เดอะวิสดอมกสิกรไทย อัปเดตเทรนด์และความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี AI พร้อมกลยุทธ์การลงทุนเพื่อสร้างพอร์ตที่แข็งแกร่งในงาน ‘THE WISDOM: Wealth Decoded - Tech Trend Talk’ งานสัมมนาพิเศษที่ คุณกระทิง - เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส - เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) มาแบ่งปันมุมมองให้เห็นภาพและบทบาทของเทคโนโลยี AI ตั้งแต่การเข้ามา Disrupt ธุรกิจ การนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ การสร้างมูลค่าเพิ่มจาก AI ตลอดจนคำแนะนำด้านการลงทุนในกิจการที่ได้ประโยชน์จาก AI ในระยะยาว
ความเปลี่ยนแปลงด้าน AI เริ่มต้นในปี 2016 เรียกช่วงเวลานั้นว่า ‘The Age of Disruption’ ต่อมาในปี 2018 เป็นยุค ‘Disruption Domino’ เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่ถูกดิสรัปต์มากที่สุดคือ สื่อ (Media) รองลงมาคือ การเดินทาง/การท่องเที่ยว (Travel) เห็นได้จากการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มการจองตั๋วเครื่องบิน โรงแรมต่างๆ มาในปี 2020 ที่เกิดโควิดระบาด ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดที่สุดคือ ผู้คนหันมาใช้บริการดิจิทัล โดยเฉพาะ Mobile Banking ที่มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นมหาศาล และหลังจากนี้ เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีก 2 ครั้ง ได้แก่
ปี 2024-2025 จะเป็นจุดหักศอกครั้งแรก ดังจะเห็นได้จาก Generative AI ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน และเริ่มนำมาใช้ได้จริง จนสร้าง Productivity ได้มหาศาลแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ปี 2030-2035 จะเกิดจุดหักศอกครั้งที่ 2 จากการผสานรวม (Convergence) ของหลายๆ เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ในช่วงนี้เราจะเริ่มเห็นขีดความสามารถของเทคโนโลยีที่เพิ่มแบบทวีคูณ
หลังจากนั้นเทคโนโลยีจะทำให้โลกเปลี่ยนไปอีกมาก และจะเกิด Disruption ที่ใหญ่กว่าเดิม ซึ่งแม้แต่เจ้าพ่อแห่งวงการ AI ทั้ง Kai Fu Lee อดีตประธาน Google China หรือ Andrew Ng ผู้บุกเบิกวงการ Deep Learning ก็ไม่สามารถคาดการณ์แบบฟันธงได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
คุณกระทิงบอกว่า ใครใช้ AI เป็นก็ได้เปรียบ โดยเฉพาะภาคเอกชน เพราะขยับตัวเร็วก็เปลี่ยนแปลงได้เร็ว แต่ต้องเลือกให้ดีว่าจะใช้ AI แบบใด กับเคสไหน คำแนะนำคือ ต้องทดลองใช้ AI ดูก่อนว่า ตัวไหนที่เหมาะกับธุรกิจ และถ้าเลือกใช้เทคโนโลยีถูกทาง อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ยกตัวอย่างเช่น
ในอนาคต AI จะช่วยเพิ่ม Productivity ได้อีกมหาศาล จน Sam Altman ผู้ก่อตั้ง OpenAI บอกไว้ว่า ต่อไปจะมียูนิคอร์นที่เกิดจากพนักงานเพียงคนเดียว เรียกว่า ‘Solopreneur’
ในทัศนะของคุณกระทิง มีหลักการ 5Ds ที่ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทั่วโลก ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดเมกะเทรนด์ ได้แก่
Demographic ข้อมูลประชากรของแต่ละประเทศ ซึ่งตอนนี้โลกกำลังเข้าสู่ Silver Age และเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ยากที่สุด
Dereverage ความสามารถในการลดหนี้ ชำระหนี้ ซึ่งจำเป็นต้องลดหนี้ที่อยู่อยู่ในระดับสูง
Decarbonization ความสามารถในการลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อไปสู่ Net Zero ซึ่งมีมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เป็นแกนหลักสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัว
Digitalization การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลโดยมี AI อยู่ในทุกๆ ขั้นตอนเพื่อเพิ่ม productivity
Decoupling ความพยายามแยกห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสำคัญระหว่างประเทศมหาอำนาจ รวมถึงการรู้แหล่งผลิตที่หลากหลาย เพื่อรักษาความมั่นคงของเศรษฐกิจภายในประเทศ
จาก 5D นักลงทุนสามารถแตกย่อยแต่ละ D ออกมาเป็น Sub Trend แล้วนำมาผสานรวม (Merge) กัน ดูว่าจะลงทุนด้านไหนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น Demographic + Digitalization พิจารณาการเติบโของจำนวนประชากรจีนกับการพัฒนาแพลตฟอร์ม AI ให้คนจีนใช้ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นพันล้านดอลลาร์
เพื่อตอบสนองเมกะเทรนด์ของเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น นักลงทุนสามารถเลือกกองทุนที่มีโอกาสได้รับปัจจัยบวกจากเทรนด์นี้ ได้แก่
กองทุน K-GHEALTH ลงทุนในกองทุนหลัก JPMorgan Funds- Global Healthcare Fund-Class A (acc) USD ซึ่งปัจจุบัน บลจ.กสิกรไทย ได้ผนึกกำลังกับ J.P. Morgan Asset Management เป็นพันธมิตรในการบริหารกองทุน โดยกองทุน K-GHEALTH มีนโยบายการลงทุน เน้นหุ้นเติบโตสูง เช่น หุ้นในกลุ่ม Biotech และ MedTech และเน้นหุ้นปัจจัยพื้นฐานราคาผันแปรตามเศรษฐกิจโลกน้อย
กองทุน K-GTECH ลงทุนหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก เน้นหุ้นเติบโตสูง ผ่านกองทุนหลัก Threadneedle (Lux) Global Technology, Class IU USD ซึ่งกองทุน K-GTECH มีโอกาสเติบโตจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อเริ่มเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักร เป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นเทคโนโลยี
เทคโนโลยียังคงเป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น เทคโนโลยี 5G, รถยนต์ EV, เทคโนโลยี AI เป็นต้น
บริษัทเทคโนโลยีเร่งคุมต้นทุนในช่วงที่ผ่านมา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้มีความแข็งแกร่งในระยะยาว
*ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด