บทสรุปสุดเข้มข้นบนเวที TechJam ภาคเหนือ พร้อมพูดคุยกับ 4 ผู้ชนะ | Techsauce

บทสรุปสุดเข้มข้นบนเวที TechJam ภาคเหนือ พร้อมพูดคุยกับ 4 ผู้ชนะ

  • TechJam 2018 เป็นการแข่งขันด้านทักษะเทคโนโลยีและการออกแบบเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในสังคม
  • การแข่งขันจะแบ่งเป็นสามหมวดคือ Code, Data และ Design โดยจะหาผู้ชนะในภาคต่างๆ มาแข่งหาผู้ชนะในระดับประเทศซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 3 พ.ย. นี้
  • พูดคุยกับ 2 ทีมที่ชนะในหมวด Code และหมวด Data จากการแข่งขันในภาคเหนือ ถึงสิ่งที่ได้รับจากการแข่งขันครั้งนี้

เป็นอีกครั้งที่ทาง KBTG (KASIKORN Business Technology Group) จัดการแข่งขันทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีและการออกแบบในเวทีที่มีชื่อว่า TechJam 2018 โดยปีนี้จัดในหัวข้อ “Tomorrow Squad” หรือ “ขุนพลแห่งอนาคต” เปิดให้คนรุ่นใหม่ในทุกวงการและทุกภูมิภาคของประเทศที่เล็งเห็นถึงศักยภาพในการแก้ปัญหาด้วยพลังการออกแบบทางเทคโนโลยี มาร่วมกันสร้างความเป็นไปได้ในการผลักดันให้สังคมไทยเกิดวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรมที่แก้ปัญหาให้กับผู้คนในประเทศ นับเป็นการแข่งขันที่เราจะได้เห็นเหล่าคนรุ่นใหม่รวมทีมกันระดมไอเดียฟาดฟันกับโจทย์ปัญหา ภายใต้กรอบจำกัดของเวลาและความกดดันจากสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่ต้องอาศัยทั้งความคิดสร้างสรรค์ ความอึด ความมีสติในการตัดสินใจที่เฉียบคม

โดยการแข่งขัน TechJam 2018 จะแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ Code Squad สำหรับผู้ที่มีทักษะด้านการเขียนโปรแกรม Data Squad สำหรับผู้มีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และ Design Squad สำหรับผู้มีทักษะด้านการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ การแข่งขันเริ่มต้นจากการหาผู้ชนะในระดับภาคต่างๆ มาแข่งขันจนได้ผู้ชนะในระดับประเทศในที่สุด ซึ่งผู้ชนะนอกจากจะได้รับเงินรางวัลแล้วยังจะได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์สุดล้ำด้วยการบินลัดฟ้าไปเยือนเมืองแห่งนวัตกรรมยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Silicon Valley

ถึงตอนนี้การแข่งขันเดินทางมาถึงจุดที่ได้แชมป์จากทุกภาคที่พร้อมจะลงแข่งในรอบ Final แล้ว ซึ่ง Techsauce ได้พูดคุยกับสองทีมที่ชนะในหมวด Code และ Data ของภาคเหนือ โดยมีทั้งทีมที่อาจเรียกได้ว่าเจนสนามแข่ง เป็นนักล่ารางวัล กับทีมที่ยังไม่เคยผ่านการแข่งขันในรูปแบบนี้มาก่อน

Second Place ผู้ชนะในหมวด Code ภาคเหนือ

ในส่วนของการแข่งขันใน Code ของ TechJam 2018 จะไม่ใช่แค่เรื่องของการเขียน code อย่างเดียว แต่ทุกทีมจะได้รับโจทย์ปัญหาที่ต้องหาวิธีแก้ และต้องลงมือเขียน code เพื่อแก้ปัญหาภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด ซึ่งผู้ชนะการแข่งขันในภาคเหนือคือทีม Second Place ซึ่งความน่าสนใจคือการที่ผู้ร่วมทีมทั้งสองคนทั้ง ฉาย และ จั๊มพ์ มีอายุค่อนข้างน้อย แต่มีดีกรีเจ้าของเหรียญรางวัลจากเวทีการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศมาแล้ว

แนะนำตัวกันก่อนมาเป็นใคร ทำอะไรอยู่ และมาสนใจเรื่อง Code ได้อย่างไร

จั๊มพ์ : ตอนนี้เรียนอยู่ปีสาม คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ฉาย : ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นม.6 ก็เป็นนักเรียนปกติทั่วไปที่สนใจในการเขียนโปรแกรม และคิดว่าน่าจะทำได้ดี ก็เลยฝึกและเรียนรู้มาเรื่อยๆ

อะไรคือความท้าทายในการแข่งขัน

ฉาย : หลักๆ ก็คือเรื่องโจทย์และเวลา และยังมีเรื่องของการควบคุมสติ สมาธิไม่ให้หลุดในระหว่างการแข่งขัน ในการแข่งขัน มีทั้งคนที่เป็นถึงระดับอาจารย์มหาวิทยาลัยมาแข่งขันด้วย คิดอย่างไรกับเรื่องนี้

จั๊มพ์ : ผมมองว่าคนรุ่นใหม่ยังมีความได้เปรียบตรงที่เข้าใจ algorithm ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ได้ดีดว่าคนรุ่นเก่า ฉาย : คิดว่าการมีคนเก่งๆ เข้ามาแข่งก็จะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าเรามีความสามารถอยู่ในระดับไหน

เคยได้รางวัลการแข่งในรายการอื่นไหม

ฉาย : ได้เหรียญเงินจาก IOI (การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ) ปี 2018 จั๊มพ์ : ได้เหรียญทองแดง IOI ปี 2016

ถ้าให้เปรียบเทียบระหว่างโจทย์ของ TechJam กับ IOI มีความแตกต่างกันอย่างไร

ฉาย : IOI จะเน้นการคิดมากกว่าการเขียนโปรแกรม เหมือนไม่ใช่แค่การแข่งเขียนโปรแกรม แต่เน้นการออกแบบ algorithm มากกว่า จั๊มพ์ : ของ TechJam จะมีหลายรอบมากกว่า ทั้งในส่วนของการคิดและปฏิบัติ อย่างในส่วนของรอบการเขียนโปรแกรมก็จะมีเรื่องความเร็วมาเกี่ยวด้วย

มีปัญหาระหว่างแข่งขันบ้างไหม

ฉาย : รอบแรกกับรอบสองทำคะแนนห่างทีมอื่นพอสมควร ถ้ารอบสามเราทำคะแนนได้เต็มก็จะชนะเลย แต่พอถึงรอบสามจริงๆ คือรอบ code เราทำข้อสุดท้ายยังไงก็ไม่ได้สักที คิดว่าจะแพ้แล้ว ไปทำได้ตอนห้านาทีสุดท้ายพอดี เป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างลุ้นพอสมควร

คิดว่าข้อดีของทีมเราคืออะไรที่ทำให้ชนะการแข่งขันครั้งนี้ได้

ฉาย : เรามีจุดแข็งที่ไปเติมเต็มจุดอ่อนของอีกคนพอดี เช่นโปรแกรมที่เราเขียนไม่เป็น อีกคนเขียนได้พอดี

เคล็ดลับในการเตรียมตัวเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น

ฉาย : ทุกการเตรียมตัวเริ่มจากแรงบันดาลใจ ต้องถามก่อนว่าทำไมเราถึงอยากทำ จากนั้นก็ต้องมีวินัยในตัวเอง ทำสิ่งที่ควรทำ และทำไปเรื่อยๆ แล้วมันจะเกิดผลที่ดีในอนาคตเอง

ทุกการเตรียมตัวเริ่มจากแรงบันดาลใจ ต้องถามก่อนว่าทำไมเราถึงอยากทำ จากนั้นก็ต้องมีวินัยในตัวเอง ทำสิ่งที่ควรทำ และทำไปเรื่อยๆ แล้วมันจะเกิดผลที่ดีในอนาคตเอง

ทีม Ayahcapus  ผู้ชนะในหมวด Data ภาคเหนือ

สำหรับการแข่งขันในหมวด Data จะเป็นการให้ผู้เข้าแข่งขันทดสอบและศึกษาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และวิจัยโมเดลข้อมูล เพื่อทำนายผลลัพธ์ที่ได้รับจากโจทย์ให้แม่นยำที่สุด ซึ่งโจทย์ที่ได้รับจะมีที่มาจากโจทย์ยากๆ ที่เกิดขึ้นจริงจากประสบการณ์ของทีม KBTG และผู้เข้าแข่งขันจะถูกจำกัดการทำงานด้วยกรอบเวลาด้วยเช่นกัน ซึ่ง Ayahcapus ทีมผู้ชนะเกิดจากการรวมตัวกันของคุณกี้และคุณไอซ์ ซึ่งมาจากสายวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็หลอมรวมจุดแข็งของกันและกันจนสามารถเอาชนะการแข่งขันเข้าสู่รอบ Final ได้

