วันนี้ Techsauce Live COVID-19 เราจะมาพูดคุยกันถึงสถานการณ์โควิด-19 กับการระบาดระลอกใหม่ซึ่งสหรัฐอเมริกานับได้ว่าเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักไม่เเพ้กันตั้งเเต่เริ่มมีการระบาดในช่วงเเรกจนถึงปัจจุบัน วันนี้ทาง Techsauce ได้เเขกรับเชิญสุดพิเศษคุณสิทธิพล พรรณวิไล หรือ หนูเนย Software Engineer ผู้มีประสบการณ์การทำงานใน Silicon Valley มาร่วมถ่ายทอดสถานการณ์จริงที่เกิดจากฝั่งสหรัฐอเมริกา ให้เราได้อัพเดทสถานการณ์กันพร้อมวิเคราะห์ทิศทางของเทคโนโลยีและความหวังใหม่จากวัคซีนโควิด-19
คุณหนูเนยได้เล่าว่าช่วงนี้คนที่ทำงานใน Silicon Valley เริ่มทำงาน Work From Home กันมาสักระยะเเล้วเเละยังไม่ได้กลับไปทำงานในออฟฟิศเลยตั้งเเต่เริ่มมีการระบาดในสหรัฐอเมริกา หากนับเป็นเวลาคงประมาณ 9 เดือนเเล้ว ตั้งเเต่ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาปัจจุบันคนเริ่มชินกับการใช้ชีวิตเเบบ Work From Home แต่ในช่วงเเรกๆ คนในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีความกลัวไวรัสชนิดนี้มาเรียกว่า เเพนิค จนตุนของใช้กันเต็มไปหมด คนสหรัฐอเมริกา ช่วงที่กลัวมากๆ มองว่าใครติดไวรัสนี้ต้องตายเเน่นอน ซึ่งในเเต่ละวันอัตราการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นวันละเกือบ 300,000 คนไม่มีอัตราที่ลดลงเลย
หากมองในมุมของสาเหตุว่าทำไมเชื้อที่สหรัฐอเมริกาเเพร่กระจายได้เร็วและสุขภาพของคนในเเถบสหรัฐอเมริกา ถึงสุขภาพค่อนข้างเเย่ขึ้น ด้วยสภาพอากาศที่ค่อนข้างหนาวมากทำให้เชื้ออยู่ในอากาศได้ดี รวมถึงอากาศหนาวมีผลต่อสุขภาพอยู่เเล้วทำให้ป่วยได้ง่ายถึงเเม้ไม่ติดไวรัส ก็อาจป่วยเพราะอากาศอยู่ดี ถึงแม้ปัจจุบันมาตรการล๊อคดาวน์ในสหรัฐอเมริกาจะไม่ได้คุมเข้มมากเหมือนช่วงเเรกๆ แต่ยังคงมีมาตรการที่ควบคุมไวรัสอยู่เพราะทางสหรัฐเองก็คาดการณ์ไว้ว่า ในช่วงกันยายนที่จะถึงในปีหน้านี้เป็นช่วงที่อากาศจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวซึ่งอาจมีการเพิ่มอัตราการระบาดเพิ่มขึ้น
ธุรกิจที่เป็นออฟไลน์หันมาร่วมมือกับเเพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์โควิด-19 และธุรกิจออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้ออนไลน์เติบโตเกิดจากมาตรการของภาครัฐด้วยส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาหนึ่งที่สหรัฐอเมริกา เจอเหมือนกันคือ เมื่อร้านออฟไลน์เข้าสู่ออนไลน์ต้องเสียค่า GP สูงเเต่ไม่ได้มีปัญหามากนักเนื่องจากค่าเเรงของสหรัฐอเมริกาค่อนข้างสูงคนจึงมีกำลังซื้อและยอมจ่ายซึ่งต่างจากไทยที่รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากค่าเเรกของไทยอาจยังไม่สูงมากตรงข้ามค่าครองชีพ
ที่อเมริกามีการพัฒนาเทคโนโลยีกันอยู่เรื่อยๆ เเต่ด้วยคนอเมริการค่อนข้างกลัวและหวงข้อมูลส่วนตัวกันมากจึงไม่ค่อยยินยอมใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัวในช่วงเเรกของการระบาด ซึ่งล่าสุดเมื่อ Apple และ Google ปล่อยเทคโนโลยีที่ API คล้ายหมอชนะ ซึ่งจะฝังอยู่ในระบบปฎิบัติการเลย คนอเมริกาจึงพึ่งเริ่มมาใช้กันเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา
ส่วนมากไม่มีผลกระทบในด้านไม่ดีเพราะเทคโนโลยีกลายเป็น Solution ทางเลือกในชีวิตซึ่งคนหันมาใช้เทคโนโลยีในชีวิตกันมากขึ้นถึงเเม้จะไม่ได้มีเทคโนโลยีเกิดใหม่มากนัก แต่เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมนั้นเข้าถึงผู้คนมากขึ้น
เทคโนโลยีที่โดดเด่นคงต้องยกให้เทคโนโลยีด้านการเเพทย์ที่มีการพัฒนาขึ้นได้เร็วกว่าเดิมซึ่งหากมองเทรนด์เทคโนโลยีในหมวดของ เทคโนโลยี ด้านสุขภาพ การเเพทย์ และ AI ยังคงน่าจับตามองในปีหน้า
คงต้องมองเเบ่งเป็นสองส่วนคือคนที่มองว่าการมาของวัคซีนคือข่าวดีที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นคนจะรอดตาย แต่ในอีกส่วนหนึ่งยังมีการต่อต้านการฉีดวัคซีนอยู่ คงต้องรอดูสถานการณ์กันต่อไปเพราะวัคซีนที่มีอาจจะตค่อยๆ กระจายฉีดให้คนเเต่ละกลุ่มโดยให้บุคคลากรทางการเเพทย์ กลุ่มคนที่อาการหนักก่อน ซึ่งหากถามว่าประเทศไทยจะเริ่มได้รับวัคซีนเมื่อไหร่หากให้คาดเดาคราวๆ น่าจะปลายปีหน้า หรืออาจจะเร็วกว่านี้ซึ่งโดยส่วนตัวไม่ทราบคำตอบเเน่นอนเหมือนกัน เเต่อยากให้ลองติดตามข่าวกันเรื่อยๆ เพราะวัคซีนไม่ได้มีเเค่เจ้าเดียวที่ทำอย่างที่เรารู้เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการป้องกันให้เร็วขึ้น
การฟื้นตัวของเเต่ละประเทศในตอนนี้ประเทศจีนถือว่าเป็นประเทศที่ฟื้นตัวเร็วสุดซึ่งสหรัฐอเมริกาก็พยายามฟื้นตัวให้เร็วเช่นกันเพราะหากประเทศใดฟื้นตัวเร็วสุดก็จะได้เปรียบอย่างมากในเศรษฐกิจโลก สำหรับสหรัฐอเมริกา ตอนนี้อยู่ในช่วงอิ่มตัวที่เคยผ่านความเลวร้ายของการเเพร่ระบาดมาเเล้วจนตอนนี้ถึงเเม้จะมีการระบาดระลอกใหม่มาก็คงไม่สามารถทำให้เเย่ไปกว่านี้ได้ และคิดว่าทางสหรัฐอเมริกาก็เตรียมรับมือไว้เเล้ว
สำหรับใครที่พลาด LIVE ในครั้งนี้ ท่านสามารถรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ ที่นี่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด