เมื่อธุรกิจความสวยความงาม นำโมเดลแบบ Uber มาใช้ จนยักษ์ใหญ่ L’Oreal และ Unilever ต้องหันมาลงทุน | Techsauce

เมื่อธุรกิจความสวยความงาม นำโมเดลแบบ Uber มาใช้ จนยักษ์ใหญ่ L’Oreal และ Unilever ต้องหันมาลงทุน

โมเดลของ Uber ที่สร้างงานแบบใหม่ ให้คนสามารถหารายได้เพิ่ม ถูกนำมาใช้ในหลายภาคธุรกิจและแน่นอนธุรกิจสายความสวยความงามก็เห็นจะหนีไม่พ้นเช่นกัน มีกันตั้งแต่ช่างทำผม สปา นวด แต่งงาน ทำเล็บ bikini waxes ไปจนถึงสอน โยคะส่งตรงกันถึงบ้านกันเลยทีเดียว

แม้เราจะมีร้านประจำ แต่บางทีก็มีอารมณ์ที่ขี้เกียจออกจากบ้าน โดยเฉพาะพวกฝรั่งทั้งหลายที่เวลาหิมะตกทีนี่ หนาวแทบไม่อยากจะเดินกันเลยทีเดียว ธุรกิจแบบนี้จึงเกิดได้ที่นั่น ไม่ว่าจะเป็น Glamsquad, Priv, Vendetta และ Soothe ในสหรัฐฯ หรือ Blow Prettly, Uspaah และ Ruuby ในอังกฤษ

ข

Soothe และ Blow ตัวอย่างการนำแนวคิด Uber มาใช้

Soothe ให้บริการ Spa Massage ที่บ้านและออฟฟิสในสหรัฐฯ และกำลังขยายธุรกิจไปยังแคนนาดาและอังกฤษ Merlin Kauffman ผู้ก่อตั้ง และ CEO กล่าวว่า โดยปกติแล้ว หมอนวดจะได้เงินอยู่ที่ราวๆ 15-25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชั่วโมง ในขณะที่ร้านนวดจะคิดค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้มากกว่านั้นและสูงกว่าบริการของ Soothe สำหรับ Soothe แล้ว หมอนวดสามารถเลือกได้ว่าจะทำงานเมื่อไหร่ก็ได้ ตามที่พวกเขาต้องการ และยังได้รับรายได้ต่อช้่วโมงที่สูงกว่าถึง 70 เหรียญฯ ด้วยกัน

ขข

Kauffman เป็น talent คนหนึ่ง เค้าได้รับการว่าจ้างจาก AOL ตั้งแต่อายุ 11 ปี ซึ่งเป็นพนักงานที่อายุน้อยที่สุด และก่อนหน้านี้ทำธุรกิจด้าน domain-name ได้สำเร็จ แรงบันดาลใจในการสร้าง Soothe  คือช่วงที่เขาอายุราวๆ 20 ได้พยายามจอง last-minute massage และก็เห็นว่ามันไม่ง่ายเลย ในปี 2013 เขาลงทุนด้วยเงินของเขาแสนเหรียญฯ ในช่วง 15 เดือนเพื่อให้ธุรกิจเริ่มต้นได้ และสร้างรายได้ 75,000 เหรียญในแต่ละเดือน และเพิ่มการลงทุนอีก 1.7 ล้านเหรียญฯ และสร้างรายได้แสนเหรียญ/เดือนในช่วง 6 เดือน หลังจากนั้น Kauffman ระดมทุนอีก 48.7 ล้านเหรียญฯ และขยายไป 51 เมืองทั่วอเมริกา แคนนาดา และอังกฤษ โดยมีแผนออกสู่ตลาดในอนาคต

ในขณะที่ Fiona McIntosh ผู้ร่วมก่อตั้ง Blow ธุรกิจทำผม และเคยเป็นอดีต Editor in Chief ของ Grazia และ Elle Magazine กล่าวว่า พวกช่างทำผมสามารถใช้วันหยุดที่มีในการทดลองรับงานก่อนดูว่าคุ้มไหม อย่างของธุรกิจของช่างทำผมส่วนใหญ่วันหยุดคือ วันจันทร์ ถ้าเห็นว่าคุ้ม ก็สามารถเปลี่ยนจากการทำงานที่ร้านซาลอน มาทำงานแบบ Freelance แบบนี้ได้

ขขข

Blow เริ่มต้นจากการเปิดร้าน “fast beauty”ซาลอนใน Covent Garden ในปี 2013 ตามมาด้วย on-demand service ใน London และปี 2015 ขยายธุรกิจไปใน Birmingham และ Manchester ให้บริการทุกอย่างตั้งแต่ผม แต่งหน้า ไปจนถึง bikini waxing และ Pilate

