17 พ.ค. 2563 นอกจากเป็นมาตรการผ่อนปรนระยะ 2 ของทางภาครัฐ ที่ห้างสรรพสินค้าและสถานประกอบการบางประเภทเปิดให้บริการแล้ว ยังเป็นวันแรกที่มีการใช้ไทยชนะ แพลตฟอร์มลงทะเบียนเพื่อติดตามผู้ที่มีความเสี่ยง COVID-19 ซึ่งเมื่อมีการใช้ไทยชนะ ก็เกิดคำถามที่พบเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ลงทะเบียนว่า การเก็บข้อมูลละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่
ในเว็บไซต์ไทยชนะ ได้มีการเปิดเผยถึงคำถามที่ผู้ใช้บริการถามบ่อย หนึ่งในนั้นคือคำถามว่า การบันทึกข้อมูล checkin-out ของผู้ใช้บริการ ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่
คำตอบจากเว็บไซต์ไทยชนะได้ระบุว่า : ข้อมูลที่ถูกเก็บของผู้เข้าใช้บริการจะเป็นข้อมูลแบบมีรหัส ซึ่งต้องเป็นหน่วยงานและผู้ได้รับอนุญาติเท่านั้นถึงจะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ อีกทั้งได้กำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลไว้เพียง 60 วัน
ทั้งนี้ในคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีธนาคารกรุงไทย ผู้ที่อยู่เบื้องหลังระบบเราไม่ทิ้งกัน และระบบไทยชนะ ผ่าน Facebook ส่วนตัวว่า "วางใจได้ ว่าข้อมูลมีความเป็นส่วนตัว" โดยมีรายละเอียดดังนี้
เริ่มแล้ว มาตรการเปิดเมืองกลุ่มสอง ประชาชนเช็คอิน เช็คเอ้าท์ ประเมินร้านค้า แล้วเราจะเห็นความหนาแน่นและคะแนนประเมิน ก่อนออกจากบ้านได้
สถานบริการต้องใช้ QR ไทยชนะครับ โดยสามารถมาลงทะเบียนได้ที่เว็ป ไทยชนะดอทคอมเท่านั้น ประชาชนเช็คอิน เช็คเอ้าท์ และประเมินร้านค้าโดยใช้กล้องสแกน qr ของไทยชนะ ซึ่งเป็น qr ใช้เช็คอินและเช็คเอ้าท์เท่านั้น ไม่ใช่ qr จ่ายเงิน
ข้อมูลที่เช็คอิน เช็คเอ้าท์ จะเข้ารหัสไม่ทราบว่าใคร ที่ไหน ทราบแต่รหัสที่ถอดไม่ได้ ยกเว้นกรณีที่พบความเสี่ยงถึงค่อยมาถอดรหัส ดังนั้นจึงวางใจได้ ว่าข้อมูลมีความเป็นส่วนตัว
แพลทฟอร์มไทยชนะนอกจากรองรับเรื่องการลงทะเบียน การออก qr การคิดเรื่องความหนาแน่น ระยะเวลาใช้บริการ ยังคำนวณคะแนนประเมินของแต่ละสถานบริการ ยังส่งข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ให้กรมควบคุมโรคเพื่อประเมินความเสี่ยงผู้ติดเชื้อและการติดตาม หวังว่าเราจะร่วมมือกันให้ผ่านพ้นโควิด19 ไปด้วยกันครับ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด