Highlight สำคัญ ๆ ของ Startup Ecosystem ปี 2017 มีอะไรบ้าง? เรามาเริ่มดูกันเลย!
หากจะให้พูดถึงภาพรวมของ Industry อย่าง Startup ในปี 2017 ที่ผ่านมา เราพบว่า Industry ยอดฮิตของปีนี้ได้แก่ E-Commerce, FinTech, Logistics, Payment และ Food & Restaurant
อันดับที่ 1 E-Commerce เราขอยกให้แก่ E-Commerce อย่างหลีกเลี่ยงได้เพราะสมรภูมินี้ร้อนแรงจริง ๆ เห็นได้จากตัวเลข Startup ที่ได้รับ Funding หรือเงินทุนสนับสนุนในปี 2017 มีมากถึง 5 บริษัท
แน่นอนว่าทีมงาน Techsauce ก็ไม่พลาดที่จะทำ "E-Commerce Landscape 2017 : รวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย เอาไว้ในที่เดียว!" ออกมาเพื่อสรุปภาพรวมของ E-Commerce Startup นี้ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถเข้าไปดูกันได้เลย
อย่างไรก็ตามแนวโน้มของธุรกิจ E-Commerce ในบ้านเราจะคล้ายกับต่างประเทศ คือเริ่มมีปลาใหญ่กินปลาเล็กให้เห็น กันมากขึ้น ไม่ก็เกิดการ Joint Venture ของธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์และออนไลน์ร่วมกัน
อันดับที่ 2 FinTech หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินและธนาคาร อย่าง Omise และ DeepPocket และบริษัทอื่น ๆ รวมเป็น 3 บริษัท
อันดับที่ 3 E-Logistics ในปี 2017 มี Startup ไทยได้รับเงินทุนสนับสนุนในปีนี้ไป 2 บริษัท
อันดับที่ 4 Payment จริง ๆ แล้วอันดับนี้ต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ FinTech แต่ Techsauce มองว่าความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีด้านการชำระเงิน หรือ Payment ในหลายปีที่ผ่านมามีความโดนเด่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงแยกออกมา และจัดให้อยู่ในลำดับที่ 4 ของปีนี้เพราะมี Startup ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนในปีนี้ไป 4 บริษัท
อันดับที่ 5 Food & Restaurant ในปี 2017 มี Startup ไทยในหมวดนี้ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนไป 2 บริษัท
6 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2011 ถึงปี 2017) Startup ไทย (ที่ยอมเปิดเผยข้อมูล) ได้รับเงินลงทุนไปมากกว่า 90 รายแล้ว
โดยยอดรวมการลงทุนทั้งหมดในรอบปี 2017 (แบบไม่รวม ICO และเปิดเผยข้อมูล) มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 105.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะเห็นว่าตัวเลขการเติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี (ตั้งแต่ปี 2011) แต่ส่วนหนึ่งมาจากดีล aCommerce รายเดียวที่ทำให้ยอดรวมการลงทุนปี 2017 กระโดดขึ้นมาสูงมากต่างจากปีก่อนหน้าที่มีหลายๆ ดีลรวมกันจนมียอดสูงขึ้น
โดยดีลของ aCommerce การระดมทุนครั้งใหญ่สุดในปี 2017 เพราะได้รับเงินลงทุนระดับ Series B จำนวน 65 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 2.14 พันล้านบาท) จาก Emerald Media, บริษัทบลูสกาย (Blue Sky) บริษัทเอ็มดีไอ (MDI) และ DKSH พร้อมที่ปรึกษานอร์ธ ริจน์ พาร์ทเนอร์ (North Ridge Partners)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://techsauce.co/ecommerce/emerald-media-leads-us65-million-series-b-acommerce/
ดีลรองลงมาก็คือดีล Pomelo (ประเทศไทย) ได้รับเงินลงทุน Series B คิดเป็นเงิน 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 622 ล้านบาท) จาก Central Group (ประเทสไทย) และ Start Today Ventures (เจ้าของเว็บไซต์ Zozotown เว็บไซต์ E-Commerce รายใหญ่ในญี่ปุ่น) หลังจากก่อนหน้านี้มี JD.com, Provident Capital Partners และ Lombard Private Equity ร่วมให้เงินลงทุน Series B สนับสนุนไปเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2017
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :
ในปี 2017 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีของ Corporate Venture Capital (หรือ CVC) อย่างแท้จริง เพราะบริษัทต่าง ๆ เริ่มก่อตั้ง CVC ของตัวเองขึ้นมา จนมี CVC เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก สาเหตุที่เหล่าบริษัทต่าง ๆ เลือกตั้ง CVC เพราะเริ่มมองเห็นศักยภาพของ Startup ในประเทศไทยที่มีขีดความสามารถในการพัฒนา Product จะเติบโตและสร้างรายได้ให้คุ้มค่ากับการลงทุน
ซึ่ง CVC ไทยไม่ได้ลงทุนแค่ใน Startup ไทยเท่านั้น แต่ยังลงทุนใน Startup ต่างประเทศ เพราะเห็นศักยภาพในการเติบโตจากตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ธุรกิจที่ตั้ง CVC ไม่ใช่แค่ธุรกิจกลุ่มธนาคารเท่านั้นที่กระโดดมาร่วมเป็นผู้ให้เงินทุนแก่สตาร์ทอัพเท่านั้น กลุ่มธุรกิจพลังงานอย่าง PTT (ตั้ง Express Solutions ชื่อย่อคือ ExpresSo) กลุ่มเคมีภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง SCG (ตั้ง AddVentures by SCG) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจไอทีอย่าง Jaymart (ตั้ง J Venture) และธุรกิจโรงแรมอย่าง Dusit Thani (ตั้ง Dusit Colours) อีกด้วย
หากพูดถึงการระดมทุน ICO ในต่างประเทศเกิดขึ้นมาได้หลายปีแล้ว ICO (Initial Coin Offering) ซึ่งเป็นวิธีในการระดมทุนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของของโปรเจกต์ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain โดยเอา Coin หรือ Token ของระบบมาขายให้กับคนทั่วไป (Offering)
ICO ที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ ยกตัวอย่างเช่นโปรเจกต์ Ethereum ที่ระดมทุนได้ 18.4 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อนำมาพัฒนาระบบ Blockchain ที่ใครก็สามารถเขียนโปรแกรมลงไปได้ ถึง ICO ในยุคแรกจะเกิดขึ้นมาไม่มากนัก และในยุคต่อมา ICO ก็มีมากขึ้น แต่ Ethereum ก็ถือเป็น ICO ตัวแรก ๆ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและระบบที่สร้างก็ช่วยเปิดทางให้การ ICO อื่นๆที่ตามมาสามารถทำ ICO ได้ง่ายขึ้นด้วย
ซึ่งในประเทศไทย ICO เกิดขึ้นครั้งแรกจาก Omise สตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่มีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นชาวญี่ปุ่น พัฒนาแพลตฟอร์มด้าน Payment Gateway เปิดระดมทุน ICO ในชื่อ OmiseGo (OMG) ในกลางปี 2017 ที่ผ่านมา เพียงวันแรกที่เปิดระดมทุนก็ได้เงินถึง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 819 ล้านบาท)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :
การควบรวมและการเข้าซื้อกิจการ (M&A - Mergers and Acquisitions) ในปี 2017 จะเห็นว่าบริษัทใหญ่ก็มีการซื้อ Startup เสริมทัพธุรกิจของตัวเองให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีดีลสำคัญอยู่ 2 รอบ ได้แก่ Omise ซื้อ Paysbuy และ LINE ซื้อ DGM59
ดีลที่ 1 คือดีล Omise เข้าซื้อบริษัทระดับตำนานด้าน Payment Gateway ของไทยอย่าง Paysbuy ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นบริษัทลูกของ dtac มาตั้งปี 2008-2017 โดย Omise ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการซื้อกิจการดังกล่าว
โดยการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ของ Omise ทำให้ตัว Omise สามารถขยายเข้าสู่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ที่ทาง Paysbuy มีฐานอยู่แล้วอย่าง Telco, ประกันภัย, ธุรกิจท่องเที่ยว/บริการ และ ค้าปลีกออนไลน์
นอกจากนี้ยังเป็นการปูทางให้ Omise ที่กำลังจะขยายเข้าสู่ธุรกิจ E-wallet ภายใต้ชื่อ OmiseGO (OMG) ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น นับเป็นการผนวกจุดเด่นของทั้ง 2 ฝั่งเข้ามานั่นคือ Paysbuy นั้นโดดเด่นในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สาย Payment มาอย่างยาวนาน ในขณะที่ Omise ได้ชื่อว่ามีทีมที่ดูแลด้าน UX ที่เก่งและพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาเพื่อตอบโจทย์ประสบการณ์ลูกค้าได้อย่างดี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : สะเทือนวงการ FinTech เมื่อ Omise ประกาศซื้อบริษัท Payment Gateway ในตำนานของไทยอย่าง Paysbuy จาก dtac
ส่วนดีลที่ 2 คือดีล LINE ประเทศไทย เข้าซื้อกิจการของ DGM59 ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ทำเกี่ยวกับซอฟต์แวร์และเครื่องมือทางการตลาด การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เพื่อดึงเอาตัวนักพัฒนาที่เชี่ยวเชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ LINE ประเทศไทย
โดยในปี 2559 DGM59 ได้พัฒนาบริการ BCRM ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าสำหรับ LINE Official Account ผ่าน LINE API โดย BCRM จะมาเติมเต็มบริการต่างๆของ LINE ด้วยการเก็บข้อมูลผู้ใช้ต่างๆใน LINE Official Account และ DGM59 ยังเป็นผู้ชนะการแข่งขัน LINE Hackathon อีกด้วย
โดยบริการต่างๆของ LINE ในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ เช่น LINE MAN มีเพียงแค่ในประเทศไทย เป็นต้น ซึ่ง LINE มองว่าการดึงนักพัฒนาจาก DGM59 จะสามารถช่วยให้ LINE สามารถคิดค้น Service ใหม่ๆ หรือ Solotion ที่สามารถตอบโจทย์คนไทยได้อีก
เดิมที่การลงทุนของกลุ่มธุรกิจ LINE นั้นจะเห็นที่บริษัทแม่ แต่ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ตลาดไทย เป็นสัญญาณการขับเคลื่อนของ LINE ในภูมิภาคนี้โดยตรง ซึ่งปีหน้าเราอาจได้เห็นการขยับตัวครั้งใหญ่ของผู้เล่นรายนี้ก็เป็นได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : LINE ประกาศซื้อกิจการ DGM59 พร้อมแต่งตั้งทีมนักพัฒนาครั้งแรกในไทย
สิ้นสุดการรอคอย! ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูล Thailand Tech Startup Ecosystem Report Q4 2017 ของ Techsauce ได้ที่ Slideshare.net
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด