพัทน์, KBTG, ธนาคารกรุงเทพ ผู้สนับสนุนทั้งสมาคมศิษย์เก่า MIT, MQDC, True และผู้สนับสนุนอีกมากมายเข้ามาไว้ที่ประเทศไทยได้สำเร็จ
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด