จัดเต็ม! สรุปภาพรวม Startup Ecosystem ประเทศไทย ปี 2017 | Techsauce

จัดเต็ม! สรุปภาพรวม Startup Ecosystem ประเทศไทย ปี 2017

ตลอดปีที่ผ่านมา Startup Ecosystem มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเหมือน ๆ กับหลาย Ecosystem ที่มีการพัฒนาและเติบโตไปอย่างไม่หยุดยั้ง

เพื่อให้คุณไม่พลาดข้อมูลที่สำคัญในรอบปี 2017 ที่กำลังผ่านพ้นไป Techsauce จึงขออาสาพาผู้อ่านทุกอ่านย้อนดูภาพรวมและเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของ Startup Ecosystem ที่เกิดขึ้นในปี 2017 ที่ผ่านมา

Highlight สำคัญ ๆ ของ Startup Ecosystem ปี 2017 มีอะไรบ้าง? เรามาเริ่มดูกันเลย!

 

E-Commerce ใน Startup Ecosystem ไทย ยังมาแรงแบบต่อเนื่อง!

หากจะให้พูดถึงภาพรวมของ Industry อย่าง Startup ในปี 2017 ที่ผ่านมา เราพบว่า Industry ยอดฮิตของปีนี้ได้แก่ E-Commerce, FinTech, Logistics, Payment และ Food & Restaurant

อันดับที่ 1 E-Commerce เราขอยกให้แก่ E-Commerce อย่างหลีกเลี่ยงได้เพราะสมรภูมินี้ร้อนแรงจริง ๆ เห็นได้จากตัวเลข Startup ที่ได้รับ Funding หรือเงินทุนสนับสนุนในปี 2017 มีมากถึง 5 บริษัท

แน่นอนว่าทีมงาน Techsauce ก็ไม่พลาดที่จะทำ "E-Commerce Landscape 2017 : รวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย เอาไว้ในที่เดียว!" ออกมาเพื่อสรุปภาพรวมของ E-Commerce Startup นี้ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถเข้าไปดูกันได้เลย

อย่างไรก็ตามแนวโน้มของธุรกิจ E-Commerce ในบ้านเราจะคล้ายกับต่างประเทศ คือเริ่มมีปลาใหญ่กินปลาเล็กให้เห็น กันมากขึ้น ไม่ก็เกิดการ Joint Venture ของธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์และออนไลน์ร่วมกัน

อันดับที่ 2 FinTech หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินและธนาคาร อย่าง Omise และ DeepPocket และบริษัทอื่น ๆ รวมเป็น 3 บริษัท

อันดับที่ 3 E-Logistics ในปี 2017 มี Startup ไทยได้รับเงินทุนสนับสนุนในปีนี้ไป 2 บริษัท

อันดับที่ 4 Payment จริง ๆ แล้วอันดับนี้ต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ FinTech แต่ Techsauce มองว่าความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีด้านการชำระเงิน หรือ Payment ในหลายปีที่ผ่านมามีความโดนเด่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงแยกออกมา และจัดให้อยู่ในลำดับที่ 4 ของปีนี้เพราะมี Startup ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนในปีนี้ไป 4 บริษัท

อันดับที่ 5 Food & Restaurant ในปี 2017 มี Startup ไทยในหมวดนี้ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนไป 2 บริษัท

 

ป้อนเงินลงทุน Series B ครั้งใหญ่ 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ!

6 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2011 ถึงปี 2017) Startup ไทย (ที่ยอมเปิดเผยข้อมูล) ได้รับเงินลงทุนไปมากกว่า 90 รายแล้ว

โดยยอดรวมการลงทุนทั้งหมดในรอบปี 2017 (แบบไม่รวม ICO และเปิดเผยข้อมูล) มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 105.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะเห็นว่าตัวเลขการเติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี (ตั้งแต่ปี 2011) แต่ส่วนหนึ่งมาจากดีล aCommerce รายเดียวที่ทำให้ยอดรวมการลงทุนปี 2017 กระโดดขึ้นมาสูงมากต่างจากปีก่อนหน้าที่มีหลายๆ ดีลรวมกันจนมียอดสูงขึ้น

นายพอล ศรีวรกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท aCommerce

โดยดีลของ aCommerce การระดมทุนครั้งใหญ่สุดในปี 2017 เพราะได้รับเงินลงทุนระดับ Series B จำนวน 65 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 2.14 พันล้านบาท) จาก Emerald Media, บริษัทบลูสกาย (Blue Sky) บริษัทเอ็มดีไอ (MDI) และ DKSH พร้อมที่ปรึกษานอร์ธ ริจน์ พาร์ทเนอร์ (North Ridge Partners)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :  https://techsauce.co/ecommerce/emerald-media-leads-us65-million-series-b-acommerce/

David Jou CEO และ Co-Founder ของ Pomelo

ดีลรองลงมาก็คือดีล Pomelo (ประเทศไทย) ได้รับเงินลงทุน Series B คิดเป็นเงิน 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 622 ล้านบาท) จาก Central Group (ประเทสไทย) และ Start Today Ventures (เจ้าของเว็บไซต์ Zozotown เว็บไซต์ E-Commerce รายใหญ่ในญี่ปุ่น) หลังจากก่อนหน้านี้มี JD.com, Provident Capital Partners และ Lombard Private Equity ร่วมให้เงินลงทุน Series B สนับสนุนไปเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2017

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :

 

ภาคธุรกิจแห่ตั้ง CVC หวังลงทุนใน Startup มากขึ้น

ในปี 2017 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีของ Corporate Venture Capital (หรือ CVC) อย่างแท้จริง เพราะบริษัทต่าง ๆ เริ่มก่อตั้ง CVC ของตัวเองขึ้นมา จนมี CVC เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก สาเหตุที่เหล่าบริษัทต่าง ๆ เลือกตั้ง CVC เพราะเริ่มมองเห็นศักยภาพของ Startup ในประเทศไทยที่มีขีดความสามารถในการพัฒนา Product จะเติบโตและสร้างรายได้ให้คุ้มค่ากับการลงทุน

ซึ่ง CVC ไทยไม่ได้ลงทุนแค่ใน Startup ไทยเท่านั้น แต่ยังลงทุนใน Startup ต่างประเทศ เพราะเห็นศักยภาพในการเติบโตจากตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ธุรกิจที่ตั้ง CVC ไม่ใช่แค่ธุรกิจกลุ่มธนาคารเท่านั้นที่กระโดดมาร่วมเป็นผู้ให้เงินทุนแก่สตาร์ทอัพเท่านั้น กลุ่มธุรกิจพลังงานอย่าง PTT (ตั้ง Express Solutions ชื่อย่อคือ ExpresSo) กลุ่มเคมีภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง SCG (ตั้ง AddVentures by SCG) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจไอทีอย่าง Jaymart (ตั้ง J Venture) และธุรกิจโรงแรมอย่าง Dusit Thani (ตั้ง Dusit Colours) อีกด้วย

 

Omise ระดมทุน ICO (OmiseGo) ครั้งแรกในไทย

omise logo

หากพูดถึงการระดมทุน ICO ในต่างประเทศเกิดขึ้นมาได้หลายปีแล้ว ICO (Initial Coin Offering) ซึ่งเป็นวิธีในการระดมทุนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของของโปรเจกต์ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain โดยเอา Coin หรือ Token ของระบบมาขายให้กับคนทั่วไป (Offering)

ICO ที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ ยกตัวอย่างเช่นโปรเจกต์ Ethereum ที่ระดมทุนได้ 18.4 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อนำมาพัฒนาระบบ Blockchain ที่ใครก็สามารถเขียนโปรแกรมลงไปได้ ถึง ICO ในยุคแรกจะเกิดขึ้นมาไม่มากนัก และในยุคต่อมา ICO ก็มีมากขึ้น แต่ Ethereum ก็ถือเป็น ICO ตัวแรก ๆ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและระบบที่สร้างก็ช่วยเปิดทางให้การ ICO อื่นๆที่ตามมาสามารถทำ ICO ได้ง่ายขึ้นด้วย

ซึ่งในประเทศไทย ICO เกิดขึ้นครั้งแรกจาก Omise สตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่มีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นชาวญี่ปุ่น พัฒนาแพลตฟอร์มด้าน Payment Gateway เปิดระดมทุน ICO ในชื่อ OmiseGo (OMG) ในกลางปี 2017 ที่ผ่านมา เพียงวันแรกที่เปิดระดมทุนก็ได้เงินถึง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 819 ล้านบาท)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :

 

การเข้าซื้อกิจการในปี 2017

การควบรวมและการเข้าซื้อกิจการ (M&A - Mergers and Acquisitions) ในปี 2017 จะเห็นว่าบริษัทใหญ่ก็มีการซื้อ Startup เสริมทัพธุรกิจของตัวเองให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีดีลสำคัญอยู่ 2 รอบ ได้แก่ Omise ซื้อ Paysbuy และ LINE ซื้อ DGM59

ดีลที่ 1 คือดีล Omise เข้าซื้อบริษัทระดับตำนานด้าน Payment Gateway ของไทยอย่าง Paysbuy ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นบริษัทลูกของ dtac มาตั้งปี 2008-2017 โดย Omise ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการซื้อกิจการดังกล่าว

โดยการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ของ Omise ทำให้ตัว Omise สามารถขยายเข้าสู่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ที่ทาง Paysbuy มีฐานอยู่แล้วอย่าง Telco, ประกันภัย, ธุรกิจท่องเที่ยว/บริการ และ ค้าปลีกออนไลน์

นอกจากนี้ยังเป็นการปูทางให้ Omise ที่กำลังจะขยายเข้าสู่ธุรกิจ E-wallet ภายใต้ชื่อ OmiseGO (OMG) ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น นับเป็นการผนวกจุดเด่นของทั้ง 2 ฝั่งเข้ามานั่นคือ Paysbuy นั้นโดดเด่นในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สาย Payment มาอย่างยาวนาน ในขณะที่ Omise ได้ชื่อว่ามีทีมที่ดูแลด้าน UX ที่เก่งและพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาเพื่อตอบโจทย์ประสบการณ์ลูกค้าได้อย่างดี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : สะเทือนวงการ FinTech เมื่อ Omise ประกาศซื้อบริษัท Payment Gateway ในตำนานของไทยอย่าง Paysbuy จาก dtac

ส่วนดีลที่ 2 คือดีล LINE ประเทศไทย เข้าซื้อกิจการของ DGM59 ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ทำเกี่ยวกับซอฟต์แวร์และเครื่องมือทางการตลาด การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เพื่อดึงเอาตัวนักพัฒนาที่เชี่ยวเชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ LINE ประเทศไทย

โดยในปี 2559 DGM59 ได้พัฒนาบริการ BCRM ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าสำหรับ LINE Official Account ผ่าน LINE API โดย BCRM จะมาเติมเต็มบริการต่างๆของ LINE ด้วยการเก็บข้อมูลผู้ใช้ต่างๆใน LINE Official Account และ DGM59 ยังเป็นผู้ชนะการแข่งขัน LINE Hackathon อีกด้วย

โดยบริการต่างๆของ LINE ในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ เช่น LINE MAN มีเพียงแค่ในประเทศไทย เป็นต้น ซึ่ง LINE มองว่าการดึงนักพัฒนาจาก DGM59 จะสามารถช่วยให้ LINE สามารถคิดค้น Service ใหม่ๆ หรือ Solotion ที่สามารถตอบโจทย์คนไทยได้อีก

เดิมที่การลงทุนของกลุ่มธุรกิจ LINE นั้นจะเห็นที่บริษัทแม่ แต่ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ตลาดไทย เป็นสัญญาณการขับเคลื่อนของ LINE ในภูมิภาคนี้โดยตรง ซึ่งปีหน้าเราอาจได้เห็นการขยับตัวครั้งใหญ่ของผู้เล่นรายนี้ก็เป็นได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : LINE ประกาศซื้อกิจการ DGM59 พร้อมแต่งตั้งทีมนักพัฒนาครั้งแรกในไทย

 

Download Thailand Tech Startup Ecosystem Report Q4 2017 Slide

สิ้นสุดการรอคอย! ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูล Thailand Tech Startup Ecosystem Report Q4 2017 ของ Techsauce ได้ที่ Slideshare.net

 

และนี่ก็คือ “สรุปภาพรวมและเหตุการณ์สำคัญใน Startup Ecosystem ปี 2017” จาก Techsauce ต้องย้อนถามกลับไปที่ผู้อ่านแล้วล่ะครับว่า เหตุการณ์ใดใน Startup Ecosystem ที่เป็นที่สุดของปี 2017 บ้าง? ลองเสนอเข้ามาได้เลย

Startup Ecosystem Report ล่าสุดไตรมาสที่ 2 ปี 2018 ดูที่ลิงค์นี้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...