เคล็ดลับสร้างธุรกิจยุคใหม่จากสซีรี่ย์ START-UP เเบบไม่มีสปอยล์หากยังไม่เคยดู | Techsauce

เคล็ดลับสร้างธุรกิจยุคใหม่จากสซีรี่ย์ START-UP เเบบไม่มีสปอยล์หากยังไม่เคยดู

ซีรี่ย์ START-UP ตอนนี้คงเรียกได้ว่าเป็นซีรี่ย์เกาหลีที่อาจโดนใจและทำให้หลายคนมีไฟอยากเริ่มต้นสร้างธุรกิจของตัวเองหรือเริ่มตั้งทีมสร้าง Startup ครั้งนี้เราได้เก็บบางประเด็นที่น่าสนใจอย่างเคล็ดลับการเริ่มต้นธุรกิจ Startup จาก [Live] ถอดรหัสซีรีส์ Start-Up เคล็ดลับการสร้างธุรกิจยุคใหม่ และซอฟท์พาวเวอร์แบบเกาหลี ของ Scii Chula ในครั้งนี้เราได้มีโอกาสฟังแนวคิดและประสบการณ์ดีๆ จากผู้มีประสบการณ์ตรงในวงการ Startup ไทยอย่าง คุณหมู ณัฐวุฒิ นักลงทุนและผู้ร่วมก่อตั้ง Oookbee, คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมต. กระทรวงการคลัง, Angel Investor และหัวหน้าพรรคกล้า, คุณเหม็ง สมโภชน์ อดีต Managing Director,dtac Accelerate และผู้บริหารกองทุน KT Venture, คุณซอฟแวร์-กรกมล ผู้ก่อตั้งเว็บไซด์ Korseries และ ดร.รณกร ไวยวุฒิ อาจารย์สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้มาเล่าสู่กันฟัง 

แต่ก่อนเข้าสู่เคล็ดลับที่ผู้เริ่มต้นสร้าง Startup ควรรู้เรามาดูในส่วนของสิ่งที่น่าสนใจจากซีรี่ย์อย่าง ซอฟท์พาวเวอร์แบบเกาหลีที่ถูกแฝงไว้ในเนื้อเรื่องจนสร้างความเป็นเอกลักษณ์และทำให้รู้ว่านี่ละ! คือ สังคมของคนเกาหลี 

ในสังคมเกาหลีหากเคยดูสารคดีการศึกษาของประเทสเกาหลี เราจะเห็นว่าครอบครัวของคนเกาหลีค่อนข้างกดดันด้านการศึกษาและพยายามอย่างมากที่จะให้ลูกๆ ได้เรียนในสถานบันการศึกษาดีๆ ติดอันดับต้นๆ อย่าง SKY เพื่อให้จบมาได้เข้าทำงานบริษัทใหญ่ มีงานทำมีเงินเดือนประจำที่มั่นคง ซึ่งสิ่งนี้เราจะเห็นการนำเสนอซอฟพาวเวอร์ที่น่าสนใจนี้ผ่านการเเฝงไว้ในบทซีรี่ย์เกาหลีเรื่อง Startup 

คุณซอฟแวร์ ได้เเสดงความคิดเห็นไว้ว่า ที่ผ่านมาหากใครตามติดซีรี่ย์ของเกาหลีเราจะเห็นว่าซีรี่รุ่นใหม่ๆ ค่อยๆ มีเเนวคิดการสร้างเนื้อเรื่องที่ต่างไปจากเดิมที่เน้นเเต่บทความรักพระเอกรวย นางเอกจน ดราม่า ทั่วไปแต่หันมาเน้นนำเสนอบทละครและตัวละครที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ หรือการใช้ชีวิตจริงโดยสะท้อนสังคมของประเทศเกาหลีมากขึ้นทั้งในมุมความคิดเดิมๆ ของผู้คนรุ่นเก่าและความคิดมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่เป็นมีความต่างกันโดยยกปัญหามาตีเเผ่ความจริงผ่านในบทซีรี่ย์ ร่วมกับเเฝงเเนวคิดใหม่ๆ เพื่อจุดประกายคนรุ่นใหม่ ผ่านเเนวซีรี่ย์วัยรุ่นทำตามความฝัน นอกจากนี้ส่วนหนึ่งที่น่าสนใจคือการให้บทบาทของผู้หญิงสามารถขึ้นเป็นระดับผู้บริหารได้อย่างที่นางเองเป็น CEO เพราะในความเป็นจริงในเกาหลีส่วนมาก CEO จะเป็นผู้ชายและวงการ Startup มีความน่าสนใจและเป็นโอกาสที่เด็กรุ่นใหม่สามารถสร้างอาชีพใหม่ๆ ได้

หลังจากที่เราได้ดูในส่วนที่ทำให้ซีรี่ย์เรื่องนี้น่าสนใจอย่าง ซอฟท์พาวเวอร์แบบเกาหลี เรามาดูเกี่ยวกับ Startup กับประเด็นแรกที่คงต้องพูดถึงคงต้องยกมาจากฉากหนึ่งในซีรี่ย์ที่เกิดขึ้นในห้องประชุมระหว่างคุณพ่อกับประธานยุน ซึ่งเกิดจากคำถามที่ว่า “ระหว่างการสร้าง Revenues ก่อน กับ การเพิ่มฐาน User ให้มากขึ้นก่อนแบบไหนจะดีกว่ากัน?” 

คุณหมู ให้ความคิดเห็นไว้ว่า อย่างเเรกเราต้องดูก่อนว่าธุรกกิจที่จะทำนี้เป็นธุรกิจเเบบไหนก่อน เพราะธุรกิจบางอย่างเป็นเเบบรับจ้างทำอยู่ในรูปแบบ B2B จะได้ทั้งลูกค้าเเละรายได้หากเป็น Revenues เเต่การทำธุรกิจที่เริ่มจาก Revenues ในความเป็นจริงค่อนข้างน้อย  หากเป็นธุรกิจทั่วไปส่วนมากจะเลือกเป็นการเพิ่มฐาน User เพราะตอบโจทย์การสร้างงาน หรือ ผลิตภัณฑ์ให้เกิดเป็นธุรกิจ เพราะในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมาในตลาดเทคโนโลยีค่อนข้างมีการเเข่งขันสูงมากการที่จะถูกเลือกใช้งานของ User ใช่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ของเรา เพราะถึงเเม้เปิดให้ใช้ฟรีก็ใช่ว่าจะได้รับความสนใจจาก User สำหรับธุรกิจ Startup ที่ต้องการขายผลิตภัณฑ์การหา User จึงเป็นหัวใจสำคัญเเรกที่ต้องทำก่อนเพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงในระยะยาวทั้งในด้านเงินทุนจากการใช้งานผลิตภัณฑ์และมูลค่าเเฝงที่เกิดจาก Data 

เคล็ดลับบอก Startup อะไรบ้างที่จะทำให้นักลงทุนต้องการลงทุนในธุรกิจ? หากลองมองในมุมนักลงทุนใน Startup 

คุณหมู: สำหรับการลงทุนที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมตอนนี้จะเป็น Startup ที่เริ่มเข้าอยู่ในช่วง Seed ที่เริ่มทำมาเเล้วมีชื่อและการบริษัทถูกกฎหมาย มีรายได้เข้าบริษัท เราจะทำการคุยกับ Startup เพื่อลองประเมินโดยคุยสิ่งที่เราอยากรู้เกี่ยวกับบริษัทที่เราจะลงทุน เราต้องรู้ว่าเขาทำอะไร สิ่งที่ทำนี้ตอบโจทย์อะไร และสิ่งที่เขาทำผมจะลองจินตนาการเล่นๆ เเต่ไม่ได้ทำจริงนะ! ซึ่งเหมือนลองสร้างเเบบคัดกรองขึ้นมาว่า หากเราจะสร้างงานเเบบเดียวกันมาเเข่งกับ Startup นี้เราสามารถทำได้ไหม เขามีจุดเเข็งใดที่เราไม่สามารถหาคนมาเเทนได้ หาก Startup ที่จะลงทุนนี้มีความพร้อมเเละจุดเเข็งที่เราประเมินเเล้วว่าไม่สามารถตั้งทีมเเข่งกับเขาได้ เขามีจุดเเข็งที่เราไม่สามารถหามาทดเเทนได้ เราก็จะเลือกลงทุน

คุณกรณ์ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ในฐานนะนักลงทุนในช่วงเเรกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะดูคือ งานของคุณสามารถตอบโจทย์อะไร?  คุณมีประสบการณ์ในเรื่องที่คุณจะเข้ามาตอบโจทย์ปัญหาหรือไม่ หรือคุณมีความรู้ในเรื่องที่ต้องการให้เราลงทุนไหม หากมองในเนื้อเรื่องของซี่รี่ย์ Startup จะมีตอนที่คุณพ่อนางเอกเลือกลาออกมาทำงาน Startup ซึ่งสิ่งที่คุณพ่อนางเอกมีคือประสบการณ์ในงานมา 10 ปี ที่ทำว่าเขาเข้าใจในงานนี้และเจอปัญหาจริงๆ ในสายงานที่เขามีประสบการณ์ ซึ่งสร้างความน่าเชื่อถือให้นักลงทุนเพราะเราจะสามารถประเมินเเนวโน้มและโอกาสของธุรกิจนั้นได้ 

นอกจากนี้สำหรับมุมมองของนักลงทุน กับการเลือกลงทุนในธุรกิจและสิ่งที่จะใช้ในการพิจารณาเพื่อลงทุน คุณกรณ์ เล่าให้ฟังว่า Angel Investor ที่ลงทุนใน Seed เราจะเจอคำถามเดิมสำหรับนักลงทุนว่า การลงทุนในธุรกิจเราจะละเลือกลงทุนกับธุรกิจเเบบไหนระหว่าง ธุรกิจที่ค่อยๆเติบโตเเบบยั่งยืนและมั่นคง กับ ธุรกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดดสามารถสร้างมูลค่าได้เยอะในเวลาอันสั้นเราจะเลือกอะไร? สำหรับมุมมองของผมนักลงทุน กับ นักเก็งกำไรโดยนักเก็งกำไรอาจจะมองมูลค่าในระยะเวลาที่เร็วเป็นหลักมีความฉาบฉวยมากกว่าซึ่งแตกต่างกับ นักลงทุนที่จะมองถึงโมเดลธุรกิจที่มีความยั่งยืนเป็นหลัก หากดูในซีรี่ย์ จะมีอยู่ตอนหนึ่งที่ประธานยุน พูดกับพระเอกว่า สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องตอบคำถามว่า  ทำไม? ถึงต้องทำผลิตภัณฑ์นี้ ทำเพื่ออะไร? สิ่งนี้คือตอบที่เเสดงให้เห็นถึงความยั่งยืนเบื้องต้นให้นักลงทุนใช้เป็นประเด็นในการตัดสินใจ

คุณเหม็ง ได้เเสดงความคิดเห็นถึงปัญหา Startup ที่เคยเจอเเละเป็นส่นหนึ่งในเหตุผลที่จะเลือกลงทุนไว้ว่า หากมองว่าทำไม Startup ยังมีเปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จน้อยอยู่จากประสบการณ์ “ไอเดียและงานที่เกิดมายังไม่ตอบโจย์คนหมู่มากจริงๆ ทีมยังไม่เจอคนที่ใช่” หากลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพเราสามารถเห็นได้จากทีมของพระเอก นางเอก ที่มีผู้ร่วมทีมที่ใช่ นี่คือสิ่งที่พบพอเกิดสองส่วนที่เป็นปัญหาแล้วทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นเวลาลงทุนสิ่งที่ประกอบการตัดสินใจ จึงดูว่า งานที่สร้างมากนี้ตอบโจทย์คนหมู่มากแแค่ไหน คุณมีทีมที่เเกร่งพอในการนำพาธุรกิจให้เติบโตได้หรือไม่

มารู้จักพื้นที่สร้างฝันของเหล่า Startup ผ่านซีรี่ย์อย่าง Hackathon , Accelerator และ Sandbox

ใช่ว่าทุกคนที่ต้องการเริ่มต้นสร้างธุรกิจจะต้องเข้า Hackathon ทุกคนเหมือนในซีรี่ย์เเต่การได้มีโอกาสเข้าร่วม Hackathon จะช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการจะทำมากขึ้นผ่านการสร้างโมเดลธุรกิจก่อนการเริ่มที่จะลงทำขึ้นมาโดยมีการระดมความคิดร่วมกับคนในทีมพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญจากโครงการ Hackathon ที่คุณเข้าร่วมมาช่วยระดมความคิดให้โมเดลธุรกิจเกิดขึ้นได้จริงและวางทิศทางของธุรกิจเเบบไม่หลงทาง ลดอัตราความเสี่ยงของปัญหาในอนาคตที่จะทำให้ธุรกิจของคุณไม่ประสบความสำเร็จ โดยใช้เวลาไม่มากเพื่อให้งานออกมาเร็วและเสร็จตามเวลาที่โครงการกำหนด Hackathon จึงเหมือนการสร้างพื้นที่ในระยะเวลาหนึ่งเพื่อตั้งโจทย์หรือประเด็นที่เราต้องการเเก้ไขขึ้นมาเเล้วระดมความคิดของคนเพื่อเเก้ไขปัญหานั้นให้ได้ในเวลาอันสั้นเเบบไม่หลับ ไม่นอน   

ปัจจุบันในประเทศไทยเองได้นำรูปแบบของ Hackathon เข้ามาใช้ในการช่วยเสริมให้ไอเดียดีๆ สามารถสร้างเป็นธุรกิจ Startup ในรูปแบบโมเดลธุรกิจที่สามารถเติบโตเเละเกิดขึ้นได้ผ่านการช่วยเหลือในด้านความรู้ และทุนสนับสนุน นอกจากนี้การเข้าร่วมยังสร้างให้เกิดเครือข่ายทางธุรกิจ หรือ เจอเพื่อนเจ๋งๆ ที่มีเเนวคิดคล้ายๆ กันนับได้ว่าเป็นประสบการณ์ดีๆ ที่จะได้รับ

Accelerator พื้นที่ให้การสร้างงานที่เปลี่ยนจากโมเดลธุรกิจที่ออกมาเป็นรูปธรรมมีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง หรือ งานที่มีอยู่เดิมให้กลายเป็นผลงานและถูกนำไปใช้งานจริงเพื่อตอบโจทย์ปัญหาโดยโครงการนี้จะใช้เวลามากกว่า Hackathon คำถามที่คนส่วนมากสงสัยหากต้องการเข้าร่วม Accelerator จะต้องผ่านการเข้าร่วม Hackathon ก่อนหรือไม่? คำตอบ ถึงไม่เคยเข้า Hackathon มาก่อนก็สามารถเข้าร่วม Accelerator ได้เลยหากทีมคุณมีผลงานที่พร้อมลุยแข่งขันในตลาดธุรกิจได้และพร้อมในการพัฒนาต่อยอดงานให้สามารถใช้ตอบโจทย์ปัญหาที่โครงการที่เราเข้าร่วมได้จริง เมื่อคุณได้เข้าสู่รอบสุดท้ายของโครงการที่เรียกว่า Demo Day หรือ การสอบจบหลักสูตรของ Accelerator เป็นเหมือนเวทีให้คุยได้ขึ้นไปฉายเเสงซึ่งจะเป็นโอกาสให้คุณได้โชว์ของ สู่สายตานักลงทุนและผู้คน 

Sandbox ที่ใจดีเหมือนท่านประธานอย่างในซีรี่ย์เวทีชีวิตจริงไม่ใจดีนะ

หากอยากทราบความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ Startup สามารถอ่านได้ ที่นี่

การเข้ามาในพื้นที่สร้างฝันอย่างเวที Accelerator ที่ไม่ได้ใจดีเหมือนในซีรี่ย์เพราะในความเป็นจริงทีมคุณต้องพร้อมที่จะเข้ามาเเข่งขันเพื่อเป็นผู้ที่ถูกเลือกสำหรับนักลงทุน หากดูในซีรี่ย์เมื่อคุณเข้ามาใน Sandbox คุณสามารถเข้ามาหาทีม เข้ามาเริ่มสร้างไอเดียได้ เเต่หากในความเป็นจริงการสร้างทีม และสร้างงานต้องมีความพร้อมมากพอที่จะมานำเสนอหรือ ขายงานได้จริๆ ให้ผู้ลงทุนอยากที่จะลงทุนในงานของคุณซึ่งเวที Accelerator ไม่ได้เป็นพื้นที่ให้มาเริ่มคิด เเต่เป็นพื้นที่เสริมความรู้และช่วยพัฒนางานที่มีอยู่เดิมให้สามารถเติบโตขึ้นมากพอที่จะเข้าสู่ขั้นระดมทุนต่อไป

สำหรับในประเทศไทยเองความเป็น Sandbox หากเปรียบให้ไกล้เคียงที่สุดคงต้องยกให้เวที Hackathon ที่ใจดีสำหรับผู้เริ่มต้นโดยให้พื้นที่สำหรับผู้ที่มีไอเดียและยังไม่สร้างงานขึ้นมาได้มาลองพื้นที่จากการเริ่มต้นตั้งเเต่ไอเดียเเล้วพัฒนาให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในรูปแบบโมเดลธุรกิจที่สามารถต่อยอดจนเป็นผลงานหรือธุรกิจได้ เเต่ข้อดีของ Sandbox ที่ต่างจากไทยคือ ต้นทุนที่มีให้เเต่ละทีมคือชุด Data ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญมากในการทำธุรกิจในปัจจุบัน สิ่งนี้เองที่ประเทศไทยยังขาดอยู่ หากประเทศไทยเราสามารถมีชุด Data ให้ Startup ไทยคงเติบโตได้เร็วขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรสนับสนุน

การเเบ่งหุ้น กับ การมีตัวหลักที่ถือหุ้นมากสุด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุน

เรื่องหุ้นเป็นเรื่องสำคัญที่บ่งบอกถึงความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของ Startup หากดูในซีรี่ย์จะมีอยู่ตอนหนึ่งที่มีเนื้อหาของการเเบ่งหุ้นที่ตัวเอกในเรื่องต้องตกลงกัน ในช่วงเเรกที่ตัวเอกอยากเเบ่งหุ้นบริษัทที่เกิดขึ้นให้ทุกคนได้เท่ากันเพราะร่วมกันก่อตั้งขึ้นมา แต่ตัวหลักอีกคนไม่เห็นด้วยเพราะรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจึงเสนอให้เเบ่งหุ้นให้ คนที่เป็นหัวใจหลักของบริษัทและไม่สามารถให้ใครมาเเทนได้ ได้ถือหุ้นมากที่สุด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กลุ่มนักลงทุน ซึ่งเหตุการณ์นี้ในความเป็นจริงที่ตัวอย่างการเเบ่งหุ้นที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือ ซึ่งการเเบ่งหุ้นช่วงเริ่มตั้งบริษัทเป็นเรื่องสำคัญควรคุยกันให้เรียบร้อย แต่ใช่ว่าการแบ่งสัดส่วนของหุ้นจะคงอยู่เเบบถาวร สัดส่วนนี้สามารถเเปรเปลี่ยนตามบทบาทหน้าที่ระหว่างการดำเนินธุรกิจและภาระหน้าที่ของบุคคล สามารถติดตามเเนวคิดการเเบ่งหุ้นใน Startup ได้ที่ Techsauce Live : หากจะทำ Startup ควรเริ่มสร้างทีมและวางโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างไร จากคำแนะนำของ VC

Unicorn เป้าหมายสำคัญที่อยากไปให้ถึงของ Startup กับสิ่งที่ต้องช่วยกันในแต่ละภาคส่วน

การที่ Startup ไทยจะไปถึงระดับ Unicorn ได้นั้นต้องได้รับการสนับสนุนที่ไม่ใช่เเค่คนสร้าง Startup แต่ต้องช่วยกันทุกภาคส่วน อาทิ ภาครัฐ หากสามารถเปิดโอกาสให้ Startup เข้าถึงการช่วยสนับสนุนในระดับนโยบายและช่วยเสริมในส่วนที่ภาครัฐมีอยู่จะช่วยเร่งให้ Solution ไทยเข้าสู่การใช้งานจริงในภาพใหญ่ได้ ในภาคเอกชนอย่าง มหาวิทยาลัยและองค์กรที่เป็นบริษัทใหญ่ในปัจจุบันได้มีการออกมาสนับสนุน Startup ตั้งเเต่เริ่มต้นในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น เชื่อว่าการผลักดันให้ประเทศไทยมี Startup ในระดับ Unicorn จะสามารถผลักดันธุรกิจประเทศไทยเเต่หวังว่าจะสามารถเข้าร่วมในโครงการของภาครัฐที่จะทำให้การเติบโตของ Startup เติบโตได้เร็วขึ้น

ข้อมูลจาก Scii Chula 

สามารถอ่านบทความที่เกี่ยวกับ ซีรี่ย์ Startup เพิ่มเติมได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...