มีการฟอร์มทีมขึ้นมาได้อย่างไร? ในการเข้ามาแข่งขัน TechJam

กี้ : เริ่มมากจากคนในทีมอยากศึกษาเรื่อง data เราก็หาวิธีในการที่จะสอนเขา เลยเลือกที่จะเข้ามาแข่งจะได้เป็นการเรียนรู้ไปด้วยและแข่งไปด้วย ซึ่งเราทั้งสองคนก็สนใจเรื่อง data กันอยู่แล้ว

ทำไมเลือกแข่ง Data

กี้ : สนใจ เพราะกำลังเรียนปริญญาโทและทำโปรเจคจบเกี่ยวกับด้านนี้อยู่ ซึ่งจริงๆ มันเริ่มมาจากที่เราชอบคณิตศาสตร์ก่อน จากนั้นเราก็เริ่มใช้คณิตศาสตร์กับข้อมูล เราก็เห็นว่ามันน่าสนใจ มีอะไรที่แปลกๆ น่าสนใจตลอดเวลา ทำให้เรามี passion กับเรื่องเหล่านี้

ไอซ์ : ของเราจะเป็นเรื่องของการอยากรู้อยากลองมากกว่า

เล่าวิธีการแข่งขันในหมวด Data ให้ฟังหน่อย

กี้ : เริ่มแรกคือทุกทีมจะได้โจทย์ แต่ก่อนจะได้โจทย์จากกรรมการเราจะต้องแก้ password ก่อน โดยการแก้เป็นตัวเลข บอกตำแหน่งที่ถูกต้อง เมื่อแก้ได้เสร็จแล้วจึงจะได้รับโจทย์เพื่อใช้ในการแข่ง ซึ่งเราจะมีเวลา 1 ชั่วโมงในการแก้ ถ้าทีมไหนแก้ได้เร็วก็จะได้โจทย์เร็วและมีเวลาในการทำเร็วกว่า ถ้าเราแก้ได้ช้าเขาก็จะตัดที่ 1 ชั่วโมงและก็แจกโจทย์ให้เราเลย ในตอนนั้นทีมเราใช้เวลาประมาณ 26 นาทีในการแก้ เมื่อได้รับโจทย์ก็เป็นโจทย์ด้านการเงินที่เขาจำลองขึ้นมา ซึ่งโจทย์ในวันนั้นคือการ detect คนที่จะย้ายบริการ เช่น เปลี่ยนกองทุนของธนาคารไปที่อื่น โดยข้อมูลที่ให้มาเป็นข้อมูลที่จำลองขึ้นมาเป็นตารางหลายๆ ตาราง เราก็ต้องคิดขึ้นมาว่าจากข้อมูลที่ให้มาอะไรที่สามารถบอกได้ว่าอะไรที่จะทำให้เขาย้าย หรือยกเลิกกองทุน ถ้าไม่มีการ active เลยตลอดระยะเวลา 3 เดือนก็น่าสงสัยแล้ว ก็ต้องนำข้อมูลย้อนหลังแบบนี้มาใช้

ไอซ์ : เวลาทั้งหมดรวมการเตรียมสไลด์ด้วยก็ 5 ชั่วโมง จากนั้นก็มารอเรียกชื่อเพื่อไปนำเสนอ ซึ่งก็คุยกันเรื่องสิ่งที่ทำ เรื่องธุรกิจ การเงิน และเรื่องอื่นๆ ที่มีผลกับเขา

อะไรคือสิ่งที่ยากที่สุดในการแข่งขันครั้งนี้

กี้ : เรื่องการเงินและ data เพราะตั้งแต่ทำมา data ชุดนี้ unbalance มาก เพราะต้องแบ่งเป็น 2 class คือคนที่ย้ายกับไม่ย้าย ซึ่งไม่เท่ากัน class หนึ่งมี 98% อีก class มีไม่ถึง 2% ซึ่งถือได้ว่าค่อนข้างจะแหวกแนวจากที่เคยทำ

คิดว่าข้อดีของทีมคืออะไร

กี้ : ข้อดีของทีมเราคือการที่เราถนัดกันคนละแบบ เราแทบจะไม่เถียงกันเลยในขณะที่แข่งอยู่ มันก็เลยไปตามขั้นตอนของมัน อย่างเช่น เราทำโมเดลมาก่อน เราก็ถนัดทำโมเดล แต่ไม่ถนัดเขียนในการสร้างข้อมูล ถ้าทำก็ทำได้แต่ก็ไม่เร็วเท่าอีกคน เราแบ่งหน้าที่กันชัดเจนว่ารับผิดชอบกันเลย ไม่สกัดความคิดของอีกคนว่าทำไม่ทำแบบนั้นแบบนี้

เราทำโมเดลมาก่อน เราก็ถนัดทำโมเดล แต่ไม่ถนัดเขียนในการสร้างข้อมูล ถ้าทำก็ทำได้แต่ก็ไม่เร็วเท่าอีกคน เราแบ่งหน้าที่กันชัดเจนว่ารับผิดชอบกันเลย ไม่สกัดความคิดของอีกคนว่าทำไม่ทำแบบนั้นแบบนี้

ก่อนประกาศผล มองผลงานตัวเองไว้อย่างไร คิดหรือไม่ว่าจะชนะ

กี้ : ตอบยากนะ เพราะเราไม่รู้ว่าทีมอื่นเขาได้กันเท่าไร เราก็คิดว่าคะแนนที่เราได้มันไม่ได้มาก ก็ไม่คิดว่าจะชนะ เพราะเราก็ไม่รู้ว่าคะแนนที่ได้มามันถือว่าดีไหม ถ้าเป็นภาพหรือสัญลักษณ์ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 80-90 พอเราได้มา 50 ก็ไม่คิดว่าจะได้ แต่ก็มีความหวังว่าอาจจะมีลุ้น

สิ่งสำคัญที่ได้รับจากการเข้ามาร่วม TechJam คิดว่าการแข่งขันนี้ให้อะไรกับเราบ้าง

กี้ : ได้เจอคนที่สนใจในด้านเดียวกัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ที่เขาไม่เคยเข้าร่วมแข่งขันแบบนี้ ได้เจอคนมากขึ้น เราเป็นคนที่ถ้าเวลามันกระชั้นชิดมันรนเราจะหยุด ทำอะไรไม่ได้ ทำให้เราต้องคุมสติให้มากขึ้น แต่มันสนุก เราแข่งกับเวลา เราก็ได้ยินน้องที่คณะมาถามกันเยอะเกี่ยวกับการแข่ง บางคนก็ไม่กล้า อยากบอกว่าให้มาแข่งเถอะ มันไม่ได้ยากอย่างที่คิด อยากให้มาลองดู ได้เจออะไรใหม่ๆ ได้เจอคนเก่งๆ ด้วย

เราก็ได้ยินน้องที่คณะมาถามกันเยอะเกี่ยวกับการแข่ง บางคนก็ไม่กล้า อยากบอกว่าให้มาแข่งเถอะ มันไม่ได้ยากอย่างที่คิด อยากให้มาลองดู ได้เจออะไรใหม่ๆ ได้เจอคนเก่งๆ ด้วย

จนถึงตอนนี้การแข่งขันบนเวที TechJam 2018 ยังเดินทางไปไม่ถึงบทสรุปสุดท้าย แต่จากที่เราได้รับรู้ถึงความคืบหน้าของการแข่งขันผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่ชนะและเป็นตัวแทนภาคต่างๆ สิ่งที่มองเห็นคือการที่ทุกๆ ทีมที่เข้ามาแข่งขันล้วนได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน ประสบการณ์ในการทำงานที่มีความกดดันจากเวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ไปจนถึงโอกาสในการแลกเปลี่ยน Connection ที่สามารถเกิดโอกาสต่อยอดกันในอนาคต เชิญชวนทุกท่านร่วมเชียร์เหล่าผู้ชนะระดับภูมิภาคของภาคเหนือ รวมทั้งผู้เข้าแข่งขันจากภูมิภาคอื่นๆ เพื่อชิงชัยความเป็นที่หนึ่งระดับประเทศในวันเสาร์ที่ 3 พ.ย. 2561 นี้

ชมวีดีโอไฮไลท์การแข่งขัน TechJam 2018 ภาคเหนือได้ที่นี่

https://youtu.be/KNvsrDWsKMc

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...