ด้วยบริการเหล่านี้เป็นโอกาสอันดีสำหรับธุรกิจที่เดิมต้องคอยมาแนะนำสินค้าแบบ Knock door ที่บ้านให้กับแม่บ้าน และก็ไม่มีใครสนใจ แต่กับกรณีนี้เมื่อมีอโปรที่คุณต้องการใช้บริการมาถึงบ้านแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำเสนอสินค้าเข้าไป L’Ore’al, Coty  ยังต้องมาพาร์ทเนอร์ ในขณะที่ Unilever Ventures ก็ร่วมลงทุนใน Blow เสียเลย

ปัจจุบันตลาดสินค้าด้านผลิตภัณฑ์เสริมความงามในอังกฤษมีมูลค่า 6 พันล้านปอนด์ นำโดย Estee Lauder และ L’Ore’al ในขณะเดียวกันหลายคนก็ต้องตกใจเมื่อธุรกิจบริการความสวยความงามก็มีมูลค่าถึง 6 พันล้านปอนด์เช่นกัน แต่มีผู้เล่นรายเล็กหลายรายเต็มไปหมด

Dharmash Mistry หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Blow กล่าวว่า ธุรกิจแบบนี้ถือว่ามี Barriers ในการเข้ามาต่ำ แต่ Barriers ในการขยายธุรกิจนั้นสูง ตัว Mistry เองมองว่าพวกเขาหยุดพัฒนาไม่ได้รวมถึงในด้านเทคโนโลยี อาทิ ระบบ Chat boxes เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยตอนนี้โฟกัสไปถึง AI เพื่อพัฒนาระบบ Operation ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น ต้องมีการส่งต่อระหว่างผู้รับงานและระบบ Call Center อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ากรณีที่ผู้รับงานมาหาลูกค้าล่าช้า ให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนคนหรือจะรอนั่นเอง

แต่ของคุณภาพเน้นเจาะคนที่มีสไตร์ยังอยู่ได้เสมอ

ขขขข

แน่นอนว่าสำหรับธุรกิจที่ยังต้องการความพิเศษ และเป็นประสบการณ์ที่หาที่อื่นไม่ได้ ย่อมไม่กลัว อย่างร้านซาลอนรายใหญ่ที่ต้องจอง Stylist หรือ beauty therapist เฉพาะยังคงได้รับความนิยม อย่างกรณีของ DryBy ธุรกิจด้านความงามที่ Oxford Circus  ที่ใครๆ ก็รู้ถึงบริการที่มีคุณภาพ การต้อนรับอย่างอบอุ่น และการตกแต่งอย่างมีสไตร์เราคิดค่าใช้จ่าย 175 ปอนด์สำหรับลูกค้าที่มาใช้บริการ ซึ่งลูกค้าก็ไว้วางใจในบริการของเรา และต้องการ Stylist มือหนึ่ง นอกเหนือจากนี้ทีมงานของเราถือเป็นพนักงาน เราอยากมั่นใจว่าพวกเขาปลอดภัยจึงไม่มีการส่งพวกเขาไปยังสถานที่ที่ไม่รู้จัก"

อีกแห่ง Ruuby บริการด้านความงามอีกรายในลอนดอน แต่เน้นเจาะกลุ่ม Niche ไปเลย บริการนี้จะทำงานร่วมกับ Stylist ที่มาจากร้านซาลอนอย่างหรู เช่น Neville, Urban Retreat ที่ Harrods หรือ Richard Ward นอกจากนี้ยังมีแผนขยายไปยัง ปารีสในปีหน้า คำว่า Niche ในที่นี้คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามจะมีประสบการณ์เคยให้บริการกับบรรดาเหล่าคนดังเซเลปทั้งหลายมาแล้ว ไม่ก็เคยได้รับคำแนะนำจากแมกกาซีนดังๆ ต่างๆ 

    ขขขขข

และ Ruuby จะเน้นเรื่องคุณภาพมากกว่า ทั้งขนาดเตียงในการนวดที่ใหญ่เพียงพอ และใช้สินค้าแบรนด์ที่อัพเดตเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น Tom Ford, Giorgio Armani, Illamasqua และถ้าทำเล็บก็ต้องใช้ OPI, Essie หรือ Chanel เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความแตกต่างอย่างชัดเจนและยังคงเป็นธุรกิจที่ยืนหยัดอยู่ได้

อ้างอิงจาก FT

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะเบื้องหลังดีล Zipevent และ Link Station Group สู่การขยายธุรกิจอีเวนต์ในภูมิภาค SEA

การเข้าซื้อกิจการระหว่าง Zipevent แพลตฟอร์มจัดการอีเวนต์และจำหน่ายบัตรออนไลน์ในประเทศไทย กับ Link Station Group บริษัทญี่ปุ่นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจำหน่ายบัตร (Ticketing System) ถือเ...

Responsive image

KBank x Orbix Technology x StraitsX สาธิตการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยบล็อกเชนที่ SG FinTech Festival 2024

ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับ Orbix Technology และ StraitsX เปิดตัวนวัตกรรมชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย e-Money on Blockchain ในงาน Singapore FinTech Festival 2024 ชูศักยภาพฟินเทคไทยบนเวทีโลก...

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...