สาระจาก Tesla AI Day : Optimus หุ่นยนต์มนุษย์ กับการ Cross-Over เทคโนโลยีครั้งสำคัญในจักรวาลTesla | Techsauce

สาระจาก Tesla AI Day : Optimus หุ่นยนต์มนุษย์ กับการ Cross-Over เทคโนโลยีครั้งสำคัญในจักรวาลTesla

กลับมาอีกครั้งกับงาน Tesla AI Day Part ll ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน งานนี้ถือเป็นอีเวนต์ใหญ่ประจำปีที่สาวก Tesla ตั้งตาคอยเพื่อรอดูแม่ทัพอีลอน มัสก์กับเหล่าทีมงานว่าจะมีการเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำ การอัพเดทความคืบหน้าเกี่ยวกับผลงานด้าน AI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังออกแบบพัฒนาในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของบริษัทอย่างไรบ้าง 

ไฮไลต์จากงานที่จัดขึ้นเมื่อครั้งที่แล้วทำให้หลายคนตื่นเต้น กับการประกาศแผนการผลิต Tesla Bot หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่มีชื่อว่า Optimus “หุ่นยนต์ในรูปแบบมนุษย์” สูง 5 ฟุต 8 นิ้ว หรือราว 173 ซม. ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความเป็นมิตรและช่วยเหลืองานบางอย่างของมนุษย์ไปจนถึงการทำงานแทนมนุษย์ โดยมัสก์เคยกล่าวไว้ว่าตัวต้นแบบจะถูกเปิดตัวในปี 2022 ทำให้หลายคนจับตามองว่าในปีนี้จะมีความคืบหน้าอย่างไร 

Optimus หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ผลงานชิ้นโบว์แดง

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ คลื่นลูกใหม่ของ Tesla ที่ถูกยกให้เป็นผลงานชิ้นสำคัญในปีนี้ คาดการณ์ว่ามีน้ำหนัก 125-160 ปอนด์และสามารถเดินได้ถึง 5 ไมล์ต่อชั่วโมง (8 กม./ชม.) ถึงแม้จะยังเคลื่อนไหวได้ไม่สมบูรณ์เหมือนมนุษย์แต่หุ่นยนต์ต้นแบบรุ่นล่าสุดที่พัฒนาในที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความคืบหน้าของระบบกลไกลและการเคลื่อนไหวมากขึ้น เราเห็นหุ่นยนต์ที่สามารถเดินไปเดินมาบนเวที แถมแสดงความสามารถในการยกกล่องจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ยกชิ้นส่วนโลหะเล็กๆ ในโรงงาน รดน้ำต้นไม้ รวมถึงโบกมือไปมาให้ผู้ชม แสดงให้รูปร่างมือที่เหมือนมนุษย์ที่มีพื้นฐานจาก Biologically Inspired Design เหมาะสำหรับการหยิบวัตถุขนาดต่างๆได้อย่างแม่นยำ 


การ Cross-Over Technology FSD

นักวิเคราะห์และผู้ที่ติดตามนวัตกรรมของ Tesla มีมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสำคัญของหุ่นยนต์รูปแบบมนุษย์กับความเกี่ยวโยงบางอย่างกับการพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับยานยนต์ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จของ Tesla 

จากประสบการณ์และทรัพยากรในการผลิตระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ถูกนำมาพัฒนาต่อในการสร้างระบบ AI โปรเซสเซอร์และแอคทูเอเตอร์ที่จำเป็นสำหรับหุ่นยนต์ให้มีปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ Tesla FSD  

บนเวทีการนำเสนอ ทุกคนจะเห็นภาพโดยรอบจากมุมมองของ Optimus มาจากกล้องฮาร์ดแวร์ Autopilot Camera หรือ FSD Computer ที่ติดอยู่กลางหน้าอก ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่อยู่ในรถยนต์ Tesla คอยแสดงภาพบนท้องถนนนั่นเอง ระบบโครงข่ายวิดิโอ Multi-Cam Video ระบบ Auto Labeling ที่สามารถจดจำวัตถุและระบุประเภทได้เหมือนกัน

ลองนึกภาพว่าระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง Autopilot ถูกย้ายจากรถยนต์ไปยังหุ่นยนต์ และถูกปรับแต่งให้เรียนรู้ตามสภาพแวดล้อมต่างๆ แบบออนไลน์ การตรวจจับ แยกแยะ จัดประเภท สี รูปร่างวัตถุ การเชื่อมต่อสัญญาณแบบไร้สาย โดยมีระบบการจำลองและฝึกฝน Dojo Training และ Neural Net Planning เรียกได้ว่าเราจะได้เห็นวิทยาการต่างๆ ของ Tesla ประกอบสร้างอยู่ในหุ่นยนต์หนึ่งตัว เหล่านี้ล้วนเป็นกลยุทธ์สำคัญของ Tesla  

หุ่นยนต์ Optimus จะเปลี่ยนแปลงชีวิตขั้นพื้นฐานที่เราเคยรู้จัก

Optimus กำลังถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตสู่ตลาดโดยทั่วไป โดยมีการคาดการณ์ว่าจะพร้อมจำหน่ายภายในสามถึงห้าปี มัสก์ยังบอกว่าเขามีความตั้งใจที่จะผลิตออกมาจำนวนมากถึงล้านตัว และที่สำคัญ คือ Optimus อาจมีราคาต่ำกว่า 20,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 7.6 แสนบาท ปัจจุบันหุ่นยนต์ยังได้รับการทดสอบโดยการทำงานในโรงงานผลิตรถยนต์ และคาดว่าทุกคนจะได้เห็นผลงานที่สมบูรณ์ในไม่กี่เดือนข้างหน้า มัสก์กล่าว  

มัสก์เคยกล่าวในครั้งเปิดตัวครั้งแรกว่า "Optimus อาจมีบทบาทในการปฏิวัติกระบวนการผลิตและช่วยแก้ปัญหาแรงงานคน" ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของระบบเศรษฐกิจ ถึงกระนั้น ในปีนี้ มัสก์กล่าวบนเวทีอีกครั้ง ว่า 

Optimus จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่ามากกว่าธุรกิจรถยนต์และธุรกิจ FSD

FSD หรือ Full Self-Driving คือ ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) ของ Tesla ซึ่งไม่ถึงขั้นเป็นระบบขับขี่อัตโนมัติโดยสมบูรณ์ แต่สามารถดำเนินการบางอย่างในการช่วยเหลือการขับขี่อัตโนมัติสำหรับผู้ขับ โดยต้องชำระเงินเพิ่ม 15,000 ดอลลาร์สำหรับระบบดังกล่าว ถึงขั้นที่มัสก์กล่าวว่า “Tesla ที่ไม่มี FSD ก็เท่ามีค่าเป็นศูนย์"

อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ความกลัวว่าหุ่นยนต์จะมาเปลี่ยนแปลงมนุษยชาติ...

เป็นที่รู้กันดีว่า AI เป็นสิ่งที่มัสก์กังวล แม้ว่างานของเขาคือการแก้สมการเพื่อทำความเข้าใจปัญญาประดิษฐ์ แต่เพื่อให้แน่ใจว่าจะเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่หุ่นยนต์ทำงานและผู้คนได้รับผลประโยชน์นั้นปลอดภัย เขากล่าวว่า หุ่นยนต์สองเท้ามีความซับซ้อนและแตกต่างจากเส้นทางของรถยนต์กว่ามาก บริษัทต้องการสร้างความปลอดภัย ตระหนักถึงการป้องกันและให้สำคัญต่อการปกป้องทั้งหุ่นยนต์และผู้คนรอบตัวหุ่นยนต์ และคงไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เหมือนในหนังเทอร์มิเนเตอร์ 

ความคืบหน้าของระบบ Full Self-Driving  

ในช่วงที่ผ่านมาระบบขับขี่อัตโนมัติของ Tesla เปิดให้ผู้ใช้งานถึง 160,000 คนในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ระบบ Autopilot รุ่น ADAS หรือ FSD Beta ของบริษัทยังไม่สามารถขับขี่ได้อัตโนมัติได้อย่างสมบูรณ์ 100% ข้อบกพร่องทำให้เกิดข้อกังหาเรื่องความปลอดภัยจากสาธารณชนและความสงสัยด้านกฎระเบียบมากมาย  

ความพยายามในการแก้ปัญหา FSD คือโจทย์ใหญ่ของมัสก์และบริษัทมาตั้งแต่ปี 2016 ในงานนี้มีการกล่าวถึงเป้าหมายที่จะเปิดให้ใช้ระบบ FSD beta Version เพิ่มเติมในอเมริกาเหนือภายในสิ้นปีนี้และตั้งเป้าหมายที่จะเปิดให้ใช้งานถึงล้านคันทั่วโลกภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ยังมีการอัพเดทระบบ FSD Beta Version ใหม่อีกครั้งพร้อมกับระบบช่วยจอดรถอัตโนมัติ Autopark ด้วยเช่นกัน ในช่วงสิ้นเดือนกันยายน

Dojo Supercomputer ที่ใช้ Training AI

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการเปิดเผยข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ "D1"  ชิปเซทขนาด 7mn ที่ Tesla พัฒนาขึ้นเองเมื่อปี่ที่แล้ว เพื่อใช้กับ Tesla Dojo ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์แรงอันดับ 5 ของโลก ที่ใช้ฝึกฝนการประมวลของระบบสถาปัตยกรรมของ AI ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Tesla 

Tesla ตั้งเป้าสร้าง Dojo ให้รวดเร็วมากขึ้น เพื่อฝึก AI ของตัวเอง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องขับเคลื่อนเทคโนโลยี AI รุ่นต่อไป รวมถึงการพัฒนาเฟิร์มแวร์ FSD ที่จำเป็นในการขับขี่ในอนาคต หรืออาจคาดการณ์ได้ว่าอาจมีการเปิดตัว "D2" รุ่นต่อไปก็เป็นได้ 

สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เปิดตัวไปแล้วหรือไม่ได้กล่าวถึงมากนักในงานนี้ ล้วนอยู่ในกระบวนการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น Cyber Truck ที่เผยโฉมออกมาให้เห็นแล้วในสหรัฐฯ Tesla RoboTaxi ที่ถูกกล่าวถึงว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาสร้างแบบไร้พวงมาลัยและคันเหยียบ แต่จะส่งมอบต้นทุนต่อไมล์ที่ต่ำสุดกว่าการขนส่งอื่นๆ  

การเปิดตัวเทคโนโลยีและระบบที่อยู่รายรอบในครั้งนี้ทำให้เห็นถึงความคืบหน้าของ Tesla ที่ยังจริงจังในเข้าใกล้ความสามารถของ AI มากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีเวนต์โดย Tesla สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางของนวัตกรรมและผลักขอบเขตความเป็นไปได้ใหม่ๆ อยู่เสมอ สำหรับผู้ที่ติดตามมาโดยตลอดจะเริ่มเห็นความเชื่อมโยงถึงความเป็นได้ในความสามารถของเทคโนโลยีแน่นอน จากที่มัสก์เคยพูดไว้ในงานเปิดตัวโรงงานในออสตินช่วงเดือนเมษายนว่า หลังจากนี้จะเป็นโลกจะเจอกับคลื่นลูกใหม่ของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่เตรียมรอการเปิดตัวสู่สาธารณชนอีกมากมายในปี 2023 


 

อ้างอิงข้อมูลจาก

Tesla CEO Elon Musk unveils prototype humanoid Optimus robot

Our top 4 Tesla AI day predictions

Tesla AI Day 2022: Everything You Need To Know

Tesla AI Day 2022: Everything We Learned About Tesla Bot, Dojo and More 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...