กูรูชี้ 3 ทางรอดองค์กรยุคดิจิทัล "หาพันธมิตร – สร้างคน – กล้าคิดสร้างสรรค์" | Techsauce

กูรูชี้ 3 ทางรอดองค์กรยุคดิจิทัล "หาพันธมิตร – สร้างคน – กล้าคิดสร้างสรรค์"

แน่นอนว่าการเติบโตเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเกิดใหม่ของบริษัทเทคโนโลยี อีกทั้งการแข่งขันที่มาจากทุกทิศทาง ส่งผลให้รูปแบบการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันถูก disrupt การเติบโตอย่างก้าวกระโดดจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในโลกอนาคต เพื่อเป็นการตอบรับความท้าทายดังกล่าว เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปีของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จึงได้จัดงาน TMA Thailand Management Day 2019 ภายใต้แนวคิด GROWTH: Building for the Future โดยในครั้งนี้ได้เชิญสปีกเกอร์ชั้นนำจากต่างประเทศและในประเทศมากมาย ร่วมขบประเด็นค้นหาแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นขีดความสามารถในการพัฒนาทางการตลาด และนำไปสู่หนทางการเติบโตที่ยั่งยืนในทุกมิติ

AI จะไม่มาแทนที่มนุษย์ แต่จะทำให้เราเป็น Superhuman

Mr. Martin Wezowski, Chief Designer and Futurist – SAP's Innovation Center

เทคโนโลยี AI จะมาแทนคนหรือไม่ เรื่องนี้เป็นกระแสมาแรงในโลกธุรกิจยักษ์ใหญ่ในระดับโลกหลายแห่ง Mr. Martin Wezowski, Chief Designer and Futurist – SAP's Innovation Center ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า AI จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในอนาคต ด้วยความที่ AI สามารถพัฒนาได้เรื่อยๆ ตามชุดข้อมูลที่ได้รับ เพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจในอนาคต องค์กรต่างๆ สามารถนำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้ในการองค์กรในการช่วยเสริม Manual Work ของพนักงาน ซึ่งจะทำให้ Work Force กลายเป็น Superhuman ที่มีเวลาหรือใช้สมองไว้สำหรับการแสวงหาหรือแก้ปัญหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้มากขึ้น มนุษย์จะต้องทำการคาดการณ์อนาคตว่า ลูกค้าคือใครและมีความต้องการอย่างไรในอนาคต รวมถึงตั้งคำถามของพันธมิตรในอนาคตว่าจะเป็นใคร เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันกำหนดอนาคตให้ได้ผลลัพธ์ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม

การหาพันธมิตรเป็นสิ่งสำคัญ

(กลาง) ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส (ขวา​​) คุณพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

สำหรับในประเทศไทย พบว่าอุตสาหกรรมการเงิน และการสื่อสารโทรคมนาคม เป็น 2 อุตสาหกรรมที่ถูก Digital Disruption อย่างรุนแรง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้องค์กรถูก Disrupt ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส ได้ร่วมแบ่งปันมุมมองในประเด็นนี้ว่า เทรนด์การแข่งขันในอนาคตนั้นจะมาทุกทิศทาง โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลลูกค้า นับว่าเป็นผู้เล่นที่ไทยต้องระวัง ดังนั้นองค์กรต่างๆ ควรหาจุดแข็งขององค์กรให้เจอ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะคนให้มีจิตวิญญาณของทดลองสิ่งใหม่ๆ และที่สำคัญคือการหาพันธมิตร ผนึกกำลังร่วมกันวางแผนเพื่อให้ทันเกมการแข่งขันที่เปลี่ยนไป

ทางด้านคุณพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวแนะนำว่าองค์กรจะต้องให้ความสำคัญ 3 เทคโนโลยีที่สำคัญ ได้แก่ Big Data, Data Asset และ 5G ซึ่งในการที่จะต่อสู่กับองค์กรข้ามชาติที่มีคลังข้อมูลมากกว่า องค์กรต้องมีการสะสมคลังข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเพิ่ม Data Asset ด้วยการจับมือกับพันธมิตร และสุดท้ายคือองค์กรจะต้องเข้าใจเทคโนโลยี 5G และนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมตัวเอง ซึ่งการให้ความสำคัญใน 3 เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นหนทางไปสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าให้แก่ลูกค้า ทั้งในแง่ Functional Benefit และ Emotional Benefit

การหาพาร์ทเนอร์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะสำคัญมากขึ้นในอนาคต นอกจากจะช่วยเสริมในสิ่งที่เราไม่ถนัดแล้ว ยังสามารถร่วมกันสร้างธุรกิจใหม่ได้ด้วย

ไม่อยากโดน Disrupt ต้องสร้าง Growth Mindset

คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด

คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด คาดการณ์ว่าในอนาคตการแบ่งงานระหว่างมนุษย์ เครื่องจักร และอัลกอริธึม จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยคนจะทำงานน้อยลง ทั้งนี้ เมื่อเครื่องจักรสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ อีกทั้งมีงานใหม่เพิ่มขึ้น จึงเป็นความจำเป็นที่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาคนให้มีทักษะที่ AI ยังทำไม่ได้ด้วยกัน 7 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร การสร้างคอนเทนต์ การเข้าใจในบริบท ความสามารถทางด้านอารมณ์ ด้านการสอน ด้านการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านเข็มทิศทางจริยธรรม

ในอนาคตเราจะต้องมีวันในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ถึง 101 วันต่อปี ดังนั้นองค์กรจะต้องนำกระบวนการเรียนรู้ร้อยเรียงให้เข้าไปอยู่ใน core thinking ขององค์กรให้ได้

บทบาท HR ยุคใหม่ สร้าง 'คน' ให้มี 'ทักษะการเป็นผู้นำ'

ในการที่จะทำ transformation ได้ เรื่องคนเป็นเรื่องสำคัญ  คุณศิริพร เฟื่องมารยาท ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท ดาวเคมิคอล ประเทศไทย คุณวาณี พิชเยนทรโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคล บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรในองค์กร ทั้งในแง่ของวิสัยทัศน์ ทัศนคติรวมถึงกลยุทธ์ เพื่อนำองค์กรก้าวสู่วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม เปิดประเด็นแรกในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของเทคโนโลยี โดยทั้งสองท่านได้เห็นพ้องว่า ในการที่จะปรับตัวไปในืิศทางไหน ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและสภาพตลาด ณ เวลานั้น อีกทั้งทำการสำรวจกลุ่มคนในองค์กรเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาทักษะที่จำเป็น ทั้งนี้คุณวาณีมองว่า AI ยังคงมาแทนคนไม่ได้ในหลายๆ ด้าน มาในมุมของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต คุณศิริพร เสริมประเด็นนี้ว่าการพัฒนานั้นขึ้นอยู่กับพนักงานว่าต้องการพัฒนาด้านไหนมากกว่าจะเป็นการที่องค์กรไปกำหนด

อย่างไรก็ตาม ทักษะที่สำคัญสำหรับผู้ที่ถือว่าเป็น Talent ในยุคนี้คือ ทักษะการเป็นผู้นำ โดยวัฒนธรรมของทางกลุ่มบริษัท ดาวเคมิคอล คือ OCBC ซึ่งมาจาก Ownership, Collaboration, Business growth mindset and Continuous learning

Talent ขององค์กรไม่ได้ยึดติดกับฟังก์ชันอีกต่อไป แต่จะต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงาน (flexibility) และความพยายามและความสามารถในการเรียนรู้จากประสบการณ์ (learning agility) มากขึ้น

นอกจากนี้ในที่จะสร้างพลังคนในองค์กรได้นั้น จะต้องมีการสร้างความเชื่อมั่น (trust) ความโปร่งใส (transparency) และความเป็นผู้นำ (leadership) ก่อน คุณวาณี ได้แชร์ประสบการณ์ว่า แม้จะมีการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดกว้าง และการให้เวลาในการทำงานที่ยืดหยุ่น แต่การที่องค์กรจะสร้างพลังได้นั้น คนในองค์กรจะต้องมีระเบียบวินัยและมีความรับผิดชอบต่อตนเองก่อน  เมื่อทุกคนมีความเชื่อใจกัน ทำงานสอดประสานกัน มีเป้าหมายเดียวกัน จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ทางด้านคุณศิริพร ได้เสริมประเด็นการสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกนั้นจะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบลื่นมากขึ้นเช่นกัน

Agile organisation นั้นไม่ใช่เรื่องของกระบวนการ (process) หรือการควบคุม (control) แต่เป็นเรื่องของคนทำงานด้วยกัน มองเห็นโอกาสในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ไปร่วมกันได้

ใครมีข้อมูลมากน้อยไม่สำคัญ แต่อยู่ที่ 'ความคิดสร้างสรรค์'

(ด้านซ้าย) ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ President-The 1, Central Group (กลาง) คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (ขวาสุด) คุณสโรจ เลาหศิริ Chief Marketing Officer, Rabbit Digital Group

เมื่อพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป การตีโจทย์ทางการตลาดและตอบสนองความต้องการได้อย่างตรงจุดเพื่อสร้างความได้เปรียบที่โดดเด่นในตลาดได้อย่างตรงจุดนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อหาคำตอบนี้ในงานยั้งได้รับเกียรติจาก ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ President-The 1, Central Group  คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด และคุณสโรจ เลาหศิริ Chief Marketing Officer, Rabbit Digital Group เข้าร่วมเสวนา โดยมีหลายประเด็นที่น่าสนใจด้วยกัน

คุณฐากร แสดงความเห็นว่า จริงๆ แล้วพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ได้เปลี่ยน แต่เทคโนโลยีทำให้เกิดความสามารถในการเข้าใจ Consumer Insight ในหลากมิติมากขึ้น ทำให้องค์กรสามารถเปลี่ยนมุมมองในการออกกลยุทธ์ได้ตอบโจทย์มากกว่า อีกทั้งการที่มีช่องทางในการแสดงความคิดเห็นที่เปิดกว้าง ทำให้องค์กรสามารถเข้าใจองค์ประกอบของลูกค้ามากขึ้น แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปนั่นคือมิติของคนรุ่นใหม่ที่แตกต่างจากคนรุ่นเก่าอย่างเห็นได้ชัด

คุณสโรจ เสริมในบทบาทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่า โซเชียลมีเดียทำให้บริษัทสามารถเห็นข้อมูลของผู้ใช้นอกเหนือจากข้อมูลลูกค้าทั่วไป ซึ่งนอกจากจะรู้ว่าลูกค้ากำลังพูดถึงเรื่องอะไรแล้ว ยังทำให้สามารถทำนายได้ว่าในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์อะไรได้บ้าง

แล้วองค์กรจะใช้ประโยชน์จากของข้อมูลมหาศาลเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร คุณฐากร ให้คำแนะนำว่า การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า นั้นสำคัญ หากองค์กรมีการมุ่งเป้าไปที่ประเด็นนี้อย่างจริงจัง ก็จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์กรอย่างแน่นอน

ทางด้าน ดร.ธรรม์ เน้นย้ำว่า องค์กรต้องพยายามมองให้เข้าใจถึงเบื้องลึกว่าลูกค้าซื้อสินค้าเพราะอะไร ซื้อไปทำไม มากกว่าซื้อสินค้าอะไร นี่จะทำให้โอกาสในการออกกลยุทธ์เปิดกว้างมากขึ้น แม้มีข้อมูลมหาศาลแต่หากไม่สามารถตีโจทย์ได้ ชุดข้อมูลที่มีอยู่ในมือก็ไม่เกิดประโยชน์

สำหรับบริษัทที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำธุรกิจ ไม่มีคลังข้อมูลมหาศาลในครอบครอง ในมุมมองทางฝั่ง Creative agency คุณสโรจ เสริมว่า ในการสร้างกระบวนการเก็บข้อมูลที่จะได้ประโยชน์แก่ทั้งแบรนด์และลูกค้าได้นั้น บริษัทจะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งนี่ทำให้ลูกค้าจะมีความยินยอมในการให้ข้อมูลโดยไม่ได้รู้สึกว่าเป็นการโดนบังคับ

ข้อมูลมากน้อยไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือความคิดสร้างสรรค์ว่าจะนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างไร

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Day (TMA)) 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

สรุปเทคโนโลยีในปี 2025 เทรนด์ไหนกำลังจะมา ? ฟังความเห็นจาก 3 มุมมองสำคัญ : นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และนักอนาคตศาสตร์

ปี 2025 กำลังจะมาถึงพร้อมกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บทความนี้สรุปและอธิบายเทรนด์สำคัญจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษของ Techsauce เพื่อให้เห็นภาพรวมแ...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...