เผยผลการศึกษา ผู้ก่อตั้งบริษัท Startup ที่ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาทางด้านธุรกิจ | Techsauce

เผยผลการศึกษา ผู้ก่อตั้งบริษัท Startup ที่ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาทางด้านธุรกิจ

จบปริญญาตรีแล้วคิดอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองคงเป็นเรื่องธรรมดาของนักศึกษาในปัจจุบัน เนื่องจากเงินเดือนขั้นต่ำที่บริษัทเสนอให้กับนักศึกษานั้นอาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคที่เศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ จึงทำให้พวกเขามองหาลู่ทางในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ หนึ่งธุรกิจที่กำลังบูมมากในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นธุรกิจที่เราเรียกกันว่า “Startup”

ธุรกิจประเภท Startup เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย เนื่องจากนักลงทุนในตลาดมองเห็นถึงศักยภาพของธุรกิจ Startup นั้น ๆ จึงเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อหวังผลกำไรจากบริษัท นี่จึงเป็นโอกาสที่ทำให้นักศึกษาหรือนักธุรกิจที่มีไอเดียเจ๋ง ๆ เข้ามานำเสนอไอเดียเพื่อเปิด Startup ของตนเองมากมาย

อย่างไรก็ตามคนไทยยังติดความเชื่อที่ว่าถ้าหากจะประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจก็ต้องมีความรู้ทางด้านธุรกิจหรือเทคโนโลยี และที่สำคัญต้องจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยระดับประเทศหรือระดับโลก กล่าวคืออาจจะต้องจบการศึกษาทางด้านธุรกิจและควรจบจากรั้วชมพูขาวหรือเหลืองแดงเท่านั้น ความคิดนี้ยังคงถูกฝังอยู่ในความเชื่อของชาวไทยหลายๆ คน

บริษัท iPrice เป็นหนึ่งในบริษัท Startup ที่ประสบความสำเร็จและทำตลาดใน 7 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมมือกับบริษัท DMP ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนเห็นถึงความเชื่อนี้ของคนไทยจึงได้ศึกษาประวัติการศึกษาของเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัท Startup ในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จและพบผลการศึกษาดังต่อไปนี้

จากการศึกษา Startup 33 บริษัทในประเทศไทยและผู้ก่อตั้งจำนวน 66 คน (ข้อมูลการศึกษามีเพียง 50 คน) พบว่าผู้ก่อตั้งชาวไทย 15 คนจบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (5 คนจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์), 6 คนจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 4 คนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 3 คนจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ 2 คนจากการศึกษาจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณลาดกระบัง

นอกจากผู้ก่อตั้งชาวไทยแล้ว ประเทศไทยยังมีผู้ก่อตั้ง Startup ชาวต่างชาติที่เข้ามาสร้างบริษัท Startup กว่า 19 คน ซึ่งมาจากหลายประเทศทั่วโลกและจบจากมหาวิทยาลัยและสาขาวิชาที่ต่างกัน

จำแนกตามสาขาวิชาที่เหล่าผู้ก่อตั้ง Startup จบการศึกษา 7 คนจบการศึกษาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, 9 คนจบการศึกษาจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและการจัดการ, 13 คนจบการศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรม, 14 คนจบการศึกษาจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ และ 6 คนที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาอื่น ๆ

นอกจากความเชื่อข้างต้นแล้ว คนไทยบางกลุ่มเชื่อว่าการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป (ปริญญาโทและ MBA) นั้นจะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและที่สำคัญสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมามาต่อยอดสำหรับธุรกิจต่อไป จากการศึกษาพบว่ามีผู้ก่อตั้ง Startup 21 คนที่เข้าศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป กล่าวคือจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ก่อตั้งบริษัท Startup ในประเทศไทยนั้นสามารถนำการศึกษาในชั้นปริญญาตรีมาปรับใช้ให้ธุรกิจของพวกเขาประสบความสำเร็จ

ตัวเลขที่ปรากฏในการศึกษาครั้งนี้ไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จแต่อย่างใด ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นใคร จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยใด หรือจบการศึกษาจากคณะสาขาวิชาอะไร ทุกคนล้วนแต่สามารถประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจได้ไม่ต่างกัน ผู้ก่อตั้งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่นำวิชาความรู้ที่พวกเขาได้ร่ำเรียนมามาปรับใช้และเปิดเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ต่อผู้บริโภคในอุตสหกรรมที่พวกเขาสนใจ คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่ว่าจะเรียนจบสาขาอะไร ก็สามารถนำความรู้มาต่อยอดเป็นธุรกิจได้ทั้งนั้น เพียงแต่ต้องมองหาโอกาสทางธุรกิจหรือพยายามแก้ปัญหาของผู้บริโภคที่ยังไม่มีธุรกิจใดเข้ามาตอบโจทย์

ขั้นตอนการศึกษา

  1. เก็บข้อมูลบริษัท Startup ที่ประสบความสำเร็จโดยวัดจากการได้รับทุนระดับ Series A ขึ้นไป
  2. ข้อมูลประวัติและการศึกษาของผู้ก่อตั้งมาจาก Linkedin ส่วนตัวและสัมภาษณ์ตามสื่อต่างๆ
  3. ข้อมูลของผู้ก่อตั้งที่มีในการค้นหาออนไลน์มีเพียง 50 ท่านเท่านั้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...