ไทยรัฐกับการเป็นสื่อทุกๆช่องทาง และการหาน่านน้ำใหม่ | Techsauce

ไทยรัฐกับการเป็นสื่อทุกๆช่องทาง และการหาน่านน้ำใหม่

ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์หัวสีที่อยู่กับประเทศไทยมานาน จากหนังสือพิมพ์ สู่ไทยรัฐทีวี และยังมีไทยรัฐออนไลน์ ไม่ว่าอย่างไร เป็นที่ทราบดีว่าธุรกิจสื่อนั้นถูก Disrupt ตลอดTechsauce พูดคุยกับคุณวัชร วัชรพล ผู้บริหารรุ่นที่ 3  ของ 'ไทยรัฐ' กับการมองหาน่านน้ำใหม่ และการปรับตัวในธุรกิจสื่อ 

ธุรกิจไทยรัฐในวันนี้มีอะไรบ้าง


ไทยรัฐดำเนินธุรกิจหลักคือธุรกิจสื่อ ปัจจุบันไทยรัฐมีสื่ออยู่ 3 ประเภท คือหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐทีวี และไทยรัฐออนไลน์ ซึ่งไทยรัฐออนไลน์ดำเนินกิจการมาเป็นปีที่ 11 แล้ว ในขณะที่ไทยรัฐทีวีเข้าสู่ปีที่ 7 

ไทยรัฐออนไลน์เริ่มต้นในปี 2538 มีมานานมาแล้ว แต่บริษัทเพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นมา 11 ปีที่แล้ว เพื่อมารับผิดชอบแล้วก็ให้ความสำคัญกับออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ และเราก็ให้ความสำคัญและจริงจังกับการทำออนไลน์มากกว่าเดิม  โดยทุกวันนี้ก็ไทยรัฐออนไลน์ก็มียอดเพจวิวไม่ต่ำกว่าร้อยล้านเพจวิวต่อเดือน แล้วก็มี user ไม่ต่ำกว่าสองล้านคนต่อวัน

ปัจจุบันธุรกิจสื่อนั้นถูก Disrupt ไทยรัฐวางตัวเองไว้ตรงไหน 

“เราก็พยายามปรับตัวมาตลอด สิ่งที่เราต้องปรับมาก็คือการปรับตัวให้เป็นสื่อในหลายๆ ช่องทาง โดย สื่อ ในแต่ละช่องทางมีศิลปะหรือมีวิธีการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป”

ไทยรัฐพยายามปรับตัวให้อยู่กับเทรนด์ตลอดเวลา ทั้งรูปแบบการนำเสนอ ซึ่งในฟากของไทยรัฐออนไลน์ก็มีการปรับรูปแบบ Content ที่รับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปัจจุบันต้องยอมรับว่า Content บนโลกออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

จากวันแรกที่ข่าวออนไลน์เมื่อ 10 กว่าปี วันนี้ก็ต้องมีการพัฒนาขึ้นไปด้วย ไทยรัฐก็มีการปรับตัวตามยุคสมัยตลอดแล้วก็ ที่สำคัญต้องไม่ตกเทรนด์ไม่ว่าจะมีช่องทางอะไรใหม่ๆ เราก็จะพยายามเข้าไปอยู่ตรงนั้นเพื่อให้สะดวกกับผู้อ่านผู้ชมที่จะเข้ามาหาเราได้ง่ายในทุกๆ ช่องทางที่เขาจะใช้

ความสำคัญของ Digital Transformation และผลกระทบ COVID-19

เรื่อง Digital Transformation เราค่อนข้างโชคดีเพราะว่าเราได้ทำกันมาประมาณ 2 ปีแล้ว ก่อนหน้าที่จะมี COVID-19 เพราะฉะนั้นเราก็จะมี Digital Tools ต่างๆ ที่เราเอาเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน

เราใช้ในระบบของ Google Suite เพราะฉะนั้นการทำงานมันก็จะผ่านคลาวด์ การประชุมต่างๆก็ใช้ใน Google Meet ทำให้ในช่วงที่มีการ Lock down พนักงานก็ไม่จำเป็นต้องเข้ามาทำงานทุกคนก็ สามารถ work from home ได้

แต่ก็ถ้าในส่วนของทีวี ก็คงลำบากนิดหนึ่งเพราะทีวี มีการใช้สตูดิโอ มีการเข้ามาตัดต่อ แต่เราก็มีการแบ่งทีม มีทีม A กับทีม B ถ้าเกิดมันมีกรณีว่าสมาชิกในทีม A สมมติว่าต้องกักตัว ทั้งทีมก็ได้กักอยู่ที่บ้าน แล้วก็ยังมีทีม B ที่สามารถวนเวียนเข้ามาทำงานได้ 

ในส่วนของเรทติ้งหรือว่า Stats ผู้เข้าเว็บก็เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างตัวเว็บไซต์ก็เพจวิวขึ้น 50 กว่าเปอร์เซ็นเลย ส่วนทีวี เรทติ้งก็ขึ้นเยอะเช่นกัน สิ่งนี้คือโอกาสของสื่อในการทำ Content ที่ผู้อ่านต้องการจะเสพ ซึ่งทุกสื่อก็มีการแข่งขัน แต่ไทยรัฐจะยังคงอยู่ในทุกๆ ช่องทางของผู้ติดตาม

การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ระหว่างคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ สื่อโลกเก่าและโลกใหม่เป็นอย่างไร

เรามีการพูดคุย และทำให้คนรุ่นเก่าอาจจะเห็นว่า ถึงเวลาที่เราต้องปรับเปลี่ยนปรับตัว 

“คือมันก็ต้องใช้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็ต้องเป็นการพูดคุยแล้วก็ทุกๆ ท่านก็ให้ความร่วมมืออย่างดีแล้วก็ทุกท่านเข้าใจและตระหนักดีว่ามันถึงเวลาที่เราต้องปรับปรุงในบางจุด ที่เราอาจจะทำมาแล้วมันอาจจะยังไม่ดีพอ แต่ก็ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี”

มีการจัด Hackathon ภายในองค์กรด้วย

Hackathon เป็นงานที่เราจัดขึ้นเองภายในองค์กร โดยคาดหวังว่าเราจะได้ไอเดียใหม่ๆจาก community มาช่วยกันผลักดันหรือว่า drive วงการสื่อไทย เพราะว่าอย่างที่ทราบว่าเราก็โดน disrupt กันมาเยอะก็ลองดูว่าเผื่อจะมีไอเดียอะไรใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการนำเสนอหรือว่าเป็นระบบอะไรที่ทำให้ผู้อ่านมีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือว่าเหมาะเข้ากับ Lifestyle ที่เพิ่งเปลี่ยนไปกับปัจจุบันมากขึ้น โดยจะมีทีมเทคโนโลยีของเราเข้าร่วมด้วย

การเข้ามาของ 5G คือโอกาสของสื่อ

เรามองว่า 5G คือโอกาสของคนทำ Content ซึ่งเราก็มีการวางแผนว่าจะต่อยอดอย่างไรกับเทคโนโลยีที่เข้ามา 

การเข้ามาของ 5G สร้างความน่าตื่นเต้นในการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็น Content รูปแบบ Rich Media

หรือไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ที่สามารถนำเสนอได้อย่างเสถียร เต็มรูปแบบ ไม่ติดข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งเมื่ออุปกรณ์มือถือต่างๆมีการพัฒนามากขึ้น ก็จะทำให้การเข้าถึงเนื้อหาของเราสะดวกยิ่งขึ้นด้วย 

“คือยุคนี้มันเป็นยุคที่คนหันมาเสพเป็นวิดีโอเยอะขึ้น เพราะฉะนั้น การที่เราจะทำ content ออกไปในรูปแบบวิดีโออะไรต่างๆ ก็จะเห็นได้เยอะขึ้น แล้วก็รวมถึงอาจจะเป็นเรื่องของการรายงานสดจากสถานที่ที่เกิดเหตุอะไรต่างๆ ซึ่งผมก็เชื่อว่า 5G ตรงนี้น่าจะมาช่วยให้ Experience ของผู้ที่ติดตามดีขึ้น”

นอกจากธุรกิจสื่อ เริ่มเห็นมีการ Diversify Business ไปสู่ธุรกิจ Logistics ด้วย

อย่างแรกคือในวงการสื่อเนี่ยเราก็มีแทบจะครบทุกขาแล้ว โอเคถ้าไทยรัฐไม่มีอย่างเดียวก็ น่าจะเป็นวิทยุที่เราไม่ได้ทำ  ซึ่งต้องบอกว่าด้านสื่อเราก็ไม่ทิ้งนะครับด้านออนไลน์ หรือทีวี หรือหนังสือพิมพ์เอง

แต่ว่าเรามามองดูว่าเราอยากจะ ค้นหา Revenue Stream ใหม่ๆ ที่ไม่ได้มาจากแวดวงเดิมของสื่อ หรือไม่ได้มากจากโฆษณาเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสื่อในรูปแบบไหน ก็จะอยู่ใน โมเดลการหาโฆษณา

คราวนี้เราก็มานั่งดูกันว่าเรามี competency อะไรที่จะสามารถแตกลายธุรกิจออกไปได้แล้วก็ logistics เหมือนเป็นอะไรที่เราค่อนข้างมีความชำนาญระดับหนึ่ง เพราะเราขนส่งหนังสือพิมพ์มาเองตลอด 60-70 ปีด้วยรถของเราทุกวัน ออกจากสำนักงานที่ถนนวิภาวดีรังสิตทุกวัน ไปทั่วประเทศ

เราก็คิดว่าตรงนี้มันก็น่าจะเป็น competency อีกอย่างที่เราสามารถจะแตกลายออกไปได้นะครับ แล้วก็ยังมี fleet รถที่ตอนนี้ยังว่างอยู่จำนวนหนึ่งเราก็อยากจะเอาตรงนี้มาหาประโยชน์ให้ได้เต็มกำลัง

ไทยรัฐต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร?

ธุรกิจไทยรัฐหลังจากนี้เราก็ยังเป็นสื่อ แต่ในขณะเดียวกันเราก็อยากจะ explore ไปดูธุรกิจอื่นๆมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการลงทุนก็ได้ หรืออาจจะเป็นการที่เราจะลงมือทำอะไรบางอย่างเหมือนกับที่เราพยายามจะทำกับ logistics อยู่ 

ในส่วนของสื่อเองโดยเฉพาะไทยรัฐออนไลน์ เราก็พยายามจะหา Business Model อะไรใหม่ๆขึ้นมา นอกเหนือจาก advertising อย่างเดียว เราก็พยายาม explore หวังว่าจะสำเร็จภายในปีสองปีนี้ พยายามจะ explore กับ Subscription Model เป็นต้น

แล้วก็เมื่อประมาณเดือนสองเดือนที่ผ่านมา เราก็ได้ launch ไทยรัฐคลาสสิฟายด์ส ก็พยายามจะทำให้เป็นตลาดซื้อขาย แต่ก็ยังอยู่ในช่วงพัฒนา อาจจะยังไม่ได้ Grand Opening  แต่ทั้งหมดนี้ คือการพยายามหา Business Model มาต่อยอดจากฐานผู้อ่านของเราที่มีอยู่ไม่ต่ำกว่าสองล้านคนต่อวัน และจะมีอีกหลายๆ Project ที่จะเห็นตามมาครับ” คุณจูเนียร์กล่าวสรุป


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

สรุปเทคโนโลยีในปี 2025 เทรนด์ไหนกำลังจะมา ? ฟังความเห็นจาก 3 มุมมองสำคัญ : นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และนักอนาคตศาสตร์

ปี 2025 กำลังจะมาถึงพร้อมกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บทความนี้สรุปและอธิบายเทรนด์สำคัญจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษของ Techsauce เพื่อให้เห็นภาพรวมแ...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...