เปิดฉากสงคราม Co-Working Space ในไทย

เปิดฉากสงคราม Co-Working Space ในไทย

ช่วงนี้ตลาด Co-working space ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังร้อนแรงและกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่ได้กลายเป็นผู้เล่นสำคัญ ไม่ใช่แค่เฉพาะในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังเป็นในระดับโลกด้วย เพราะผู้เล่นระดับโลกได้เริ่มขยับเข้ามาขยายตลาดในประเทศไทยแล้ว สำหรับเทรนด์ Co-working space ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในย่านใจกลางเมืองที่เป็นย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ ได้มีแบรนด์ Co-working space ใหญ่ 4 แบรนด์เข้ามาแข่งขันในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน โดยทั้งสามผู้เล่นหลักที่ว่านั้นคือ Glowfish, WeWork,  JustCo และ Spaces

ภาพรวมตลาด Co-Working Space

เฉพาะในกรุงเทพมี Co-Working Space จำนวนมากที่เปิดขึ้นรองรับกลุ่มผู้ใช้ในลักษณะที่แตกต่างกัน บ้างก็เป็นร้านกาแฟที่เปิดพื้นที่ทำงาน บ้างก็เป็น Co-Working Spaceสำหรับนักเรียนนักศึกษา , ชาวต่างชาติ , Startups เป็นต้น โดยในตลาดมีเจ้าใหญ่ๆ ที่มีมากกว่า 1 สาขาในกรุงเทพ ได้แก่

  • HUBBA  : Co-Working Space ที่แรกที่เปิดขึ้นในประเทศไทย ปัจจุบันมี 4 สาขาได้แก่เอกมัย สยาม อ่อนนุช และสีลม
  • Glowfish : มีทั้งในลักษณะของ Private - Office ให้เช่า , โต๊ะทำงานให้เช่ารายวัน ปัจจุบันมี 2 สาขาคือ สาทรและอโศก
  • Spaces (สเปซเซส) ผู้บุกเบิก Co-Working Space และออฟฟิศ แห่งอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเปิดให้บริการแล้วทั้งหมด 2 สาขาในไทย โดยสาขาแรก ณ Summer Hill และสาขาที่ 2 บนชั้น 24 ณ อาคารโครงการมิกซ์ยูส สาขาจัตุรัสจามจุรี อีกทั้ง Spaces เตรียมขยายสาขาที่ 3 ในไทยอย่างเป็นทางการ ณ เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ เร็วๆนี้
  • Regus (รีจัส) ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานจากประเทศอังกฤษ เป็นแบรนด์ที่เป็นส่วนหนึ่งของ IWG โดยมีทั้งหมด 19 แห่งทั่วประเทศไทยและมีแผนที่เปิดใหม่อีก 2 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ ไอคอน พาร์ค และ โครงการสิงห์ คอมเพล็กซ์ และที่อาคารภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค (ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค)

2 ผู้เล่นระดับ Global บุกไทย

Justco : JustCo เป็นผู้ให้บริการ Co-Working Space จากสิงคโปร์ เป็น Startup ที่ Siri Venture ลงทุนด้วย โดยได้เปิดสาขาแรกในประเทศไทยที่อาคาร เอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ โดยการเปิดตัวที่กรุงเทพฯ คือก้าวแรกในการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดอื่นๆ ในเอเชีย โดยมีเป้าหมายเปิด 100 สาขาในเอเชียปี 2020

Wework : เป็น Co-Working Space ระดับ Global ปัจจุบันมีสาขาในเอเชียได้แก่ เซี่ยงไฮ้ เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ โดยไทย เป็นประเทศต่อไปที่ Wework กำลังเข้ามาตีตลาด

การที่ผู้เล่นต่างชาติรายใหญ่ๆเริ่มขยับขยายธุรกิจมายังเมืองไทย เป็นตัวบ่งบอกได้ว่า ธุรกิจ Co-Working ไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ แต่กำลังเติบโตและเปลี่ยนแปลงความต้องการในการทำงานและออฟฟิศรูปแบบเดิมๆ โดยในครั้งนี้ทาง Techsauce ได้สัมภาษณ์ คุณชาล เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง HUBBA ผู้คร่ำหวอดในวงการ Startup และ Co-Working Space ประเทศไทยยาวนาน มาคุยถึงสถานการณ์และความเป็นไปในการแข่งขันของธุรกิจนี้

ในตอนนี้มี Co-working space ในบริเวณสาทรอยู่ 3 แห่งที่ใกล้กัน คุณมีความเห็นเกี่ยวกับการแข่งขันในครั้งนี้อย่างไรบ้าง

คู่แข่งในระดับ Global player ในตอนนี้มีสามผู้เล่นหลักด้วยกันคือ Justco, WeWork และ Spaces ซึ่งมี Regus เป็นเจ้าของ

Regus เป็น Co-working space จากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นแหล่งสร้างสรรค์ไอเดียและแรงบันดาลใจในการสร้างออฟฟิศเพื่อองค์กร

JustCo และ WeWork นั้นค่อนข้างที่จะมีความทันสมัยและถือเป็นเวอร์ชันที่ค่อนข้างจะฮิปเตอร์ของ Regus พวกเขาต่างมีสไตล์เป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตามก็จะมีเรื่องของเป้าหมายหลัก, กลุ่มลูกค้าและโครงสร้างธุรกิจที่เหมือนกัน

“JustCo และ ​WeWork นั้นได้จ้างงานคนที่เคยทำงานที่ Regus เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาด Co-working space ใน ranking ที่สูงขึ้น ซึ่งมันก็ค่อนข้างเสี่ยงอยู่พอสมควรแต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าทางองค์กรจะได้ประโยชน์จากการเดินเกมในลักษณะนี้

นอกจากนี้ความได้เปรียบทางการตลาดที่ทาง JustCo และ WeWork มีก็คือ พวกเขาได้ทำการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับกลุ่มลูกค้า ส่วน Regus นั้นจะเน้นไปที่ลูกค้าที่เป็น Gen X การออกแบบและสไตล์การตกแต่งของ JustCo และ WeWork จะดึงดูดกลุ่ม Gen Y มากกว่า ซึ่งก็ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบเนื่องจากคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตการทำงานแบบไร้ซึ่งอิสระมากขึ้น ในท้ายที่สุดแล้วรูปแบบการทำงานของพวกองค์กรก็จะเริ่มปรับให้เข้ากับสไตล์การทำงานที่เป็นอิสระและรูปแบบการทำงานแบบนี้ก็จะแทรกซึมไปยังสถานที่อื่นๆ ทั่วทั้งโลก นี่ถือเป็นข่าวดีของคนที่ทำธุรกิจในวงการ Co-working space

Co-working space ในแต่ละที่มีนักลงทุน และกลยุทธ์การตลาดต่างกันไหม?

ต่างกันอย่างแน่นอน ในกรณีของ Glowfish นั้นเป็นธุรกิจครอบครัวที่มีอสังหาฯ อยู่ในมือ เป็นเจ้าของทั้งตึกอีกทั้งยังมีร้านอาหาร ซึ่งก็จะให้บรรยากาศและดีไซน์ที่มีความหรูหราและมีเอกลักษ์เฉพาะตัว

แต่ละที่ต่างมีกลยุทธ์ของตัวเอง หลักๆ แล้วสิ่งที่มีเหมือนกันคือ การสร้างสถานที่ให้เป็นมากกว่าที่ทำงาน สร้างคอมมูนิตี้ สร้างสภาพแวดล้อมให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง

ทาง HUBBA เองมีความเห็นอย่างไรบ้างกับการแข่งขันของ Co-working space ในครั้งนี้?

กลุ่มลูกค้าของเราเป็นคนละกลุ่มอีกทั้งสถานที่ตั้งก็ไม่ได้โฟกัสไปที่กลุ่ม CBD ถือเป็นความโชคดีที่ Co-working space ที่กำลังแข่งกันในตอนนี้นั้นมีเป้าหมายเจาะไปที่กลุ่มนักธุรกิจ โดย Hubba นั้นเจาะกลุ่มคนทำงานที่เป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือสตาร์ทอัพ มีพื้นที่การทำงานที่ช่วยเสริมสร้างเครือข่ายที่ต่อยอดธุรกิจที่จะช่วยผู้ประกอบการและ Digital Nomad

HUBBA นั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่อยู่ในราคาที่เอื้อมถึง สถานที่ตั้งมีหลากหลาย บรรยากาศให้เลือกหลายรูปแบบ ดังนั้นทาง HUBBA จึงไม่ได้มีความกังวลกับการที่มี Co-working space จากต่างประเทศที่เน้นพวกกลุ่มลูกค้าองค์กรในไทย เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป็นคนละกลุ่มกัน

คุณคิดว่าอนาคตของ Co-working space Landscape ในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

ตอนนี้ในกรุงเทพเองมีพื้นที่ปล่อยว่างจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสของคนที่อยากจะเข้ามาเล่นในธุรกิจ Co-working space เนื่องจากบางที่ตั้งค่าเช่าไม่สูงมาก ตลาดในประเทศไทยตอนนี้ยังไม่อิ่มตัวอีกทั้งยังคงเติบโตได้อีกเรื่อยๆ

การที่โลกเราสามารถเชื่อมโยงกันมากขึ้นเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วในทุกอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงทำให้ธุรกิจมีทุนที่จะลงทุนใน Co-working space ด้วยทำให้ตลาดนี้มีความน่าสนใจและน่าจับตามองเป็นอย่างมาก

คุณคิดว่านักลงทุนเป็นผู้ถือกุญแจสำคัญในการที่จะบอกว่าใครจะประสบความสำเร็จในตลาดไหม?

แน่นอนว่าเงินทุนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนบริษัทให้ก้าวไปข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณได้ทำความเข้าใจตลาดของตัวเองอย่างลึกซึ้งไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัฒนธรรมของในแต่ละประเทศ, และกลยุทธ์การตลาดของฝั่งคู่แข่งก็จะทำให้คุณได้เปรียบกว่าแน่นอน

ปัจจัยสำคัญที่จะควรพิจารณาในการทำธุรกิจ Co-working space ให้ประสบความสำเร็จ

  • ที่ตั้ง
  • การสร้างการรับรู้ให้แบรนด์
  • พื้นที่
  • การออกแบบ
  • ฟังก์ชัน
  • การตลาด
  • การลงทุน
  • ราคา

อย่างที่รู้กันว่าในตอนนี้ WeWork กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในทั่วทุกมุมโลก แต่ดูเหมือนว่าการเข้ามาในไทยครั้งนี้จะเป็นการเข้ามาเพื่อที่จะมีที่ตั้งในตลาดไทยเท่านั้น ในขณะที่ JustCo มีความต้องการที่จะเข้ามาแข่งขันในตลาดไทยจริงๆ ในแง่ของด้านการดีไซน์นั้นมองว่า WeWork มีความได้เปรียบกว่าทาง JustCo และ Glowfish เพราะว่ามีการออกแบบที่ปรับให้เข้ากับแต่ละวัฒนธรรมและดูมีความหรูหรากว่า

ตลาด Co-working space นี้นับว่ากำลังเป็นที่น่าจับตา เนื่องจากได้เข้าสู่ตลาดที่หลากหลายและตอบโจทย์สำหรับลูกค้าในองค์กร

Disclaimer: HUBBA is a strategic partner of Techsauce

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ONNEX by SCG Smart Living รุก 'ตลาดโซลาร์' รับโลกเดือด ดันโมเดลธุรกิจ EPC+ 5 รูปแบบ

ONNEX by SCG Smart Living เปิดแผน EPC+ Business Model 5 รูปแบบ ทั้งโมเดลสำหรับผู้ประกอบการ, เจ้าของโครงการ, นักลงทุน, บริษัทในเครือข่าย และตัวแทนอิสระ...

Responsive image

เจาะลึกบทบาท CVC กับการลงทุนใน Startups ยุคใหม่ กับ Nicolas Sauvage หัวเรือใหญ่ TDK Ventures

เจาะลึกบทบาทของ CVC ในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ พร้อมเผยกลยุทธ์การเฟ้นหาและสนับสนุน Startups รวมถึงแบ่งปันวิสัยทัศน์เชิงลึกรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนใน Startups ที่น่าจับตามอง โดย Nico...

Responsive image

ส่องกฎหมายและนโยบายที่ดึง Silicon Valley มาลงทุนในอินโดนีเซีย

บทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะลึกกับ 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อินโดนีเซียได้รับความสนใจจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในช่วงเวลานี้...